[ Business Environment ]
ภาวะแวดล้อมทางธุรกิจ
“ภาวะแวดล้อมทางธุรกิจ คือ
กรอบกติกาการแข่งขัน”
ภาวะแวดล้อมทางธุรกิจเป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินธุรกิจให้ประสบผลสำเร็จ
หากผู้ประกอบการมีความเข้าใจและปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับภาวะแวดล้อมที่เปรียบเสมือนเป็นกฎกติกาหรือขอบเขตของการแข่งขัน
จะทำให้สามารถกำหนดระบบและแผนงานที่สร้างความได้เปรียบได้ซึ่งภาวะแวดล้อมทางธุรกิจสามารถแบ่งได้เป็น
2 กลุ่มใหญ่ คือ
1.
ภาวะแวดล้อมภายในองค์กร
(Internal environment) คือ สิ่งแวดล้อมที่ล้อมรอบและเกิดขึ้นภายในองค์กร
ซึ่งสามารถบริหารและควบคุมได้ง่าย เช่น วัตถุประสงค์ขององค์กร,
โครงสร้างขององค์กร, วัฒนธรรมขององค์กร, นโยบายของแต่ละหน่วยงาน, แผนกลยุทธ์
เป็นต้น
2.
ภาวะแวดล้อมภายนอกองค์กร
(External environment) คือ
สิ่งแวดล้อมที่ล้อมรอบองค์กรและไม่สามารถควบคุมได้ง่าย
แต่มีอิทธิพลต่อระบบธุรกิจและภาวการณ์แข่งขันเป็นอย่างมาก ซึ่งแบ่งย่อยได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ
1. ภาวะแวดล้อมระดับจุลภาค (Micro environment) คือ สิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อกระบวน การบริหารที่สัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับองค์กร
ประกอบด้วย
·
ผู้ผลิตหรือตัวแทนจำหน่ายปัจจัยการผลิต
·
ตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์
·
ลูกค้า
·
ชุมชน
·
กลุ่มผลประโยชน์
·
การแข่งขัน
2. ภาวะแวดล้อมระดับมหภาค (Macro environment) คือ สิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินธุรกิจ
และไม่สามารถควบคุมปัจจัยผลกระทบเหล่านี้ได้
·
การเมือง
·
เศรษฐกิจ
·
สังคม
·
เทคโนโลยี
·
สิ่งแวดล้อม
จากรูปที่ 1
พบว่าภาวะแวดล้อมทางธุรกิจมีอิทธิพลต่อการปรับตัวขององค์กร เช่น
การเข้า-ออกของธุรกิจ, อำนาจการซื้อของลูกค้าหรือผู้จำหน่าย,
พฤติกรรมการซื้อ, พฤติกรรมการบริโภค, พฤติกรรมการลงทุน, พฤติกรรมการผลิต,
การแข่งขัน เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อความอยู่รอดหรือความมั่นคงขององค์กร
ซึ่งนำไปสู่การปรับเปลี่ยน เช่น การปรับเปลี่ยนผลิตภัณฑ์หรือบริการ,
การปรับเปลี่ยนวงจรชีวิตภัณฑ์, การปรับเปลี่ยนวงจรชีวิตอุตสาหกรรม เป็นต้น
จากรูปที่ 2 พบว่าการเลือกทำเลที่ตั้งเป็นสิ่งสำคัญเพราะสถานที่ตั้งจะถูกโอบล้อมด้วยการเมือง (Politics), เศรษฐกิจ
(Economy), สังคม (Society), สิ่งแวดล้อม
(Environment) และเทคโนโลยี
(Technology) ซึ่งเป็นกลไกที่กำหนดความได้เปรียบหรือเสียเปรียบเชิงการแข่งขัน
แต่ละพื้นที่จะประกอบด้วยปัจจัยแวดล้อมทางธุรกิจที่แตกต่างกัน
ความถี่ถ้วนและรอบคอบในการตัดสินใจจะป้องกันความผิดพลาดที่ต้องปรับเปลี่ยนตำแหน่งที่ตั้งที่ทำให้เกิดต้นทุนสูญเปล่าขึ้นได้
ทำเลที่ตั้ง (Location)
โลกธุรกิจที่แข่งขันกันอย่างรุนแรงด้วยราคาที่ต่ำกว่า
จึงเป็นเหตุให้โรงงานมีการโยกย้ายฐานการผลิตจากประเทศหนึ่งไปยังลงทุนอีกประเทศหนึ่ง
เพื่อสร้างความได้เปรียบด้านแรงงานและทรัพยากรที่มีคุณภาพดีแต่ราคาต่ำกว่า
สำหรับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพิจารณาการสร้างโรงงานประกอบด้วยปัจจัยหลายประการ
ซึ่งปัจจัยที่สำคัญที่มีส่วนต่อการตัดสินใจประกอบด้วย
1.
พื้นฐานแรงงาน
ประกอบด้วย ระบบค่าจ้างแรงงานหรือค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ,
การศึกษาหรือทักษะการทำงานของแรงงาน,
ทัศนคติของแรงงานต่อการทำงานร่วมกับคนต่างชาติ, ระบบการศึกษา และความรุนแรงของระบบแรงงานสัมพันธ์หรือสหภาพแรงงาน
2.
พื้นฐานสาธารณูปโภค
ประกอบด้วย ระบบไฟฟ้าและน้ำ
3.
ระบบการขนส่ง
ประกอบด้วย การขนส่งทางบกที่มีถนนเชื่อมต่อระหว่างผู้ผลิต, ผู้จำหน่าย,
คลังสินค้า, หรือลูกค้า การขนส่งทางเรือที่สามารถรองรับการส่งออกได้อย่างเพียงพอ
และการขนส่งทางอากาศ ที่ช่วยให้การเดินทางข้ามประเทศมีความสะดวกรวดเร็ว
4.
แหล่งวัตถุดิบและตัวแทนจำหน่ายภายในประเทศต้องมีคุณภาพที่ดี
และเพียงพอต่อความต้องการ
5.
ตลาด
ประกอบด้วยตลาดภายในประเทศ ที่มีกำลังความต้องการต่อสินค้าเพียงพอต่อการลงทุน
หรือตลาดต่างประเทศที่อยู่ไม่ไกลจากฐานผลิตมากนัก
เพื่อจัดส่งสินค้าได้ทันตามความต้องการ
6.
ระยะห่างจากบริษัทแม่
เพื่อให้การสนับสนุนทางด้านการบริหารหรือเทคนิคการผลิต เพราะหากอยู่ใกล้จะทำให้การประสานงานดำเนินการได้คล่องตัวและรวดเร็วกว่า
7.
ระบบภาษี
และการครอบครองที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง ระบบภาษีเป็นปัจจัยที่เอื้ออำนวยต่อนักลงทุนในการบริหารเงินลงทุนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
รวมทั้งกฎระเบียบการส่งออกและนำเข้าวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูป
8.
การสนับสนุนการลงทุนจากภาครัฐ,
เสถียรภาพของรัฐบาล และกฎระเบียบภาคการลงทุน
ซึ่งเป็นปัจจัยที่สร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนต่างชาติ
9.
ระบบการเศรษฐกิจ,
เสถียรภาพและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
10.
ระบบการเมือง,
อัตราการแลกเปลี่ยน
11.
คุณภาพชีวิต
เช่น ความปลอดภัย, ค่าครองชีพ, สันทนาการ
เป็นต้น หากระดับคุณภาพชีวิตดีกว่าหรือไม่แตกต่างจากประเทศของบริษัทแม่
จะทำให้ผู้บริหารมีความมั่นใจและต้องการเข้าไปทำงานในประเทศนั้น
12.
เทคโนโลยี
และความเชี่ยวชาญทางเทคนิคการผลิต
13.
วัฒนธรรมของประเทศ
ที่เกื้อหนุนการลงทุนและการผลิต
14.
ข้อตกลงทางการค้าของแต่ละพื้นที่ซึ่งสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน
เช่น EU, APEC, ASEAN, FTAA, NAFTA เป็นต้น
15.
สิ่งแวดล้อมและชุมชน
มีการจัดโซนนิ่งเขตอุตสาหกรรมที่ชัดเจน, สังคมและชุมชนเป็นมิตรต่อภาคอุตสาหกรรม
วิธีการเลือกทำเลที่ตั้งเป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาให้ความสำคัญเพื่อสร้างความได้เปรียบ
ซึ่งมีวิธีการอยู่หลากหลายวิธีสำหรับการเลือกทำเลที่ตั้งให้เหมาะสมกับองค์กร
ยกตัวอย่าง เช่น
1.
ระบบข้อมูลทางภูมิศาสตร์
(Geographic Information
System: GIS) เป็นระบบโปรแกรมที่ช่วยวิเคราะห์พื้นที่ทางภูมิศาสตร์
โดยจะแสดงข้อมูลด้วยสี ซึ่งอาจจะเป็นความหนาแน่นของประชากร ทำให้ง่ายต่อการตัดสินใจ
2.
การคำนวณระยะทางหรือเวลา
เป็นวิธีการพิจารณาระยะทางหรือเวลาที่ใช้สำหรับการขนส่ง ซึ่งเหมาะสำหรับอุตสาหกรรมที่มีต้นทุนการขนส่งค่อนข้างสูง อาจจะเป็นธุรกิจกับตลาด
(Business to Market: B2M), ธุรกิจกับลูกค้า (Business to Customer:
B2C), หรือธุรกิจกับผู้จำหน่าย (Business to Supplier: B2S)
3. การคำนวณ Load-distance เป็นการพิจารณาระยะทางร่วมกับปัจจัยอื่นที่มีความสำคัญต่อการตัดสินใจ (เช่น มูลค่าตลาด, ยอดการสั่งซื้อ, ผลกำไร, รอบการขนส่งต่อวัน เป็นต้น)
ที่คูณกัน แล้วเปรียบเทียบแต่ละข้อมูล
4. การคำนวณ Center of gravity คือ การคำนวณหาจุดศูนย์ถ่วงของระยะทางกับปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการตัดสินใจ ซึ่งตำแหน่งที่ได้จะเป็นจุดตัดที่ก่อให้เกิดประสิทธิผลที่ดีที่สุด
5.
การคำนวณจุดคุ้มทุน
(Break even point: BEP) คือ การศึกษาจุดคุ้มทุนในการลงทุน
โดยการคำนวณหาต้นทุนรวม (Total cost: TC)
ของแต่ละทำเลที่ตั้ง และเลือกตำแหน่งที่มีต้นทุนที่ต่ำสุด
6. การให้คะแนนปัจจัยทำเลที่ตั้ง
(Weighted score: WS) เป็นการกำหนดปัจจัยที่มีความ สำคัญต่อการตัดสินใจเลือกทำเลที่ตั้ง
แล้วให้น้ำหนัก (Weight) ความสำคัญมากน้อย และคะแนน (Score) ของแต่ละปัจจัย
7.
ทฤษฎีการขนส่ง
(Transportation method) เป็นวิธีการหนึ่งที่ใช้การคำนวณเชิงเส้นตรง
(Linear programming) ที่ให้ความสนใจเกี่ยวกับต้นทุนการขนส่ง [ต้นทุนแปรผันตามปริมาณสินค้าในลักษณะเส้นตรง]
ซึ่งจะเลือกทำเลที่ตั้งที่มีต้นทุนต่ำสุด
ภาวะแวดล้อมภายในองค์กร (Internal environment)
ภาวะแวดล้อมภายในองค์กรเป็นการจัดองค์กรให้สอดคล้องกับสภาพการแข่งขัน
และสร้างความพึงพอใจให้กับทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง (Stakeholders)
วัตถุประสงค์ขององค์กร (Objectives of business)
องค์กรธุรกิจจัดตั้งขึ้นเพื่อแสวงหาผลกำไรจากการลงทุน
โดยพยายามสร้างผลกำไรสูงสุดจากการบริหารธุรกิจให้มีประสิทธิภาพ ผลกำไรหรือผลตอบแทนที่ได้รับต้องไม่น้อยกว่าอัตราความเสี่ยง,
อัตราดอกเบี้ย หรือการลงทุนในธุรกิจอื่น บางองค์กรธุรกิจอาจไม่ได้คาดหวังกำไรสูงสุดแต่คาดหวังผลตอบแทนที่คุ้มค่ากับการลงทุน
องค์กรธุรกิจเมื่อสามารถบริหารและสร้างผลกำไรได้
จะพิจารณาให้ความสำคัญกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับองค์กร (Stakeholder) ซึ่งหมายถึง พนักงาน, ผู้ผลิต, ชุมชน หรือสังคม
เพื่อให้ทุกคนได้รับพึงพอใจสูงสุดจากการบริหารจัดการองค์กร
วัตถุประสงค์ของพนักงานเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญเช่นกัน
เพราะพนักงานถือว่าเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่ผลักดันให้องค์กรประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่คาดหวัง
สำหรับวัตถุประสงค์ที่พนักงานทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพประกอบด้วยรายได้ที่เพียงพอต่อค่าใช้จ่าย,
ความมั่นคงในหน้าที่การงาน, หรือความก้าวหน้าในการทำงาน
โครงสร้างขององค์กร (Organisation structure)
โครงสร้างองค์กรต้องออกแบบให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
เพื่อสร้างความร่วมมือของพนักงานภายในองค์กร
การปรับเปลี่ยนโครงสร้างต้องพิจารณาความเหมาะสมกับสายบังคับบัญชา,
การบริหารแบบเป็นทางการหรือไม่เป็นทางการ, ความรู้ความสามารถของพนักงาน,
ความพร้อมของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม, วัฒนธรรมขององค์กร, เทคโนโลยีสารสนเทศ,
ความสามารถเชิงการแข่งขัน, หรือวงจรชีวิตของอุตสาหกรรม
โครงสร้างองค์กรเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยในการบริหารการตัดสินใจ,
ความขัดแย้ง, การสื่อสาร, หรือการปรับเลื่อนขั้น การกำหนดโครงสร้างหลายชั้นอาจก่อให้เกิดความยุ่งยากซับซ้อนในการสื่อสารและขาดความคล่องตัว
แต่ช่วยลดความผิดพลาดของการตัดสินใจได้ แต่โครงสร้างแบบราบ (Flat structure) พนักงานต้องมีทักษะความชำนาญและความสามารถเฉพาะตัวสูง
วัฒนธรรมขององค์กร (Business culture)
วัฒนธรรมองค์กรต้องสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรและองค์กรอย่างต่อเนื่อง
เพื่อเอื้ออำนวยต่อความสามารถเชิงการแข่งขัน
วัฒนธรรมขององค์กรเป็นสิ่งที่ถือปฏิบัติกันมา
หากต้องการพัฒนาองค์กรให้เจริญก้าวหน้าต้องเสริมสร้างวัฒนธรรมความรับผิดชอบในการทำงาน,
การตระหนักถึงลูกค้าเป็นสำคัญ, การทำงานเป็นทีม
และการปรับปรุงหรือการสร้างสรรค์พัฒนาระบบงาน
การสร้างเสริมวัฒนธรรมต้องช่วยลดความขัดแย้งภายในองค์กร
และสามารถเชื่อมโยงกิจกรรมขององค์กรให้บรรลุเป้าหมาย, กลยุทธ์, พันธกิจ
และวิสัยทัศน์ขององค์กร
ผลลัพธ์ของวัฒนธรรมต้องตอบสนองความต้องการของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง (Stakeholder) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นโยบายของแต่ละหน่วยงาน (Policy)
นโยบาย
คือ หลักการหรือแนวทางปฏิบัติที่พนักงานต้องยึดถืออย่างเคร่งครัด เพื่อช่วยให้การดำเนินงานและการตัดสินใจบรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิผล
นโยบายที่ดีต้องกระชับและเข้าใจง่าย
ซึ่งต้องกำหนดจากข้อเท็จจริงที่อ้างอิงได้
แนวทางปฏิบัตินั้นต้องช่วยให้บรรลุเป้าหมาย, กลยุทธ์, พันธกิจ และวิสัยทัศน์ขององค์กร
ดังนั้นนโยบายจึงเป็นเครื่องมือที่ชี้นำการบริหาร
และติดตามตรวจสอบประสิทธิภาพการบริหารของผู้บริหาร
การกำหนดนโยบายจึงมีอิทธิพลโดยตรงกับกระบวนการบริหารทางธุรกิจ
แผนกลยุทธ์ (Strategic plan)
แผนกลยุทธ์
คือ แนวทางการปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายหรือได้รับผลตามที่คาดหวังที่ดีที่สุด
โดยการศึกษาและพิจารณาจากปัจจัยภายในและภายนอกองค์กร
แผนกลยุทธ์จะช่วยให้สามารถกำหนดแผนปฏิบัติงาน (Operational
plan) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การกำหนดกลยุทธ์ต้องเริ่มต้องด้วยการวิเคราะห์
SWOT เพื่อหาจุดแข็ง,
จุดอ่อน, โอกาส และภัยคุกคามที่จะมีผลกระทบต่อธุรกิจ
กลยุทธ์ที่สำคัญที่นำเสนอโดย ไมเคิล อี พอร์ตเตอร์ (Michael E.
Porter) ประกอบด้วยการสร้างผลิตภัณฑ์ที่แตกต่าง (Product
differentiation), ผู้นำต้นทุนต่ำ (Cost leadership) และการเจาะกลุ่มเป้าหมาย (Focus)
การกำหนดกลยุทธ์เชิงธุรกิจจะมีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงาน, ระบบการบริหาร,
กระบวนการผลิต, หรือความพึงพอใจของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
การเลือกแผนกลยุทธ์จึงต้องพิจารณาผลกระทบอย่างถี่ถ้วน โดยใช้การวิเคราะห์ SWOT
ช่วยในการพัฒนาแผนกลยุทธ์ให้มีประสิทธิผลที่ดียิ่งขึ้น
การบริหารภาวะแวดล้อมต้องวางแผน,
ดำเนินการ, ตรวจสอบ และปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
หากสามารถบริหารให้บรรลุเป้าหมายและสร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขัน
การประสบความสำเร็จก็มีโอกาสสูงมากขึ้น
เมื่อปัจจัยภายนอกเกิดความผันผวนเปลี่ยนแปลง ทุกองค์กรจะได้รับผลกระทบเช่นกัน
องค์กรที่เข้มแข็งที่สุดจะสามารถยืนหยัดด้วยความมั่นคงได้ในสภาพการแข่งขันไม่แน่นอน
ภาวะแวดล้อมภายนอก (External environment)
ภาวะแวดล้อมภายนอกเป็นปัจจัยที่มีผลกระทบต่อระบบการบริหารและการปฏิบัติงาน
อิทธิพลของภาวะแวดล้อมประกอบด้วยโอกาส (Opportunity ) และภัยคุกคาม (Threat) โดยที่ภาวะแวดล้อมระดับจุลภาคมีทั้งที่สามารถควบคุมได้และไม่สามารถควบคุมได้
สำหรับภาวะแวดล้อมระดับมหภาคเป็นปัจจัยที่ยากต่อการควบคุมเพราะเกิดจากหลายสาเหตุที่องค์กรไม่สามารถเข้าไปปรับเปลี่ยนได้
ภาวะแวดล้อมระดับจุลภาค
(Micro environment) ประกอบด้วยโอกาส เช่น
การลงทุนเพิ่มของผู้ผลิตรายใหม่, ช่องทางการจัดจำหน่ายเพิ่มสูงขึ้น,
การยอมรับของชุมชน เป็นต้น และภัยคุกคาม เช่น คู่แข่งขยายตลาดอย่างก้าวกระโดด,
การต่อรองที่มีผลกระทบต่อต้นทุนเพิ่มขึ้น เป็นต้น
ภาวะแวดล้อมระดับจุลภาคส่วนใหญ่สามารถบริหารและควบคุมได้
ผู้ผลิต (Producers or suppliers)
ผู้ผลิตหรือตัวแทนจำหน่ายปัจจัยการผลิตอาจสามารถบริหารและควบคุมได้
หากการแข่งขันสมบูรณ์ที่ประกอบด้วยผู้ผลิตหรือตัวแทนจำหน่ายมากรายซึ่งสามารถเปรียบเทียบและคัดเลือกได้
แต่ในบางกรณีที่มีผู้ผลิตน้อยรายและผูกขาดด้านปัจจัยการผลิต
การบริหารและควบคุมคุณภาพอาจต้องเข้มงวดและเพิ่มพนักงานหรือขั้นตอนการตรวจสอบ
การปฏิบัติงานต้องสอดคล้องกับตามมาตรฐานหรือข้อกำหนด
(Specification) ขององค์กรเพื่อผลิตและให้บริการที่สร้างความพึงพอใจกับลูกค้า
มิเช่นนั้นจะก่อให้เกิดความสูญเสียเวลาการทำงาน และค่าใช้จ่ายที่ไม่มีประสิทธิภาพ
องค์กรควรสร้างกระบวนการที่ไหลรื่นคล่องตัวด้วยข้อตกลงหรือสัญญาที่รัดกุมและชัดเจน
ประเภทของสินค้า (Product
classification) เป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาสำหรับการบริหารกลยุทธ์เพื่อสร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขัน
เพราะสินค้าแต่ละประเภทจะมีความต้องการที่แตกต่างกันและมีผลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภค
ประเภทของสินค้าสามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค (Consumer products) เป็นสินค้าที่จำหน่ายเพื่อใช้ส่วนบุคคลหรือภายในครอบครัว
สินค้ากลุ่มนี้สามารถแบ่งย่อยได้เป็น 4 กลุ่ม คือ
1.1
สินค้าสะดวกซื้อ
(Convenience goods) เป็นสินค้าที่หาซื้อได้ง่าย,
ซื้อได้บ่อยครั้ง และไม่ต้องพิจารณาเปรียบเทียบมากนัก เช่น ขนม, เครื่องดื่ม,
สบู่, ยาสีฟัน เป็นต้น สินค้ากลุ่มนี้มีผลกำไรต่อหน่วยต่ำ
จึงจำเป็นต้องเพิ่มยอดขายให้มากขึ้นด้วยการเพิ่มเครือข่ายผู้ค้าปลีก
และการโฆษณาอย่างต่อเนื่อง
1.2
สินค้าเฉพาะเจาะจงซื้อ
(Specialty goods) เป็นสินค้าที่ต้องตั้งใจในการซื้อเพราะไม่สามารถหาซื้อได้ทั่วไปและจำนวนครั้งการซื้อไม่บ่อยนัก
ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่มียี่ห้อที่ลูกค้าเชื่อมั่นและซื่อสัตย์ต่อตราสินค้า
เช่น สินค้าราคาแพงที่มีชื่อเสียง, รถยนต์, มอเตอร์ไซด์รุ่นใหญ่, เครื่องประดับ
เป็นต้น สินค้ากลุ่มนี้มีผลกำไรต่อหน่วยสูง
ร้านค้าจึงต้องได้รับคัดเลือกจากผู้ผลิตซึ่งมีจำนวนน้อย และต้องอบรมความรู้สำหรับการขายที่มีประสิทธิผลให้กับพนักงานขาย
1.3
สินค้าที่ต้องเปรียบเทียบและเลือกซื้อ
(Shopping goods) เป็นสินค้าที่ลูกค้าต้องพินิจและวิเคราะห์คุณสมบัติของสินค้าหลากหลายยี่ห้อ
เพื่อเลือกซื้อสินค้าที่ตรงกับวัตถุประสงค์การใช้งานด้วยราคาที่ยอมรับได้ เช่น
คอมพิวเตอร์, โทรศัพท์มือถือ,เครื่องปรับอากาศ, เครื่องเสียง เป็นต้น
สินค้ากลุ่มนี้มีผลกำไรต่อหน่วยไม่สูงหรือต่ำเกินไปและสามารถเลือกซื้อได้จากหลายร้านค้า
การโฆษณาผ่านสื่อการตลาดและการให้ข้อมูลอย่างถูกต้องของพนักงานจึงเป็นสิ่งจำเป็น
1.4
สินค้าที่ไม่สนใจค้นหา
(Unsought goods) เป็นสินค้าที่ลูกค้ารู้จักหรือไม่รู้จักก็ได้แต่ไม่ต้องการซื้อหรือไม่จำเป็นต้องซื้อ
สินค้าประเภทนี้มักเป็นสินค้าใหม่ที่เกินความจำเป็น และมีความต้องการก็ไม่แน่นอน
บางครั้งไม่ทราบว่ามีสินค้าประเภทนี้ขาย เช่น ประกันชีวิต, เครื่องนำทาง (Navigator), สารานุกรม (Encyclopedia) เป็นต้น
2. กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม (Industrial products) เป็นสินค้าที่จำหน่ายให้กับธุรกิจเพื่อใช้ผลิตสินค้าหรือบริการ
2.1
วัตถุดิบและชิ้นส่วนประกอบ
(Materials and parts) ประกอบด้วย
1.
วัตถุดิบ (Raw materials) หมายถึง
สิ่งของที่ยังไม่ได้รับการแปรรูปหรือเปลี่ยนสภาพและมีราคาไม่แพงนัก เช่น ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร,
แร่ธาตุ, เม็ดพลาสติก เป็นต้น
2.
ชิ้นส่วนประกอบ
(Parts หรือ Components) หมายถึง สิ่งของที่แปรรูปหรือเปลี่ยนสภาพแล้วและมีราคา
เช่น มอเตอร์, คอมเพรสเซอร์ เป็นต้น
สินค้าทุน
(Capital goods) ประกอบด้วย
1.
สิ่งติดตั้ง
(Installations) หมายถึง สินค้าทุนที่มีมูลค่าสูงประกอบด้วยสิ่งปลูกสร้าง
และเครื่องจักร
2.
อุปกรณ์เสริม (Accessories) หมายถึง เครื่องมือ,
อุปกรณ์หรือเครื่องจักรที่มีอายุการใช้งานสั้น
ซึ่งใช้ทั้งในกระบวนการผลิตและสำนักงาน เช่น แม่พิมพ์, ใบมีดตัดชิ้นงาน,
เครื่องเชื่อม, เครื่องถ่ายเอกสาร, คอมพิวเตอร์ เป็นต้น
วัสดุสิ้นเปลือง
(Supplies) หมายถึง
สิ่งของที่ใช้ในกระบวนการผลิต แต่ไม่ได้เป็นส่วนประกอบของสินค้า เช่น
อุปกรณ์บำรุงรักษา, สายพาน, น้ำมันหล่อลื่น, ตลับลูกปืน, เครื่องเขียน เป็นต้น
บริการ (Services) หมายถึง สิ่งของที่จำต้องไม่ได้
และจำเป็นสำหรับการติดตั้งอุปกรณ์ หรือเครื่องจักรเพื่อให้ทำงานได้อย่างเหมาะสม เช่น
การบำรุงรักษาเครื่องจักร, การซ่อมแซมเครื่องจักรที่ชำรุดเสียหาย, การบริการข้อมูลหรือคำแนะนำด้านธุรกิจ
เป็นต้น
บรรจุภัณฑ์ (Package) ถือได้ว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งของสินค้า
เพราะหน้าที่หลักของบรรจุภัณฑ์ คือ การบรรจุ, เก็บรักษา และป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับสินค้า
การออกแบบบรรจุภัณฑ์ต้องมุ่งเน้นต้นทุนต่ำเพื่อลดค่าใช้จ่าย
บรรจุภัณฑ์ที่ดีควรประกอบด้วย
1.
การสร้างความแตกต่าง (Differentiation) การออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่แตกต่างจากคู่แข่งจะช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า
และง่ายต่อการจดจำ รวมทั้งสะดวกต่อการใช้งาน
2.
การสื่อสารข้อมูล
(Information) บรรจุภัณฑ์ต้องประกอบด้วยข้อมูลที่สำคัญสำหรับลูกค้าหรือตัวแทนจำหน่าย
เช่น น้ำหนัก, จำนวนบรรจุภัณฑ์ที่วางซ้อนกันได้, วิธีการใช้งาน,
ข้อควรระวังในการใช้งานหรือการขนส่ง เป็นต้น
3.
ภาพลักษณ์สินค้า
(Symbolic image) บรรจุภัณฑ์ที่ดีต้องสร้างภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือให้กับผลิตภัณฑ์และบริษัท
การสื่อสารด้วยสัญลักษณ์จึงเป็นสิ่งจำเป็นเพราะหากลูกค้าเห็นสัญลักษณ์นี้จะเกิดความมั่นใจในคุณภาพของผลิตภัณฑ์
ตราสินค้าหรือยี่ห้อ
(Brand) คือ ชื่อ, ตัวเลข, สัญลักษณ์ที่ออกแบบเพื่อบ่งชี้บริษัทและผลิตภัณฑ์
หากตราสินค้าหรือสัญลักษณ์ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย เรียกว่าเครื่องหมายการค้า
(Trademark)
ตราสินค้าช่วยสร้างภาพลักษณ์และบ่งชี้รสนิยมของผู้ซื้อหรือผู้บริโภคได้
ตราสินค้าทำหน้าที่จูงใจในการซื้อซ้ำในอนาคต และสื่อสารปากต่อปาก (Word-of mouth communication) ซึ่งมักเป็นสินค้าเจาะจงซื้อ
หากผู้ผลิตนำเสนอสินค้าใหม่ด้วยตราสินค้าเดิมก็จะได้รับการยอมรับอย่างรวดเร็ว
เพราะตราสินค้าจะสะท้อนความรู้สึก, ความพึงพอใจ
และความประทับใจของลูกค้าที่มีต่อสินค้า
ลักษณะตราสินค้าที่ดีต้องมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าด้วยตำแหน่งทางการตลาด
(Market positioning) ที่ลูกค้ายอมรับ,
การจดจำหรือนึกถึงได้เมื่อกล่าวถึง,
สื่อสารคุณภาพหรือผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการใช้สินค้านั้น,
สร้างความภาคภูมิใจในความเป็นเจ้าของหรือการใช้งาน และสื่อถึงรสนิยมหรือบุคลิกภาพของผู้เป็นเจ้าของ
ตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์ (Suppliers or distributors)
ตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์มีหน้าที่ส่งมอบสินค้าหรือบริการจากผู้ผลิตไปยังลูกค้า
การบริหารและควบคุมจะมีประสิทธิผลที่ดี หากสามารถคัดเลือกตัวแทนจำหน่ายที่เหมาะสม
และประสานความสัมพันธ์ของช่องทางการจัดจำหน่าย (Distribution channel) ที่ประกอบด้วยผู้ผลิต (Manufacturers), ผู้กระจายสินค้า (Distributors), ผู้ค้าส่ง (Wholesalers) และผู้ค้าปลีก (Retailers) รวมทั้งการบริหารข้อมูลและสื่อสารผลกระทบของการบริหารตัวแทนจำหน่าย
เพื่อปรับปรุงการปฏิบัติงานของการสั่งซื้อ, การผลิต, การจัดเก็บวัสดุคงคลัง
และการขายอย่างเป็นระบบ
ช่องทางการจัดจำหน่ายสามารถแบ่งได้เป็น
3 ประเภท คือ
1. ช่องทางการจัดจำหน่ายทางตรง (Direct channel) ผู้ผลิตจำหน่ายและส่งมอบสินค้าโดยตรงให้กับผู้บริโภค
2. ช่องทางการจัดจำหน่ายทางอ้อม (Indirect channel) ผู้ผลิตจำหน่ายและส่งมอบสินค้าให้กับผู้กระจายสินค้า,
ผู้ค้าส่ง หรือผู้ค้าปลีกก่อนจัดส่งให้กับลูกค้า
3. ช่องทางการจัดจำหน่ายแบบผสม (Mixed channel) ผู้ผลิตจำหน่ายและส่งมอบสินค้าให้กับผู้กระจายสินค้า,
ผู้ค้าส่ง หรือผู้ค้าปลีกที่แตกต่างกันก่อนจัดส่งให้กับลูกค้า
ซึ่งลูกค้าจะได้รับสินค้าด้วยบริการที่แตกต่างกัน
การกระจายสินค้าผ่านเครือข่ายผู้ค้าปลีกควรเหมาะสมกับประเภทของสินค้า
เพื่อให้ ลูกค้าสามารถหาซื้อสินค้าได้ง่าย
ด้วยต้นทุนการบริหารร้านค้าปลีกที่คุ้มค่า การครอบคลุมตลาด (Market coverage) สามารถแบ่งได้ 3 ประเภท
คือ
1. การกระจายสินค้าผ่านเครือข่ายอย่างทั่วถึง (Intensive distribution) การกระจายสินค้าต้องครอบคลุมเครือข่ายผู้ค้าปลีกให้มากที่สุด
ประเภทของสินค้า เช่น ขนม,เครื่องดื่ม, บุหรี่, สุรา, นม, สบู่ เป็นต้น ซึ่งเป็นสินค้าสะดวกซื้อ
(Convenience goods)
2. การกระจายสินค้าผ่านเครือข่ายเฉพาะ (Exclusive distribution) การกระจายสินค้าจะครอบคลุมพื้นที่หนึ่งด้วยร้านค้าเพียง
1 – 2 ร้าน
หากมีหลายร้านค้าอาจมีผลกระทบต่อต้นทุนค้าใช้จ่าย, จำนวนพนักงาน, หรือปริมาณสินค้า
ประเภทของสินค้า เช่น รถยนต์, บ้าน, เครื่องประดับ, รถโฟลค์ลิฟต์ เป็นต้น ซึ่งเป็นสินค้าเฉพาะเจาะจงซื้อ
(Specialty goods)
3. การกระจายสินค้าผ่านเครือข่ายที่คัดเลือกแล้ว (Selective distribution) การกระจายสินค้าจะครอบคลุมกลุ่มลูกค้าด้วยร้านค้าที่คัดเลือกว่าเหมาะสมกับสินค้า
ซึ่งประกอบด้วยหลายร้านค้า เช่น โทรทัศน์, เครื่องปรับอากาศ, เฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น
ซึ่งเป็นสินค้าที่ต้องเปรียบเทียบและเลือกซื้อ (Shopping
goods)
ปัจจัยสำคัญของการกระจายสินค้า คือ
การเพิ่มปริมาณตัวแทนจำหน่ายให้ครอบคลุมทุกกลุ่มลูกค้าอย่างทั่วถึงด้วยต้นทุนค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม
สำหรับหน้าที่ของตัวแทนจำหน่ายสินค้าประกอบด้วย
1.
ติดต่อกับลูกค้าเพื่อสะท้อนความต้องการของลูกค้า
2.
นำเสนอและกระตุ้นความต้องการใช้สินค้าของลูกค้า
3.
ควบคุมต้นทุนการกระจายสินค้าให้ต่ำสุด
ต้นทุนที่เกิดขึ้นของการกระจายสินค้า
(Distribution cost) เป็นค่าใช้จ่ายที่ประกอบด้วยค่าการส่งมอบ
เช่น ค่าขนส่ง, ค่าเช่ารถบรรทุก, ค่าจ้างพนักงาน, ค่าบรรจุหีบห่อ, ค่าไปรษณีย์ยากร,
ค่าประกันภัย เป็นต้น การควบคุมและบริหารต้นทุนให้มีประสิทธิภาพเพื่อลดต้นทุนต่อหน่วยต่ำสุด
การบริหารระบบฐานข้อมูลปริมาณสินค้าที่พร้อมจำหน่าย, งานระหว่างผลิต,
ระยะเวลาที่ส่งมอบสินค้าได้ตามความต้องการของลูกค้า
การบริหารระบบด้วยโปรแกรมทางคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายจะช่วยเพิ่มโอกาสทางการตลาด และควบคุมค่าใช้จ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ลูกค้า (Customers)
ความต้องการของลูกค้าเป็นปัจจัยความสำเร็จวิกฤตที่องค์กรต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ให้เหมาะสมด้วยการบริหารลูกค้าสัมพันธ์
(Customer relationship
management: CRM) อย่างมีประสิทธิภาพ
การสร้างระบบฐานข้อมูลของลูกค้าควรประกอบด้วยกลุ่มเป้าหมาย,
อายุ, เพศ, ปริมาณลูกค้าเป้าหมาย, พฤติกรรมการบริโภค, ทัศนคติต่อการบริโภค
หรือระดับราคาที่พึงพอใจจ่าย
ธุรกิจต้องกระตุ้นการสร้างความได้เปรียบของสินค้าหรือความต้องการของลูกค้าอย่างต่อเนื่อง
ซึ่งประกอบด้วยการสร้างมาตรฐานของผลิตภัณฑ์, ประสิทธิผลการใช้งาน, ฟังก์ชั่นการใช้งานที่หลากหลาย,
รูปแบบที่ทันสมัยหรือร่วมสมัย, ความคงทนแข็งแรงหรือสามารถซ่อมแก้ไขได้,
การบริการที่รวดเร็ว, การใช้เหลือด้านการติดตั้ง,
การอบรมหรือแนะนำการใช้ผลิตภัณฑ์, ศูนย์ให้บริการ, ศูนย์บริการข่าวสารหรือสายด่วน,
การสร้างภาพลักษณ์ผลิตภัณฑ์, การโฆษณาประชาสัมพันธ์, หรือการสนับสนุนการแข่งขันกีฬา
การบริหารลูกค้าต้องสร้างความต้องการให้เกิดขึ้นเพื่อกระตุ้นการใช้สินค้า หรือขยายกลุ่มลูกค้าให้เพิ่มมากขึ้น
การบริหารลูกค้าต้องกำหนดกลยุทธ์ที่ดึงดูดความสนใจของลูกค้าให้เปลี่ยนมาใช้สินค้ามากขึ้น
กลยุทธ์ที่สำคัญ คือ กลยุทธ์รวมการตลาด (Marketing mix: 4P)
1. ผลิตภัณฑ์ (Product) การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสนองความต้องการของลูกค้าเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องเร่งตัดสินใจอย่างเร่งด่วน
จึงจะรักษาฐานกลุ่มลูกค้าเดิมและขยายตลาดได้
ปัจจัยที่ต้องพิจารณาประกอบด้วยคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์,
ฟังก์ชั่นการใช้งาน, หีบห่อหรือบรรจุภัณฑ์ (เช่น ขนาด, สี, รูปแบบ),
การสะดวกในการติดตั้ง, ระยะเวลาการรับประกัน, หรือการสร้างตราสินค้าให้ได้รับการยอมรับ
2. ราคา (Price)
การกำหนดราคาที่เหมาะสมที่ทำให้ลูกค้าเป้าหมายสามารถตัดสินใจจับจ่ายได้ง่าย
การดำเนินกลยุทธ์การลดราคาเป็นสิ่งสำคัญเพราะสามารถกระตุ้นความต้องการของลูกค้าได้
ซึ่งเป็นการเพิ่มโอกาสให้ลูกค้าใหม่ได้ทดลองใช้ผลิตภัณฑ์ด้วย
การกำหนดราคาต้องสามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้
การกำหนดจุดยืนของผลิตภัณฑ์และคู่แข่งเพื่อสามารถกำหนดราคาได้เหมาะสม และการสร้างความแตกต่างจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถการเข้าถึงลูกค้าได้มากขึ้น
การกำหนดราคายังต้องคำนึงถึงต้นทุนขาย, กำไรที่ต้องการ, ระยะเวลาคืนทุน,
ปริมาณความต้องการสินค้า, ภาวะทางเศรษฐกิจ, ระดับราคาสินค้า และระดับคุณภาพที่ลูกค้ายอมรับได้
3. สถานที่ (Place) การกำหนดสถานที่จำหน่ายสินค้า,
วิธีการส่งมอบสินค้า, การเลือกตัวแทน (เช่น ตัวแทนจำหน่าย, ผู้ค้าส่ง, ผู้ค้าปลีก),
การบริหารระบบเครือข่าย, การสร้างคลังสินค้า, การจัดเก็บวัสดุคงคลัง, รูปแบบร้าน (เช่น ร้านสะดวกซื้อ, ห้างสรรพสินค้า, ร้านค้าย่านชอปปิ้ง)
การดำเนินกลยุทธ์นี้อย่างเหมาะสมจะช่วยให้สามารถบรรลุผลกำไรที่คาดหวังไว้ได้
สถานที่จำหน่ายสินค้ามีหลายประเภท เช่น ห้างสรรพสินค้า (Department store) คือ
ห้างที่มีขนาดใหญ่ที่ขายสินค้าหลากหลายประเภท, ศูนย์การค้า (Supercenter) คือ ห้างที่มีขนาดใหญ่ที่ขายสินค้าหลากหลายประเภท
แต่มีขนาดเล็กกว่าห้างสรรพสินค้า, ซุปเปอร์มาร์เกต (Supermarket) คือ
ร้านขายอาหารและของใช้ทั่วไปภายในบ้าน, ร้านสะดวกซื้อ (Convenience store) คือ
ซุปเปอร์มาร์เกตขนาดเล็กที่ประกอบด้วยยี่ห้อไม่หลากหลาย, มีให้เลือกไม่มาก
และภาชนะบรรจุขนาดเล็ก, ร้านค้าเฉพาะ (Specialty store) คือ ร้านค้าที่ขายสินค้าเฉพาะอย่าง,
ร้านค้าราคาต่ำ (Discount store)
คือ ร้านค้าที่ขายสินค้าราคาต่ำ, ร้านค้าสินค้าด้อยคุณภาพ (Factory outlet store) คือ
ร้านค้าที่ขายสินค้าที่ไม่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพ ซึ่งส่วนใหญ่จะดำเนินการโดยผู้ผลิตเองง
การซื้อขายอาจเกิดขึ้นได้จากการขายสินค้านอกร้านค้า
(Nonstore retailer) เช่น การขายตรง (Door-to-door selling หรือ Direct
selling) คือ
พนักงานขายนำสินค้าไปเสนอและสาธิตวิธีการใช้งานถึงบ้านลูกค้า,
การทำตลาดทางโทรศัพท์ (Telemarketing) คือ การใช้โทรศัพท์ติดต่อลูกค้าเพื่อขายสินค้าหรือบริการ
ซึ่งอาจเป็นระบบอัตโนมัติเมื่อสนใจสินค้าให้กดเบอร์ติดต่อเจ้าหน้าที่,
การสั่งซื้อทางไปรษณีย์ (Mail-order houses) คือ
การนำเสนอสินค้าด้วยแคตตาล็อคส์ (Catalogs) และจัดส่งสินค้าทางไปรษณีย์,
การสั่งซื้อทางโทรทัศน์ (TV shopping) คือ
การโฆษณาสินค้าผ่านทางโทรทัศน์, สั่งซื้อทางโทรศัพท์ด้วยบัตรเครดิต
และจัดส่งสินค้าทางไปรษณีย์, การซื้อขายผ่านระบบคอมพิวเตอร์ (E-commerce) คือ
การสั่งซื้อสินค้าผ่านระบบคอมพิวเตอร์ด้วยบัตรเครดิต,
การซื้อขายผ่านเครื่องขายอัตโนมัติ (Vending machine)
คือ การซื้อสินค้าทางเครื่องขาย เช่น เครื่องดื่ม, ขนม หรือบุหรี่
4. การส่งเสริมการตลาด (Promotion) ควรดำเนินกลยุทธ์ด้วยเครื่องมือส่วนผสมการส่งเสริมการตลาด
(Promotion mix) ประกอบด้วยการโฆษณา (Advertising),
การส่งเสริมการขาย (Sale
promotion), การประชาสัมพันธ์ (Public relation: PR) และการขายโดยพนักงานขาย
(Personal selling)
กลยุทธ์การโฆษณา
(Strategies of advertising)
1. ข้อมูล (Information) น่าติดตาม (Attention) และน่าสนใจ (Interest)
2. นึกถึงได้ (Remind) สร้างความปรารถนา (Desire) เพื่อการตัดสินใจซื้อ
3. จูงใจให้อยากซื้อ (Persuade to buy)
สื่อโฆษณาที่สำคัญ เช่น โทรทัศน์, วิทยุ, อินเทอร์เน็ต, หนังสือพิมพ์,
นิตยสาร, วารสาร, สื่อกลางแจ้ง, ป้ายโฆษณา, โปสเตอร์, ใบปลิว, แผ่นพับ,
จดหมายโฆษณา, โฆษณาด้วยการสอดแทรกผลิตภัณฑ์ในภาพยนตร์หรือละคร เป็นต้น
กลยุทธ์การส่งเสริมการขาย (Strategies of
sale promotion)
1. การส่งเสริมการขายจากผู้ผลิตกับตัวแทนจำหน่าย
เช่น ส่วนลดจากการสั่งซื้อปริมาณมาก,
การเพิ่มส่วนลดเมื่อสั่งซื้อผลิตภัณฑ์อื่นร่วมด้วย,
การแจกแถมผลิตภัณฑ์เมื่อสั่งซื้อปริมาณมาก,
การเพิ่มระยะเวลาเครดิตหรือการชำระเงิน, การเพิ่มส่วนลดเมื่อรอบการหมุนเวียนสินค้าเร็วขึ้น
เป็นต้น เรียกว่า กลยุทธ์แบบผลัก (Push strategy)
2. การส่งเสริมการขายจากผู้ผลิตกับพนักงานขาย เช่น
การท่องเที่ยวเมื่อทำยอดขายบรรลุเป้าหมาย, การจัดฝึกอบรม,
การเพิ่มค่าคอมมิชชั่นเมื่อขายสินค้าบรรลุเป้าหมาย เป็นต้น เรียกว่า กลยุทธ์แบบผลัก
(Push strategy)
3. การส่งเสริมการขายจากผู้ผลิตกับผู้บริโภค เช่น
การชิงโชค, การจัดทำคูปองเพื่อแลกสินค้า, การแถมสินค้ากับผลิตภัณฑ์อื่น,
การแสดงสินค้าและลดราคาเพื่อให้ลูกค้าได้ทดลองใช้ผลิตภัณฑ์ เป็นต้น เรียกว่า
กลยุทธ์แบบดึง (Pull strategy)
กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ (Strategies of public relation)
1. การจัดแถลงข่าว (Press conference)
2. การจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ (Event)
3. การนำเสนอข่าวสาร (Information)
จุดมุ่งหมายของการประชาสัมพันธ์ คือ
การสร้างการรับรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการอย่างต่อเนื่อง เพื่อเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของตราสินค้า
กลยุทธ์การขายด้วยพนักงานขาย (Strategies
of personal selling)
1.
การสื่อสารข้อมูลและรายละเอียดของสินค้าและบริการ
2.
การจูงใจเพื่อให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อ
3.
การบริการและเก็บรวบรวมผลการตอบรับของลูกค้า
กลยุทธ์นี้ผู้ขายต้องสื่อสารโดยตรงกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายโดยตรงหรือทางโทรศัพท์
เพื่อค้นหาความต้องการของลูกค้า
ดังนั้นพนักงานขายที่ดีต้องสามารถเข้าใจความรู้สึกหรือความต้องการของลูกค้าได้
และต้องมีความเชื่อมั่นว่าจะสามารถขายสินค้าได้ด้วยความคาดหวังผลสำเร็จที่เป็นแรงขับจากภายใน
การส่งเสริมความสำเร็จของพนักงานขายควรเพิ่มโอกาสการเจริญเติบโตในสายอาชีพ,
สร้างแรงจูงใจด้วยค่าคอมมิชชั่นหรือโบนัสพิเศษ และการให้อิสระในการบริหารทีมงานขาย
ชุมชน (Community)
ชุมชนเป็นภาวะแวดล้อมหนึ่งที่สำคัญของธุรกิจ หากชุมชนมีคุณภาพจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจและความสำเร็จให้กับองค์กร
เพราะชุมชนเป็นปัจจัยที่สร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขันให้กับธุรกิจ ชุมชนควรประกอบด้วยระบบสาธารณูปโภค (Infrastructure)
ที่ดี เช่น ระบบไฟฟ้า, ระบบประปา, ระบบสื่อสาร,
ระบบการขนส่ง เป็นต้น ระบบเครือข่ายชุมชนที่เข็มแข็ง และระบบการศึกษาที่มีคุณภาพ
หากพื้นฐานของชุมชนที่มีคุณภาพจะช่วยพัฒนาวินัยและจิตสำนึกที่ดีของสมาชิกชุมชน
ซึ่งจะเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพของธุรกิจ องค์ประกอบของชุมชน มีดังนี้
1.
สมาชิกของชุมชน
ได้แก่ ประชาชนที่อยู่ในชุมชนประกอบด้วยตัวแทนชุมชน, คณะกรรมการชุมชน,
ผู้บริหารชุมชน, นักวิชาการชุมชน, นักพัฒนาชุมชน,
หน่วยงานเอกชนที่ช่วยกันพัฒนาปรับปรุงชุมชนให้น่าอยู่และมีคุณภาพชีวิตที่ดี
2.
หน่วยงานราชการ
มีหน้าที่สนับสนุนด้านบุคลากร, ข้อมูล, งบประมาณ,
สนับสนุนเงินกู้เพื่อการศึกษาและที่พักอาศัย, การดำเนินโครงการพัฒนา, การสร้างเครือข่ายชุมชนที่เข็มแข็ง,
การบริหารและควบคุมชุมชนให้มีวินัยและไร้อาชญากรรม
3.
สถานศึกษา
มีหน้าที่พัฒนาบุคลากรชุมชน, สำรวจความต้องการของแรงงาน,
พัฒนาระบบการศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของแรงงาน,
สนับสนุนงานวิจัยและข้อมูลเพื่อการพัฒนาชุมชน, การจัดหลักสูตรระยะสั้นที่พัฒนาทักษะและความรู้ของชุมชน
4.
สื่อมวลชน
มีหน้าที่ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆเพื่อนำเสนอข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์,
สร้างเสริมภาพลักษณ์ที่ดีของชุมชน, สะท้อนปัญหาหรือผลกระทบที่มีต่อชุมชน,
เผยแพร่ข้อมูลให้ทั่วถึงทั้งชุมชน
เป้าหมายสูงสุดของทุกชุมชน คือ การสร้างชุมชนที่น่าอยู่
และการอยู่ร่วมกันอย่างเป็นปกติสุข
กลุ่มผลประโยชน์ (Interest group)
กลุ่มผลประโยชน์ คือ
กลุ่มคนที่รวมตัวกันเพื่อปรับเปลี่ยนและสร้างพลังให้มีอำนาจ (Power) หรืออิทธิพล (Influence) สำหรับการต่อรองผลประโยชน์ร่วมกัน กลุ่มผลประโยชน์ประกอบด้วย
1.
กลุ่มผลประโยชน์ทางธุรกิจ
การดำเนินธุรกิจอาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจอื่นที่ทำให้เกิดการรวมตัวเพื่อต่อต้านได้
2.
กลุ่มผลประโยชน์ทางการเมือง
เช่น นักการเมือง, ข้าราชการ เป็นต้น
เพื่อให้การดำเนินธุรกิจมีความราบรื่นและคล่องตัว
3.
กลุ่มผลประโยชน์จัดตั้ง
เช่น สหภาพแรงงาน, กลุ่มเรียกร้องสิทธิสตรี, กลุ่มหอการค้า เป็นต้น
เพื่อต่อต้านและเรียกร้องสิทธิประโยชน์
บางกรณีกลุ่มผลประโยชน์ก่อตั้งขึ้นเพื่อต่อต้านการเปลี่ยนแปลง
เพราะการเปลี่ยนแปลงทำให้สิทธิหรือผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับลดน้อยลง
สำหรับการดำเนินธุรกิจที่มีการแข่งขันอย่างรุนแรง
การปรับเปลี่ยนองค์กรจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
แต่การเปลี่ยนแปลงมักจะนำไปสู่การต่อต้านเสมอ ทั้งนี้อาจมีเหตุผลมาจาก
1. ความกลัวต่อการเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อพฤติกรรมแลผลประโยชน์ในการปฏิบัติงานปัจจุบัน
2. ความกลัวต่อสิ่งที่ไม่คาดคิดที่จะเกิดขึ้นและส่งผลกระทบต่อกระบวนการปฏิบัติงานปัจจุบัน
3. ความกลัวต่อความล้มเหลว
4. ความไม่พร้อมของข้อมูลหรือข้อจำกัดของงบประมาณและระยะเวลาดำเนินการ
5. ความอดทนและความพยายามที่มีไม่เพียงพอเพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงที่ท้าทาย
6. ความเชื่อมั่นในทีมบริหารจัดการเพื่อการเปลี่ยนแปลง
7. การประเมินผลการปฏิบัติงานไม่มีความชัดเจน
การลดแรงต้านทานการเปลี่ยนแปลง
สามารถดำเนินการได้ เช่น
1. การบ่งชี้ปัญหาให้ชัดเจนเป็นรูปธรรม
และสื่อสารประชาสัมพันธ์ให้ทั่วถึง
2. การสร้างความเชื่อมั่นและบ่งชี้ความสำคัญหรือผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการเปลี่ยนแปลง
3. การสนับสนุนด้านข้อมูล, งบประมาณ
และระยะเวลาการดำเนินการให้เหมาะสม
4. การปรับเปลี่ยนอย่างเป็นระบบ
โดยเริ่มจากหน่วยงานที่มีความสำคัญก่อนและขยายให้ทั่วทั้งองค์กร
5. การมอบหมายความรับผิดชอบและการประเมินผลให้กับพนักงานในการปรับเปลี่ยนองค์กร
6. การสร้างระบบแรงจูงใจที่มีประสิทธิภาพ
7. การตรวจติดตามความคืบหน้าของการเปลี่ยนแปลง
และสื่อสารประชาสัมพันธ์ให้ทั่วถึง
กลุ่มผลประโยชน์มีอิทธิพลต่อการดำเนินการทางธุรกิจและการบรรลุเป้าหมายขององค์กร
เพราะกลุ่มผลประโยชน์อาจเอื้ออำนวยให้ประสบผลสำเร็จหากสามารถประสานผลประโยชน์ร่วมกับองค์กร
แต่อาจสร้างปัญหาและความล้มเหลวให้กับองค์กรหากไม่สามารถตกลงผลประโยชน์ร่วมกันได้
การแข่งขัน (Competition)
สภาพการแข่งขันจะมีอิทธิพลในการกำหนดคู่แข่งและการวางแผนกลยุทธ์เชิงการแข่งขัน
ระบบธุรกิจคาดหวังว่าการแข่งขันจะมีความเสมอภาค
และช่วงชิงความได้เปรียบเชิงการแข่งขันด้วยการวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
องค์กรที่สามารถบริหารผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ, ควบคุมราคา
และสื่อสารทางการตลาดที่มีประสิทธิภาพ จะเข้าครอบครองกลุ่มลูกค้าได้มากขึ้น
แต่หากการดำเนินกลยุทธ์มีความผิดพลาดอาจส่งผลกระทบอย่างรุนแรงทำให้สูญเสียส่วนแบ่งการตลาดและถอนตัวออกจากการแข่งขัน
การเรียนรู้โครงสร้างการแข่งขันและคู่แข่งจะช่วยเสริมสร้างความได้เปรียบ
และมีอิทธิพลต่อการกำหนดรูปแบบผลิตภัณฑ์ และทิศทางการตลาด
ระบบการแข่งขันสามารถแบ่งได้ 4 ประเภท คือ
1.
การแข่งขันสมบูรณ์ (Perfect competition) คือ
โครงสร้างทางการตลาดที่ประกอบด้วยผู้ผลิต,
ผู้ขาย และผู้ซื้อหลายรายจึงไม่มีคู่แข่งใดเป็นผู้กำหนดทิศทางตลาดหรือราคาได้ ความผันผวนของปริมาณซื้อขายไม่มีผลกระทบต่ออุปสงค์และอุปทานของตลาด
ลักษณะของการแข่งขันสมบูรณ์
คือ การเข้าหรืออกตลาดสามารถทำได้ง่ายเพราะไม่มีข้อบังคับ, การกีดกันทางกฎหมาย หรือการแทรกแซงของรัฐบาล
และการเข้าถึงข้อมูลการแข่งขันไม่มีความยุ่งยาก
กลยุทธ์การแข่งขันควรมุ่งเน้นการสร้างความแตกต่าง
(Differentiation) อย่างต่อเนื่องให้กับผลิตภัณฑ์ที่เหมือนกัน
(Identical product) เช่น
สินค้าการเกษตร, หุ้น เป็นต้น
2.
การแข่งขันกึ่งผูกขาด (Monopolistic competition) คือ โครงสร้างทางการตลาดที่ประกอบด้วยผู้ผลิต,
ผู้ขาย และผู้ซื้อมากราย สินค้ามีลักษณะคล้ายคลึงกันแต่แตกต่างที่ตราสินค้า
กลยุทธ์การแข่งขันควรมุ่งเน้นการสร้างตราสินค้าด้วยส่วนผสมการตลาด,
การสร้างความแตกต่างด้านคุณภาพ, การส่งมอบ, การบริการ, ราคา และรูปแบบบรรจุภัณฑ์,
การเจาะตลาดเฉพาะ (Niche
market) เช่น เสื้อผ้า,
รองเท้า, สินค้าสะดวกซื้อ เป็นต้น
3.
การแข่งขันแบบผู้ขายน้อยราย
(Oligopoly) คือ
โครงสร้างทางการตลาดที่ประกอบด้วยผู้ผลิตหรือผู้ขายรายใหญ่น้อยราย
และผู้ซื้อมากราย สินค้ามีลักษณะคล้ายคลึงกันมากและส่วนแบ่งการตลาดมากกว่า 50% ถูกครอบครองด้วยผู้ผลิตเพียง 3-4 ราย
กลยุทธ์การแข่งขันควรมุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์สินค้า,
การปรับปรุงคุณภาพและการบริการ, การบริหารราคาขายและการโฆษณาเพื่อกระตุ้นการตอบรับสินค้า
การตัดสินใจซื้อของลูกค้าเปลี่ยนแปลงได้ง่ายหากระดับราคามีการเปลี่ยนแปลง,
การลดแลกแจกแถม หรือการโฆษณา ซึ่งจะทำให้คู่แข่งต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ตามทันที
เพื่อป้องกันการสูญเสียส่วนแบ่งการตลาด ตัวอย่างของสินค้า ได้แก่ น้ำอัดลม,
เบียร์, น้ำมัน, เหล็ก, รถยนต์
4.
การผูกขาด
(Monopoly) คือ การผูกขาดตลาดด้วยผู้ผลิตหรือผู้ขายเพียงรายเดียวและไม่มีสินค้าอื่นทดแทนได้อย่างสมบูรณ์
เช่น ไฟฟ้า, ประปา, รถไฟฟ้า เป็นต้น การผูกขาดแบ่งเป็นการผูกขาดโดยกฎหมาย (การสัมปทานเหมืองแร่) และการผูกขาดด้านเงินลงทุน (ดาวเทียม)
วิเคราะห์คู่แข่ง (Competitors analysis)
การช่วงชิงโอกาสทางการตลาดหรือความได้เปรียบเชิงการแข่งขันเพื่อสามารถบรรลุเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ขององค์กร
ต้องศึกษาวิเคราะห์คู่แข่งเพื่อเรียนรู้จุดแข็งและจุดอ่อนสำหรับการพิจารณาหากลยุทธ์การแข่งขันที่เหมาะสม
ขั้นตอนการวิเคราะห์คู่แข่งประกอบด้วย
1.
การวิเคราะห์ตำแหน่งการรับรู้ของผู้บริโภค
(Perceptual map) การกำหนดปัจจัยที่สำคัญที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อของลูกค้า
เพื่อกำหนดเป็นแกนอ้างอิง (แนวตั้งและแนวนอน)
และสำรวจกลุ่มลูกค้าเป้าหมายเพื่อกำหนดตำแหน่งของคู่แข่ง หรือวิเคราะห์ส่วนแบ่งการตลาด
(Market shares) ของคู่แข่งที่สำคัญ
2.
การกำหนดคู่แข่งหลัก
เมื่อกำหนดตำแหน่งการรับรู้ของผู้บริโภคหรือส่วนแบ่งการตลาดแล้วจะสามารถมองเห็นภาพของคู่แข่งที่ชัดเจน
และกำหนดคู่แข่งหลักหรือคู่แข่งที่ต้องการท้าชิงซึ่งได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคหรือมีส่วนแบ่งการตลาดที่ดีกว่า
3.
การวิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อนของคู่แข่ง
เพื่อศึกษาองค์ประกอบความสำเร็จและโอกาสทางการตลาดที่คู่แข่งมองข้ามไป
4.
การวิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อนขององค์กร
เพื่อศึกษาศักยภาพเชิงการแข่งขันที่สามารถช่วงชิงความสำเร็จจากคู่แข่งได้
5.
การวิเคราะห์ช่องว่างระหว่างคู่แข่งกับองค์กร
เพื่อเสริมสร้างจุดแข็งขององค์กรและโจมตีจุดอ่อนของคู่แข่ง
6.
การกำหนดกลยุทธ์การแข่งขัน
เป็นการกำหนดแผนการดำเนินงานเพื่อช่วงชิงความได้เปรียบ
7.
การประเมินและติดตามอย่างต่อเนื่อง
เพื่อปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับภาวะแวดล้อมภายนอก
ความต้องการของลูกค้าถือได้ว่าเป็นปัจจัยแวดล้อมที่สร้างความสามารถเชิงการแข่งขัน
ด้วยการกำหนดและเรียนรู้ความต้องการหรือสิ่งที่คาดหวังของกลุ่มลูกค้า
เพื่อให้การดำเนินกลยุทธ์บรรลุความคาดหวังของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การเรียนรู้แนวโน้มหรือเปลี่ยนแปลงของธุรกิจและตลาด เพื่อประเมินปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อองค์กร
สำหรับการปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรและกลยุทธ์ให้เหมาะสม
การเรียนรู้ถึงภาวการณ์แข่งขันเพื่อทราบถึงตำแหน่งขององค์กรของตลาด,
จำนวนและกลยุทธ์ของคู่แข่ง ซึ่งจะช่วยให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าและสร้างความได้เปรียบที่เหนือกว่าคู่เข่ง
เช่น วิเคราะห์ตำแหน่งของผลิตภัณฑ์และเปรียบเทียบกับช่วงอายุ (Life cycle) ของผลิตภัณฑ์
เพื่อศึกษาแนวโน้มของผลิตภัณฑ์และสร้างความซื่อสัตย์ต่อตราสินค้าอย่างต่อเนื่อง
ด้วยการกำหนดแผนกลุทธ์และแผนปฏิบัติงานที่สอดคล้องเหมาะสม
การตลาดก็ได้รับอิทธิพลจากสภาพเศรษฐกิจ
เช่น ความต้องการสินค้าของลูกค้า, กำลังซื้อของลูกค้าเป้าหมาย,
การกระจายตัวของตลาด, ราคาสินค้า, กำแพงทางการค้า, สภาพการแข่งขันของธุรกิจ,
วงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ เป็นต้น
ความได้เปรียบเชิงการแข่งขัน (Competitive advantage)
การสร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขันนับว่าเป็นหน้าที่สำคัญของผู้บริหารระดับสูง
ที่ต้องบริหารและออกแบบองค์กรให้อำนวยต่อความมีประสิทธิภาพของการปฏิบัติงาน
ปัจจัยความสำเร็จวิกฤต (Critical success factors) เป็นสิ่งที่ผู้บริหารระดับสูงต้องกำหนดขึ้นมา
ซึ่งต้องเป็นผลสะท้อนจากความต้องการของตลาดและผลกำไรขององค์กร
ปัจจัยความสำเร็จจะเป็นแนวทางสำหรับการกำหนดกลยุทธ์ (Strategy)
การกำหนดกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพต้องมีปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญ 2 ประการ คือ
1.
รูปแบบการบริหาร
(Management) ความชัดเจนของวิสัยทัศน์, พันธกิจ
และวัตถุประสงค์เป็นสิ่งสำคัญเพื่อเป็นแนวทางสำหรับการกำหนดกลยุทธ์หรือนโยบายการปฏิบัติงาน
2.
ขีดความสามารถขององค์กร
(Capability) ประกอบด้วยทักษะความรู้ของพนักงาน,
ระบบการสื่อสารและการประสานงาน, ระบบแรงจูงใจ, เทคโนโลยี, วัฒนธรรมองค์กร,
หรือความมั่นคงทางการเงิน
เมื่อกำหนดกลยุทธ์โดยใช้ปัจจัยข้างต้นเป็นกลไกการขับเคลื่อนองค์กรให้ประสบผลสำเร็จ
และสร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขันที่มั่นคงแข็งแรง
กลยุทธ์ควรประกอบด้วยกลยุทธ์หลักขององค์กร
(Corporate strategy) และกลยุทธ์หน่วยงาน (Functional strategies) เช่น
กลยุทธ์การเงิน, กลยุทธ์การตลาด, กลยุทธ์การผลิต, กลยุทธ์การบริหารทรัพยากรมนุษย์
การเมือง (Politics)
การเมืองมีอิทธิพลต่อระบบภาษี, อัตราแลกเปลี่ยน,
ความน่าเชื่อถือด้านการลงทุน, การใช้จ่ายภาครัฐ, การสนับสนุนด้านการลงทุน,
การกำหนดนโยบายด้านแรงงานหรือสิ่งแวดล้ม
เสถียรภาพทางการเมืองจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่พิจารณาร่วมด้วย
เพราะหากรัฐบาลไม่เข้มแข็งหรือระบบการเมืองไม่เอื้ออำนวยต่อการลงทุนจะส่งผลต่อการโยกย้ายทำเลที่ตั้ง
เนื่องจากสภาพการแข่งขันในปัจจุบันต้องช่วงชิงความได้เปรียบด้านต้นทุน
ดังนั้นหากระบบภาษีไม่เอื้ออำนวยต่อการลงทุน, อัตราแลกเปลี่ยนมีการแกว่งตัวสูงมาก,
การลงทุนภาครัฐต่อระบบสาธารณูปโภคไม่เพียงพอจะทำให้การลงทุนลดน้อยลง
ซึ่งจะมีผลให้ระบบเครือข่ายทางธุรกิจไม่มากเพียงพอที่จะสนับสนุนความได้เปรียบด้านต้นทุนหรือการวิจัยที่จะสร้างความได้เปรียบเขิงการแข่งขัน
ระบบการจัดเก็บภาษี (Tax system)
ระบบภาษีบางครั้งได้รับผลจากสภาพทางการเมือง
เนื่องจากภาษีที่จัดเก็บจะส่งผลต่อรายได้ของภาครัฐที่นำไปพัฒนาประเทศ
และเป็นกลไกที่ส่งเสริมภาคเศรษฐกิจให้ดำเนินไปตามนโยบาลของภาครัฐ ภาษีจัดเก็บจากฐานรายได้,
การบริโภค หรือทรัพย์สิน ระบบภาษีจึงเป็นเครื่องมือในการบริหารประเทศและสร้างเสริมความเป็นธรรมระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค
อัตราภาษีจึงมีผลโดยตรงต่อการส่งออกและนำเข้า
รวมทั้งการลงทุนของภาคอุตสาหกรรม
หากประเทศต้องการส่งเสริมอุตสาหกรรมการผลิตภายในประเทศ
อาจกำหนดอัตราภาษีต่ำกว่าประเทศอื่นเพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศหรือเพิ่มการลงทุนภายในประเทศ
และควรกำหนดอัตราภาษีนำเข้าให้สูงขึ้นสำหรับประเภทผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ภาครัฐเล็งเห็นว่าสมรรถภาพ
ซึ่งมาตรการดังกล่าวยังช่วยแก้ปัญหาดุลการชำระเงิน
ระบบภาษีอากรอาจแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ภาษีทางตรง (Direct tax) และภาษีทางอ้อม (Indirect tax)
ซึ่งบางท้องถิ่นอาจจัดเก็บภาษีท้องถิ่น
ภาษีทางตรงเป็นภาษีที่จัดเก็บจากผู้มีรายได้โดยตรงประกอบด้วย ภาษีรายได้ (Income tax) ซึ่งแบ่งเป็นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
และภาษีเงินได้นิติบุคคล, ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
สำหรับภาษีทางอ้อมเป็นภาษีจัดเก็บจากผู้บริโภคสินค้าหรือได้รับบริการประกอบด้วย
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value added tax: VAT), ภาษีธุรกิจเฉพาะ และภาษีสรรพสามิต (Excise
tax) ที่จัดเก็บจากสินค้าฟุ่มเฟือย เช่น
รถยนต์, เครื่องปรับอากาศ, บุหรี่, สุรา เป็นต้น
ภาษีเงินได้ (Income tax)
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะจัดเก็บจากบุคคลธรรมดาที่มีรายได้, ผู้ตายระหว่างปีภาษี, กองมรดก,
ห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่ใช่นิติบุคคล หรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล
ภาษีกำหนดให้จัดเก็บจากรายได้สุทธิซึ่งเป็นรายได้ที่ได้หักค่าใช้จ่าย
และค่าลดหย่อนแล้ว อัตราภาษีเป็นแบบก้าวหน้าที่จัดเก็บตั้งแต่ 5-37% ของรายได้สุทธิ
ภาษีเงินได้นิติบุคคลจะจัดเก็บจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน,
กิจการร่วมงาน, กิจการเพื่อการค้าขององค์กรรัฐบาล, มูลนิธิ หรือสมาคม
อัตราภาษีสำหรับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมที่มีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาทและมีกำไรสุทธิไม่เกิน 1,000,000
บาท เท่ากับ 20% ของกำไรสุทธิ หากมีกำไรสุทธิ 1,000,001
– 3,000,000 บาท เท่ากับ 25% ของกำไรสุทธิ
และมากกว่า 3,000,0001 บาท เท่ากับ 30%
ของกำไรสุทธิ สำหรับผู้ประกอบการขนาดใหญ่และไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์กำหนดอัตราภาษีเท่ากับ
30% ของกำไรสุทธิ
ภาษีเงินได้หัก
ณ ที่จ่ายจะกำหนดให้ผู้ที่มีรายได้ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลต้องชำระภาษีทันที
ทั้งนี้เพื่อลดภาระการชำระภาษี ณ สิ้นปี
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value added tax: VAT)
ภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นภาษีที่จัดเก็บจากขายสินค้าหรือบริการให้กับผู้ซื้อ (Buyers) หรือผู้บริโภค (End users) ซึ่งภาษีมูลค่าเพิ่มนี้ได้นำมาใช้แทนภาษีการค้า การชำระภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นผู้ประกอบการจะเป็นผู้เสียภาษีที่ได้จากจัดเก็บจากผู้ซื้อหรือผู้บริโภคเพื่อจัดส่งให้กับรัฐบาล
ภาษีมูลค่าเพิ่ม = ภาษีขาย –
ภาษีซื้อ
เช่น กำหนดภาษีมูลค่าเพิ่ม เท่ากับ 7%
ผู้ผลิตเสื้อซื้อผ้าจากโรงงานราคา 100 บาท
และขายให้กับพ่อค้าปลีก 200 บาท
แล้วพ่อค้าปลีกขายให้กับผู้บริโภค 300 บาท
100 -----------------------> 200 -----------------------> 300
14
21
พ่อค้าปลีกซื้อเสื้อจากผู้ผลิตต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
เท่ากับ 200 x 7% = 14 บาท (ภาษีซื้อ)
และลูกค้าที่ซื้อเสื้อจากพ่อค้าต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เท่ากับ 300 x 7% =
21 บาท (ภาษีขาย) แสดงว่าหากพ่อค้าปลีกต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มให้กับผู้ผลิต
14 บาท และพ่อค้าปลีกสามารถนำภาษีซื้อไปลบออกจากภาษีขายแล้วจึงเสียภาษีให้กับรัฐบาล
ซึ่งเท่ากับ 21 – 14 = 7 บาท
หมายความว่าพ่อค้าปลีกไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเองเลย แต่ผู้บริโภคหรือลูกค้าคนสุดท้ายจะเป็นผู้เสียภาษี
ภาษีธุรกิจเฉพาะเป็นภาษีที่จัดเก็บจากธุรกิจบางประเภท
ซึ่งเป็นธุรกิจที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม จึงต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะแทน เช่น
ธุรกิจเงินทุน, หลักทรัพย์, ธนาคารพาณิชย์ เป็นต้น
สำหรับอากรแสตมป์เป็นการจัดเก็บอากรจากการทำนิติกรรมสัญญาหรือตราสาร
เช่น สัญญาเช่า, ตั๋วสัญญาใช้เงิน เป็นต้น
การจัดเก็บภาษีดังกล่าวเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของกรมสรรพากรซึ่งสังกัดกระทรวงการคลัง
ภาษีสรรพสามิต (Excise tax)
ภาษีสรรพสามิต
คือ ภาษีการขายที่จัดเก็บจากสินค้าหรือบริการบางประเภทที่เห็นสมควรต้องรับภาระภาษีสูงกว่าปกติ
โดยจัดเก็บจากผู้ผลิต, ผู้ประกอบกิจการให้บริการ หรือผู้นำเข้าสินค้า
ซึ่งเป็นสินค้าที่ต้องการจำกัดหรือควบคุมการบริโภคเนื่องจากก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพหรือศีลธรรมอันดี
เช่น สุรา, บุหรี่, ไพ่, สนามแข่งม้า เป็นต้น
สินค้าฟุ่มเฟือยที่เกินความจำเป็นที่ส่วนใหญ่นำเข้าจากต่างประเทศซึ่งเหมาะสำหรับผู้มีรายได้สูง
เช่น เรือยอชต์, น้ำหอม, แก้วเลดคริสตัลหรือแก้วคริสตัล เป็นต้น
สินค้าที่มีผลเสียต่อภาวะสิ่งแวดล้อม เช่น น้ำมันที่กำมะถันสูง, แบตเตอรี่,
สารทำลายโอโซน เป็นต้น สินค้าที่ได้รับผลประโยชน์พิเศษจากรัฐบาล เช่น รถยนต์,
รถจักรยานยนต์, เครื่องปรับอากาศ เป็นต้น ธุรกิจการบริการ เช่น
สถานที่อาบน้ำหรืออบตัวและนวด, ไนต์คลับ, สนามกอลฟ์ เป็นต้น
การจัดเก็บภาษีดังกล่าวเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของกรมสรรพสามิตซึ่งสังกัดกระทรวงการคลัง
ภาษีศุลกากร (Custom duties)
ภาษีศุลกากร คือ การจัดเก็บภาษีจากสินค้านำเข้าหรือส่งออก
ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ
1.
ภาษีส่งออก
เป็นภาษีที่จัดเก็บจากการส่งออกสินค้า
2.
ภาษีผ่าน
เป็นภาษีที่จัดเก็บเมื่อสินค้าถูกส่งผ่านเพื่อนำส่งต่อไปยังประเทศอื่น
3.
ภาษีนำเข้า
เป็นภาษีที่จัดเก็บจากการนำเข้าสินค้า
ภาษีศุลกากรเป็นเครื่องอย่างหนึ่งสำหรับการคุ้มครองธุรกิจภายในประเทศ
และช่วยป้องกันการว่างงาน อย่างไรก็ตามจะพบว่าแต่ละภูมิภาคจะมีเขตการค้าเสรี (เช่น
EU, ASEAN เป็นต้น)
เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับสินค้าที่ราคาไม่สูงมากนัก แต่อาจส่งผลเสียต่อประเทศที่ขาดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องหรือมีการพัฒนาที่ล่าช้าทำให้เทคโนโลยีล้าหลัง
ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพด้านราคาและการผูกขาดเป็นผู้กำหนดราคาเองได้
โครงสร้างภาษีศุลกากรมีลักษณะเป็นขั้นบันได
(Tariff escalation) ภาษีส่งออกมักจะได้รับการยกเว้น
เพื่อสนับสนุนธุรกิจเพื่อการส่งออก
แต่ยังคงเสียภาษีขาเข้าของประเทศคู่ค้าซึ่งจะแตกต่างกันตามประเภทสินค้าและระบบภาษีของแต่ละประเทศ
การจัดเก็บภาษีศุลกากรเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของกรมศุลกากรซึ่งสังกัดกระทรวงการคลัง
นอกจากภาษีที่กล่าวมาข้างต้นแล้วยังมีภาษีท้องถิ่น เช่น ภาษีที่ดิน,
ภาษีบำรุงท้องที่, ภาษีทรัพย์สิน เป็นต้น
การบริหารระบบภาษีจึงเป็นหน้าที่หลักสำคัญอย่างหนึ่งของรัฐบาล เพราะเป็นการหารายได้เพื่อนำไปพัฒนาและบริหารประเทศ
ซึ่งเป็นการรักษาสถานภาพความมั่นคงทางการเมืองของรัฐบาลนั้นด้วยทั้งนี้เพราะการกำหนดฐานภาษีจะเกี่ยวข้องโดยตรงกับความเป็นอยู่ประชาชนหรือผู้บริโภค
รัฐบาลต้องกำหนดกลยุทธ์การบริหารประเทศให้เหมาะสมกับสภาพการแข่งขัน, เศรษฐกิจ
และสังคมโลก
อัตราแลกเปลี่ยน (Exchange rate)
อัตราแลกเปลี่ยนเป็นการเทียบค่าเงินของเงินสกุลท้องถิ่นกับเงินสกุลหลัก
หากความต้องการเงิน(Demand) ของเงินสกุลใดมากกว่าปริมาณเงิน
(Supply) ระดับอัตราแลกเปลี่ยนเงินสกุลนั้นจะสูงขึ้น
แต่หากความต้องการเงินของเงินสกุลใดน้อยกว่าปริมาณเงิน
อัตราแลกเปลี่ยนเงินสกลุนั้นจะลดต่ำลง เช่น อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทกับเงินดอลลาร์ (40 บาทต่อดอลลาร์), อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทกับเงินปอนด์ (70 บาทต่อปอนด์) เป็นต้น อัตราแลกเปลี่ยนสามารถแบ่งได้เป็น 2 ระบบหลัก คือ
1.
ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่
(Fixed exchange rate system) เป็นระบบที่ควบคุมให้อัตราแลกเปลี่ยนมีการเคลื่อนไหวในช่วงที่แคบ
โดยอาจผูกค่าเงินกับเงินสกุลหลักเพียงสกุลเดียว
หรือผูกค่าเงินกับเงินสกุลหลักหลายสกุลที่เรียกว่า ระบบตะกร้าเงิน ซึ่งธนาคารกลางจะเป็นผู้ที่บริหารจัดการและตัดสินใจกับสถานการณ์ความผันผวนที่เกิดขึ้น
2.
ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว
(Floating exchange rate
system) เป็นระบบที่มีการเคลื่อนไหวตามค่าเงินที่แท้จริง
ซึ่งสามารถแบ่งย่อยได้เป็น 2 ระบบ คือ
ระบบที่มีความยืดหยุ่นจำกัด
เป็นระบบที่คล้ายกับระบบตะกร้าเงินแต่สามารถเคลื่อนไหวในช่วงที่กว้างกว่า ซึ่งเป็นระบบที่ใช้กันในยุโรป
ระบบที่มีความยืดหยุ่นสูง
เป็นระบบที่แปรผันตามอุปสงค์และอุปทานของเงินตราต่างประเทศ
ซึ่งสามารถแบ่งย่อยได้เป็น 2 ระบบ คือ
ระบบลอยตัวภายใต้การจัดการ (Manage float) เป็นระบบที่ปล่อยให้ลอยตัวอย่างอิสระ
แต่ธนาคารกลางต้องเฝ้าติดตามอย่างต่อเนื่อง
ระบบลอยตัวแบบเสรี (Free float)
เป็นระบบที่ธนาคารกลางจะเข้าแทรกแซงเพียงบางครั้ง แต่จะปล่อยให้ค่าเงินเป็นไปตามกลไกตลาดมากที่สุด
อัตราแลกเปลี่ยนมีผลกระทบโดยตรงต่อการนำเข้าและส่งออก
การควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนจึงมีส่วนสำคัญและมีผลกระทบโดยตรงต่อผลกำไรหรือขาดทุนของธุรกิจนำเข้าและส่งออก
เมื่ออัตราแลกเปลี่ยนต่ำลงจะสนับสนุนการนำเข้า แต่หากอัตราแลกเปลี่ยนสูงขึ้นจะสนับสนุนการส่งออก
ซึ่งมีผลโดยตรงต่อสภาพการแข่งขันกับประเทศอื่นๆ
แรงผลักดันทางการเมืองที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขององค์กร
การเมืองจะสัมพันธ์เกี่ยวโยงกันระหว่างประเทศ
องค์กรจะเข้มแข็งและประสบผลสำเร็จส่วนหนึ่งเกิดจากกระบวนการทางการเมืองระหว่างประเทศ
โดยเฉพาะกับธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกและนำเข้า
นอกจากนี้เสถียรภาพของรัฐบาลหรือการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองก็มีผลกระทบต่อองค์กร
การเมืองท้องถิ่นหรือการเมืองระดับชาติเป็นกลไกในการออกกฎระเบียบ,
กฎหมาย หรือข้อบังคับ ซึ่งบางครั้งอาจได้รับอิทธิพลจากหน่วยงานระหว่างประเทศ เช่น
องค์การการค้าโลก (WTO: World Trade Organisation), สหประชาชาติ (UN: United Nations), กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF: International Monetary Fund) เป็นต้น
หน่วยงานระหว่างประเทศส่งผลต่อระบบภาษีการค้า ดังนั้นการบริหารและสร้างความสัมพันธ์ทางการเมืองระหว่างประเทศจึงเป็นปัจจัยสร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขัน
เสถียรภาพทางการเมืองช่วยสนับสนุนความมั่นใจในการลงทุน
และก่อให้เกิดการขับเคลื่อนของธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ซึ่งสามารถวางแผนหรือคาดการณ์สภาพตลาดได้ง่ายขึ้น เป็นการลดความเสี่ยงของการดำเนินงาน
ธุรกิจสามารถบริหารต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิผล
รวมทั้งรัฐบาลสามารถดำเนินกิจกรรมบริหารประเทศได้อย่างต่อเนื่อง เช่น
การลงทุนภาครัฐในระบบสาธารณูปโภค, การสร้างสัมพันธ์ระหว่างประเทศ,
การต่อรองการกีดกั้นทางการค้า เป็นต้น หากรัฐบาลขาดเสถียรภาพ เช่น
การเปลี่ยนแปลงรัฐบาล, ภาวะสงคราม, การปฏิวัติ, ความปั่นป่วนทางการเมือง,
การคอรัปชั่น เป็นต้น จะมีอิทธิพลต่อการตลาด, การผลิต และการพัฒนาทางเศรษฐกิจ
การเมืองสามารถสนับสนุนด้านการลงทุนในภาคอุตสาหกรรม,
ภาคเกษตรกรรม หรือภาคการบริการ โดยปรับปรุงระบบหรือโครงสร้างการศึกษาและการอบรมให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน
การเมืองมีอิทธิพลโดยตรงกับกฎระเบียบหรือกฎหมาย
เช่น
1.
กฎระเบียบการเข้า-ออกภาคอุตสาหกรรม เช่น
สินค้าจำพวกบุหรี่, สุรา, ยา เป็นต้น
2.
กฎระเบียบด้านภาษี
เช่น การเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม, ภาษีสรรพสามิต, ภาษีสรรพากร เป็นต้น
3.
กฎระเบียบการบริหาร
เช่น การควบคุมอัตราเงินกู้ต่อส่วนผู้ถือหุ้น,
การนำผลกำไรจากการลงทุนกลับประเทศผู้ลงทุน เป็นต้น
4.
กฎระเบียบการสนับสนุนของภาครัฐ
เช่น การช่วยเหลือทางการเงินกรณีเกิดการล้มละลาย,
การสนับสนุนด้านภาษีสำหรับอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ เป็นต้น
5.
กฎระเบียบด้านการประกันสุขภาพ,
เงินประกันสังคม และอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ
6.
กฎระเบียบการควบรวมกิจการ, การค้าระหว่างประเทศ
หรือการลงทุนของต่างชาติ
7.
กฎระเบียบที่สนับสนุนมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม
การให้สิทธิลูกจ้างที่สอดคล้องกับกฎหมาย
เช่น การทำงานไม่เกิน 8 ชั่วโมงต่อวัน
หรือไม่เกิน 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์, กำหนดเวลาพักอย่างน้อย 1 ชั่วโมงภายใน 5 ชั่วโมงแรกของการทำงาน
หรือสามารถกำหนดให้เวลาพักน้อยกว่า 1 ชั่วโมงได้แต่ต้องไม่น้อยกว่า
20 นาทีต่อครั้งและรวมกันแล้วไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง, กำหนดวันหยุดไม่น้อยกว่า 1 วันซึ่งมีระยะห่างกันไม่เกิน
6 วัน, ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุดประจำสัปดาห์,
งานบางประเภทที่ต้องทำงานต่อเนื่องสามารถสะสมและเลื่อนวันหยุดประจำสัปดาห์ได้แต่ต้องไม่เกิน
4 สัปดาห์ติดต่อกัน, วันหยุดประจำปีไม่น้อยกว่า 13 วัน และลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าจ้าง, พนักงานที่ทำงานเกิน 1 ปีสามารถลาพักผ่อนได้ไม่น้อยกว่าปีละ 6
วันทำงานและมีสิทธิได้รับค่าจ้าง เป็นต้น
เศรษฐกิจ (Economy)
เมื่อราคาของสินค้าและบริการเพิ่มสูงขึ้น
ผู้บริโภคต้องมีอำนาจการซื้อมากขึ้น เมื่อผู้บริโภคมีการจับจ่ายมากขึ้น ปริมาณการผลิตและการให้บริการก็จะเพิ่มสูงขึ้นเป็นวัฏจักร
ซึ่งส่งผลให้ภาครัฐได้รับงบประมาณมากขึ้นจากการจัดเก็บภาษีรายได้บุคคลธรรมดา,
ภาษีนิติบุคคล และภาษีอื่นๆ
เมื่อรัฐบาลมีรายได้เพิ่มขึ้นทำให้การใช้จ่ายของภาครัฐสูงขึ้นด้วย
เมื่อภาครัฐใช้จ่ายมากขึ้นทำให้เกิดการจ้างงานมากขึ้น ประชาชนมีรายได้มากขึ้น
ทำให้เกิดการจับจ่ายคล่องตัวอย่างต่อเนื่องเป็นวัฏจักร
ส่งผลต่อการเจริญเติบโตและเสริมสร้างความแข่งแกร่งของสภาพเศรษฐกิจ
ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งสำหรับการสร้างความเข้มแข็งให้กับประเทศและรัฐบาล
การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ (Economic change)
การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจมีผลกระทบโดยตรงกับระดับต้นทุนวัตถุดิบ,
ค่าจ้างแรงงาน, ราคาสินค้า, อัตราแลกเปลี่ยน หรืออัตราดอกเบี้ย
การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจเป็นสิ่งที่ไม่สามารถควบคุมได้
การเฝ้าติดตามและปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ให้สอดคล้อง เพื่อรักษาระดับผลกำไร,
อัตราการเจริญเติบโต และสร้างเสถียรภาพภายใต้การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและความไม่แน่นอนทางการแข่งขัน
การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (Economic growth)
การวัดค่าระดับเศรษฐกิจสามารถวัดได้จากค่า GDP (Gross domestic product) ซึ่งเป็นปัจจัยที่บ่งชี้การเจริญเติบโตหรือการถดถอยทางเศรษฐกิจ
GDP คือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศเป็นมูลค่าของสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายที่ผลิตได้ภายในประเทศในรอบระยะเวลาหนึ่ง
(1 ปี) ซึ่งแสดงให้เห็นถึงอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
หาก GDP มีค่าเพิ่มขึ้นจะแสดงถึงการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่หาก
GDP มีค่าลดลงจะแสดงถึงการถดถอยทางเศรษฐกิจ
มูลค่าของสินค้าและบริการ จะพิจารณาผลรวมจากการใช้ทรัพยากรในการผลิตสินค้าและบริการภายในประเทศ
และทรัพยากรของชาวต่างชาติที่นำเข้ามาใช้ในการผลิตสินค้าและบริการภายในประเทศ
หากพลเมืองของประเทศไปทำงานหรือทำการผลิตในต่างประเทศจะไม่นำมารวมในค่า GDP
สำหรับค่า GNP (Gross
national product) คือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติเป็นผลรวมของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ
และรายได้สุทธิจากต่างประเทศ
GNP = GDP + รายได้สุทธิจากต่างประเทศ
อัตราดอกเบี้ย (Interest rate)
อัตราดอกเบี้ย คือ ผลตอบแทนของการไม่ถือเงินสด เช่น
นายออมนำเงินสดไปฝากธนาคารจะได้รับดอกเบี้ยเงินฝากเท่ากับ 10% หรือธนาคารนำเงินไปให้นายลงทุนจะได้รับดอกเบี้ยเงินกู้เท่ากับ 15%
ภายในระยะเวลาที่กำหนด
อัตราดอกเบี้ยเป็นปัจจัยกระตุ้นการออมและการลงทุน
และมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าที่มีมูลค่าสูง (รถยนต์ หรือบ้าน) นอกจากนี้อัตราดอกเบี้ยยังเป็นปัจจัยการตัดสินใจในการกู้ยืมหรือการขอเครดิตการค้าที่ขึ้นอยู่กับค่าใช้จ่ายใดต่ำกว่ากัน
อัตราดอกเบี้ยเกิดความผันผวนเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาขึ้นอยู่กับความต้องการถือเงิน,
สภาพคล่องทางการเงิน และปริมาณเงิน
อัตราดอกเบี้ยจึงเป็นกลไกที่ช่วยให้อุปสงค์ของเงินเท่ากับอุปทานของเงิน
แต่ไม่ใช่กลไกสำหรับการเพิ่มการลงทุนเท่ากับเงินออม
สภาพเศรษฐกิจภายในประเทศจะได้รับอิทธิพลจากการแกว่งตัวขึ้นลงของสภาพเศรษฐกิจโลก
ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนและอัตราดอกเบี้ย
และมีผลต่อเนื่องกับวงจรชีวิตของธุรกิจ (Business life-cycle), ค่า GDP และ GNP, อัตราการว่างงาน,
อัตราเงินเฟ้อทีมีผลต่อการดำเนินธุรกิจและการลงทุนในภาคอุตสาหกรรม
การเปลี่ยนแปลงราคา (Price change)
การเปลี่ยนแปลงราคาเป็นปัจจัยทางเศรษฐกิจที่สำคัญในการบริหารและตัดสินใจทางธุรกิจเพราะราคามีอิทธิพลพฤติกรรมการบริโภค,
การออม, การผลิต และ การลงทุน
พฤติกรรมการบริโภคของสังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตเชิงเกษตรกรรมเป็นอุตสาหกรรม
จึงมีผลให้ธุรกิจบางประเภทเติบโตได้รวดเร็ว เช่น อาหารสำเร็จรูป, อาหารกระป๋อง,
ร้านอาหารสำเร็จรูป (Fast food) เป็นต้น เพราะต้องใช้เวลาในการทำงานอย่างรีบเร่งมากขึ้น
พฤติกรรมการออมเป็นการเรียนรู้พฤติกรรมการจัดสรรรายรับ
การออมจะได้รับอิทธิพลจากรายรับและค่านิยมของสังคม
หากพฤติกรรมการออมสูงแสดงว่าเงินสำหรับการลงทุนมีสูง หากพฤติกรรมการออมต่ำแสดงว่าค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคและบริโภคค่อนข้างสูง
พฤติกรรมการผลิตเป็นการแสดงแนวโน้มการผลิตที่จะมากขึ้นเมื่อการเปลี่ยนแปลงราคาทำให้ผลกำไรเพิ่มขึ้น
การวางแผนการผลิตจะเพิ่มสูงขึ้นหากปริมาณสินค้าที่ไหลเข้าคลังสินค้าน้อยกว่าปริมาณสินค้าที่ไหลออก
อย่างไรก็ตามหากราคาสินค้าสูงขึ้นอาจทำให้ความต้องการหยุดชะงักและปริมาณสินค้าคงคลังก็เพิ่มสูงขึ้น
ซึ่งส่งผลต่อการหยุดการผลิต
พฤติกรรมการลงทุนจะเพิ่มขึ้นเมื่อกำลังการผลิตไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด
การเปลี่ยนแปลงด้านราคาอาจส่งผลกระทบภาวะเงินเฟ้อ (Inflation) ซึ่งหมายถึง ภาวะที่ระดับราคาสินค้าและบริการสูงขึ้นเรื่อยๆและส่งผลให้มูลค่าเงินลดน้อยลง
ภาวะเงินเฟ้ออย่างอ่อนจะส่งผลดีต่อสภาพเศรษฐกิจ เพราะกระตุ้นการจ้างงานและการลงทุนเพิ่มมากขึ้น
เนื่องจากมีผลกระทบต่อธุรกิจการส่งออกและนำเข้า
ภาวะเงินเฟ้อเกิดจากสาเหตุหลักที่สำคัญ
3 ประการ คือ
1.
ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น
2.
อัตราค่าจ้างเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าผลิตภาพ (Productivity)
3.
ความต้องการซื้อหรืออำนาจซื้อ
(Purchasing power) มากกว่าความต้องการขาย
เมื่อเกิดภาวะเงินเฟ้อจะมีผลทางจิตวิทยาที่มีผลให้เกิดการจับจ่ายมากขึ้น
เพราะคาดคะเนว่าค่าเงินจะปรับตัวต่ำลง เมื่อการซื้อขายเพิ่มมากขึ้นระบบเศรษฐกิจจะมีความคล่องตัวดีขึ้น
รัฐบาลจึงต้องบริหารจัดการภาวะเงินเฟ้อไม่ให้สูงเกินไป (ไม่ควรเกินร้อยละ 5)
การวัดภาวะเงินเฟ้อสามารถวัดได้จากค่าดัชนีราคาการบริโภค
(Consumer price index: CPI) ที่คำนวณเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงราคาของสินค้าและบริการที่เป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญ
นโยบายทางเศรษฐกิจ (Economic policy)
นโยบายทางเศรษฐกิจของภาครัฐอาจส่งผลต่ออัตราดอกเบี้ย, อัตราการแลกเปลี่ยน
และอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งมีผลต่อการตัดสินใจการลงทุนและการบริโภคของประชาชน
ซึ่งบางครั้งอาจทำให้ชะลอการจับจ่ายเพราะคาดหวังว่าในอนาคตอันใกล้ระดับราคาจะลดต่ำลง
หรือในทางตรงกันข้าม
ประชาชนอาจเร่งการจับจ่ายเพราะมูลค่าเงินอาจจะลดต่ำลงหากไม่จับจ่ายในปัจจุบัน
เศรษฐกิจถือได้ว่าเป็นปัจจัยพื้นฐานอย่างหนึ่งสำหรับการสร้างความสงบสุขให้กับสังคม
เพราะสังคมต้องการความสะดวกสบายที่พึ่งพาและเชื่อว่าความสุขสามารถซื้อขายหามาได้ซึ่งสิ่งที่ต้องการ
หากสังคมได้รับการดูแลอย่างไม่ถูกต้องก็จะส่งผลเสียหายต่อความปลอดภัยของสังคม
สภาพเศรษฐกิจและการแข่งขันทางธุรกิจอาจทำให้เกิดการเรียกร้องค่าจ้างสูงขึ้น
หรือปรับเปลี่ยนงานเพื่อปรับเงินเดือนให้สูงขึ้น
ซึ่งมีผลต่อเนื่องต่อการบริหารและการพัฒนาองค์กรอย่างต่อเนื่อง
เศรษฐกิจอาจได้รับการขับเคลื่อนจากการขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติ,
ต้นทุนพลังงานที่สูงขึ้น,
การใช้พลังงานเพิ่มมากขึ้นจากอุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่างๆ, และส่งผลต่อค่าใช้จ่ายสำหรับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพิ่มสูงขึ้น
การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน,
โลหะ, แร่ธาตุ
หรือวัตถุดิบการผลิตจะส่งผลให้ต้นทุนสูงขึ้นทำให้กำไรขององค์กรลดต่ำลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
สมดุลการค้าเป็นการวัดมูลค่าการส่งออกเปรียบเทียบกับการนำเข้าภายในระยะเวลาหนึ่ง
แต่ละประเทศต่างต้องการให้มูลค่าการส่งออกมากกว่ามูลค่าการนำเข้า
เพื่อลดการสูญเสียเงินตราออกนอกประเทศและมีผลต่อสภาพคล่องภายในประเทศ
นโยบายการค้าเสรี (Free trade agreement)
นโยบายการค้าเสรีมีแนวคิดที่จะแต่ละประเทศผลิตสินค้าที่มีความรู้ความชำนาญด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่า
ซึ่งจะลดข้อกีดกันทางการค้าและอัตราภาษีศุลกากร
เขตการค้าเสรี
(Free trade area: FTA) มีการตกลงกันเป็นทวิภาคีหรือพาหุภาคี ลดกำแพงด้านภาษีทำให้ราคาของสินค้าต่ำลง
เช่น AFTA
(Asian free trade agreement), NAFTA (American free trade
agreement)
การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ
(Foreign direct investment: FDI) เป็นการลงทุนจากต่างชาติธุรกิจการผลิตหรือธุรกิจบริการ
ซึ่งก่อให้เกิดการจ้างงานที่มีส่วนช่วยสร้างรายได้และเสริมสร้างความเข้มแข่งทางเศรษฐกิจ
บริษัทข้ามชาติ (Multi national corporate:
MNC) เป็นบริษัทหรือองค์กรที่ทำการผลิต,
จำหน่ายสินค้าหรือบริการมากกว่า 2 ประเทศ
โดยคาดหวังผลประโยชน์ด้านต้นทุนแรงงานที่ต่ำกว่า, เทคโนโลยี, ทรัพยากรธรรมชาติ,
หรือตลาด เพื่อความได้เปรียบเชิงการแข่งขันและการประหยัดเนื่องจากขนาด
ซึ่งได้นำเงินมาลงทุนทำให้กระตุ้นและขยายตัวทางเศรษฐกิจ
และมีส่วนช่วยเหลือทางสังคม
สังคม (Society)
สังคม คือ กลุ่มคนที่อยู่รวมตัวกันอย่างสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันและมีรูปแบบการดำเนินชีวิต
หรือวัฒนธรรมประเพณีความเชื่อที่คล้ายคลึงกัน
ลักษณะของสังคมประกอบด้วยหลายหน่วยย่อยของกลุ่มคนหรือชุมชนที่มีบทบาทหน้าที่แตกต่างกันแต่สัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน
และมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง
ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์มีอิทธิพลต่อค่านิยม, ความเชื่อ, ประเพณี,
วัฒนธรรม, และการดำเนินชีวิตที่ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงสังคม การพัฒนาสังคมให้ก้าวหน้าอย่างยั่งยืนและเข้มแข็งจะต้องกำกับควบคุมปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ที่ประกอบด้วย
1.
โครงสร้างของประชากร
(Population structure) ประกอบด้วยฐานข้อมูลด้านเพศ และอายุในแต่ละช่วงวัยที่สามารถบ่งชี้จำนวนแรงงาน,
ฐานลูกค้าแต่ละช่วงวัย, รวมทั้งทิศทางหรือแนวโน้มของตลาดแรงงานและตลาดผู้บริโภค
2.
สถานภาพการแต่งงานหรือรูปแบบครอบครัว
ประกอบด้วยสถานภาพโสดหรือสมรส,
รูปแบบครอบครัวเดี่ยวหรือครอบครัวใหญ่จะบ่งชี้วิถีการดำเนินชีวิตและพฤติกรรมการบริโภค
เช่น การทานอาหารนอกบ้าน, ผับ, บาร์, การซื้อบ้านจัดสรรหรือคอนโดมิเนียม
3.
ระดับการศึกษา
ประกอบด้วยระดับวิชาชีพ, มัธยม, ปริญญาตรี, โท หรือเอก จะมีผลต่อวิถีการดำเนินชีวิต
4.
ระดับรายได้
เป็นตัวบ่งชี้พฤติกรรมการออมและการบริโภค
5.
ความหนาแน่นและการกระจายตัวของประชากร
เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดส่งสินค้า และรูปแบบการทำธุรกิจ
6.
อัตราการเกิด,
การตาย หรืออุบัติเหตุ เป็นปัจจัยสำคัญสำหรับอุตสาหกรรมเวชภัณฑ์ยา, อาหารเสริม หรือโรงพยาบาล
7.
การโยกย้ายถิ่นที่พัก
มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงงาน, ประเภทของงาน, ความหนาแน่นของประชากร
ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์จะมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการใช้จ่ายและการบริโภค
และมีผลต่อการตัดสินใจทางธุรกิจสำหรับการวางแผนการวิจัยและพัฒนา, การผลิต,
การลงทุน และการว่าจ้างงาน
การโฆษณาสามารถปรับเปลี่ยนรสนิยมหรือค่านิยมการบริโภค ที่ส่งผลกับการเรียนรู้ทางสังคมและการยอมรับวัฒนธรรมกระแสโลกเพิ่มขึ้น
ซึ่งมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการใช้จ่ายและรูปแบบการดำเนินธุรกิจ (อุตสาหกรรมการผลิต และการบริการ) เช่น การเลือกใช้สินค้าที่มีตราสินค้าที่เป็นที่รู้จักและราคาแพง,
การทานอาหารนอกบ้าน หรืออาหารจานด่วน (Fast food)
การนำเสนอสินค้าและบริการต้องศึกษาและวิเคราะห์ปัจจัยด้านวัฒนธรรม
หรือค่านิยมของแต่ละชุมชนที่มีผลกระทบต่อลักษณะทางสังคมและธุรกิจ
การวิเคราะห์ทางสังคมควรมองสภาพปัจจุบันและคาดการณ์ความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตจึงจะช่วยให้การดำเนินกลยุทธ์มีประสิทธิผล
ธุรกิจที่เข้มแข็งและระบบเศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพจะต้องได้รับแรงขับเคลื่อนจากการบริหารสังคมอย่างมีประสิทธิผล
ซึ่งปัจจัยขับเคลื่อนสังคมควรประกอบด้วย
1.
การบริหารชุมชนให้มีประสิทธิภาพ
2.
การจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมชุมชน
3.
การสร้างเสริมสุขภาพดีถ้วนหน้า
4.
การรักษาประเพณี
และวัฒนธรรมที่ดีงาม
5.
การสร้างสังคมที่มั่นคงและปลอดภัย
6.
การพัฒนาระบบเศรษฐกิจที่เข้มแข็ง
7.
การเรียนรู้อย่างต่อเนือง
การพัฒนาสังคมต้องเริ่มต้นที่หน่วยชุมชน
เมื่อบริหารและพัฒนาชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับเป้าหมายข้างต้น
จะสร้างสังคมที่มั่นคงและแข็งแรง
เมื่อสังคมมีเสถียรภาพจะทำให้ระบบเศรษฐกิจเข้มแข็งและเพิ่มอำนาจการบริโภคได้มากขึ้น
จริยธรรม (Ethics)
จริยธรรมหรือจรรยาบรรณ คือ หลักการหรือแนวทางการปฏิบัติตามหลักศีลธรรม (Moral)
หรือบรรทัดฐาน (Norm) ของการกระทำอันดีงาม
จริยธรรมทางธุรกิจ
(Business ethics) คือ
กฎหรือระเบียบที่ควรปฏิบัติของธุรกิจและลูกจ้าง
จริยธรรมทางวิชาชีพ (Professional
ethics) คือ
การประพฤติหรือปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับหลักการหรือแนวทางที่ได้รับการยอมรับว่าถูกต้องในแต่ละวิชาชีพ
ประเด็นด้านจริยธรรมหรือจรรยาบรรณควรได้รับการตรวจสอบจากรัฐบาล,
สาธารณชน, องค์กรอิสระ หรือภาคธุรกิจ การกำหนดกฎหมาย (Legal)
หรือสร้างค่านิยมทางศีลธรรมที่ดีงามจะเป็นกลไกการควบคุมและสร้างเสริมจริยธรรมที่มีประสิทธิผล
อย่างไรก็ตามการกำหนดหลักจริยธรรม (Codes of
ethics) เป็นเครื่องมือหนึ่งของการบริหารและควบคุมการประพฤติและการดำเนินงานของธุรกิจ
หลักจริยธรรม
คือ หลักการที่กำหนดเพื่อเป็นมาตรฐาน, กฎระเบียบ
หรือแนวทางการปฏิบัติขององค์กรและพนักงานขององค์กรนั้น การส่งเสริมจริยธรรมหรือจรรยาบรรณควรดำเนินการ
ดังนี้
1.
การตรวจสอบภายในเพื่อค้นหาปัญหาด้านจริยธรรม
2.
การกำหนดหลักจริยธรรม
3.
การฝึกอบรมเพื่อสร้างจิตสำนึก
4.
การจัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินจริยธรรม
5.
การให้รางวัลและการลงโทษ
พลเมืองและองค์กรธุรกิจต้องปฏิบัติตนให้สอดคล้องกับกฎหมายและวัฒนธรรมที่ดีงาม
ด้วยการชำระภาษี, ช่วยเหลือสังคม, บริจาคเพื่อการกุศล,
สนับสนุนองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไรที่สร้างสาธารณประโยชน์และรักษาสิ่งแวดล้อม
กล่าวโดยรวมคือต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคม
ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร
(Corporate social
responsibility: CSR)
ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร
คือ ความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรมเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ, สังคม
และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน รวมทั้งการพัฒนาคุณภาพชีวิตของพนักงาน, ชุมชน และสังคม
โดยคำนึงถึงผลกระทบของการดำเนินกิจกรรมที่จะส่งผลต่อลูกค้า, ลูกจ้าง, ชุมชน, รัฐบาล,
สิ่งแวดล้อม และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง (Stakeholder)
แนวคิดของความรับผิดชอบต่อสังคมของบรรษัทเพื่อช่วยเหลือและพัฒนาสังคม
ซึ่งสุดท้ายแล้วจะส่งผลสะท้อนกลับที่ทำให้องค์กรมีความยั่งยืน
เพราะสังคมที่เข็มแข็งที่มีกำลังซื้อมากขึ้น
มาตรฐาน ISO26000 คือ มาตรฐานที่ว่าด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม
ซึ่งประกอบด้วยหลักปฏิบัติที่สำคัญ 7 ประการ คือ
1.
ด้านสิ่งแวดล้อม
(Environment) ประกอบด้วยการลดและกำจัดมลพิษหรือของเสีย,
การลดปัญหาภาวะโลกร้อน,
การบริหารทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม,
การออกแบบผลิตภัณฑ์และเลือกใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม,
การจัดตั้งศูนย์ข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม
2.
ด้านสิทธิมนุษยชน
(Human rights) ประกอบด้วยการบริหารและดำเนินกิจกรรมโดยคำนึงถึงสิทธิมนุษยชน
เช่น ไม่ใช้แรงงานเด็ก, ไม่กดขี่ด้านแรงงาน เป็นต้น
3.
ด้านการปฏิบัติต่อแรงงาน
(Labor practices) ประกอบด้วยการปรับปรุงคุณภาพของสภาพแวดล้อมการทำงาน,
การให้ความสำคัญกับพนักงานอย่างเท่าเทียมกัน,
ความห่วงใยต่อสุขอนามัยและมาตรฐานความปลอดภัยในการทำงานของพนักงาน,
การสร้างสมดุลของงานและครอบครัว, การส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต,
การบริหารภาวะวิกฤตโดยไม่ลดหรือเลิกจ้างพนักงาน
4.
ด้านการบริหารควบคุมองค์กร
(Organisational governance) ประกอบด้วยการประกอบธุรกิจและการตัดสินใจอย่างมีจรรยาบรรณ,
การปฏิบัติตามกฎหมาย, การมีส่วนร่วมต่อความรับผิดชอบต่อชุมชน,
การบริหารงานด้วยความโปร่งใสและสุจริต, การพัฒนาที่มุ่งเน้นความยั่งยืน
5.
ด้านการดำเนินงานอย่างยุติธรรม
(Fair operating practice) ประกอบด้วยการดำเนินงานอย่างมีคุณธรรม,
การชำระภาษีถูกต้องตามกฎหมาย, การแข่งขันเสรีและไม่แทรกแซงตลาด,
การให้ความสำคัญกับสิทธิทางปัญญา, การต่อต้านการฉ้อฉลโกงกิน
6.
ด้านผู้บริโภค (Consumer issues) ประกอบด้วยการให้ข้อมูลข่าวสารกับลูกค้าอย่างเพียงพอ,
การคำนึงถึงความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์, การคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค
7.
ด้านพัฒนาชุมชน
(Community involvement /
social development) ประกอบด้วยการพัฒนาและช่วยเหลือชุมชน,
การสนับสนุนกองทุนและบริจาคเงินเพื่อกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ของสังคม,
การจ้างแรงงานของชุมชน, การสร้างสวนสุขภาพ, สร้างปรับปรุงทัศนียภาพของชุมชน,
การเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางสังคม, การสร้างความเท่าเทียมกันทางสังคม
สิ่งแวดล้อม (Environment)
ธุรกิจกำลังเผชิญหน้ากับความคาดหวังของความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม โดยการใช้ทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพสูงสุดและการบริหารการจัดการสารเคมี
เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมดังต่อไปนี้
1.
ภาวะโลกร้อน เกิดจากการปล่อยสารคาร์บอนไดออกไซด์
(CO2), มีเทน (CH4), ฮาโลคาร์บอน (เช่น CFC,
Freon, ฮาลอน) หรือไนตรัสออกไซด์ (N2O)
ขึ้นไปสู่ชั้นบรรยากาศ
มาตรการดำเนินการ เช่น การควบคุมและจัดเก็บสารเคมีที่มีผลกระทบต่อภาวะเรือนกระจก
(Greenhouse effect), การกำหนดจุดปล่อยและการตรวจวัดของเสีย,
การกำหนดเอกสารข้อมูลความปลอดภัยของสารเคมี (Material safety data sheet:
MSDS)
2.
อากาศเป็นพิษ เกิดจากการปล่อยส่วนประกอบของเสียซึ่งทำให้เกิดมลภาวะเป็นพิษ
มาตรการดำเนินการ เช่น การบริหารกระบวนการที่ปล่อยของเสียทางอากาศ
(รวมทั้งระบบการขนส่งของท่อไอเสีย), การปฏิบัติตามมาตรฐานหรือกฎหมาย,
การกำหนดจุดปล่อยและการตรวจวัดของเสีย, การติดตั้งระบบควบการปล่อยของเสีย, การกำหนดเอกสารข้อมูลความปลอดภัยของสารเคมี
(Material safety data sheet: MSDS)
3.
การปนเปื้อนของสารเคมี
เกิดจากการปล่อยของเสียที่เป็นพิษลงสู่พื้นดินหรือแหล่งน้ำ
มาตรการดำเนินการ
เช่น การจัดเก็บสารเคมีอันตราย, การกำหนดระบบการตรวจสอบสารเคมี, การปฏิบัติตามมาตรฐานหรือกฎหมาย,
การกำหนดจุดปล่อยและการตรวจวัดของเสีย, การติดตั้งระบบควบการปล่อยของเสีย, การกำหนดเอกสารข้อมูลความปลอดภัยของสารเคมี
(Material safety data sheet: MSDS), การกำหนดแผนฉุกเฉินกรณีการรั่วไหล,
4.
ปริมาณขยะหรือของเสีย
มาตรการดำเนินการ
เช่น การแบ่งแยกประเภทขยะ, การควบคุมปริมาณขยะ, การกำหนดพื้นที่และวิธีการกำจัดขยะ,
การดำเนินการกลยุทธ์ 3R (Reduce, recycle, reuse)
5.
มลภาวะทางเสียง
เกิดจากการทำงานของเครื่องจักร, การขนส่ง, และอื่นๆ
มาตรการดำเนินการ เช่น การบริหารกระบวนการที่ก่อให้เกิดเสียงหรือการสั่นสะเทือน,
การตรวจวัดและควบคุมระดับเสียงในพื้นที่ทำงาน, การปฏิบัติตามมาตรฐานหรือกฎหมาย
6.
การทำลายระบบนิเวศน์
เกิดจากก่อสร้าง, การบุกรุกพื้นที่ทางธรรมชาติ
มาตรการดำเนินการ เช่น การกำหนดพื้นที่ควบคุม (พื้นที่อุตสาหกรรม,
การเกษตร, หรือพื้นที่ป่าสงวน), การพัฒนาและปรับปรุงพื้นที่ให้มีประสิทธิผล, การปฏิบัติตามมาตรฐานหรือกฎหมาย,
การบริหารระบบนิเวศน์ให้เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่
ระบบการบริหารสิ่งแวดล้อม (Environmental
management system)
เป็นระบบบริหารองค์กรที่สัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ด้วยการดำเนินกิจกรรมที่ได้รับการพัฒนามาตรฐานการบริหารอย่างเป็นระบบทั้งกระบวนการตั้งแต่การนำเข้าปัจจัยการผลิต,
การผลิต, การส่งมอบ, การจัดจำหน่าย, การใช้งาน และการกำจัดซากของเสีย
รวมทั้งผลิตภัณฑ์และการบริหารที่มิตรกับสิ่งแวดล้อม
ปัจจัยที่มีอิทธิผลต่อการบริหารสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย
1.
กฎหมายด้านสิ่งแวดล้อม
คือ พรบ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ 2535
2.
กลไกการตลาด
การตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมที่เพิ่มสูงขึ้นเพราะความผันผวนเปลี่ยนแปลงของโลก ผู้บริโภคจึงคาดหวังผู้ผลิตสินค้าและบริการได้ให้ความใส่ใจกับระบบจัดการสิ่งแวดล้อม
ซึ่งทำให้มาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (ISO14001) ได้รับความสนใจและนำไปดำเนินการมากขึ้น
ขั้นตอนการบริหารสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
(ISO14001)
ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมเป็นมาตรฐานที่ใช้ในการพัฒนาและดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อม
(Environmental management
system: EMS ) ให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งประกอบด้วย
1.
การกำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อม
(Environmental policy) นโยบายสิ่งแวดล้อมก็เหมือนนโยบายการบริหารที่กำหนดหรือได้รับการอนุมัติจากผู้บริหารระดับสูง
นโยบายจะช่วยให้การปฏิบัติงานหรือการตัดสินใจเป็นระบบสอดคล้องถูกต้องกับกฎหมายและมาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
ขั้นตอนนี้ต้องแต่งตั้งตัวแทนฝ่ายบริหารด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental management representative: EMR) และกำหนดวัตถุประสงค์การดำเนินกิจกรรมเพื่อให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง
การกำหนดนโยบายควรให้ความสำคัญกับความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม
และระบบนิเวศน์, การลดการปล่อยสารที่มีผลกระทบต่อภาวะเรือนกระจก, การดำเนินกิจกรรม
3R (Reduce,
recycle, reuse), การใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด,
การจัดซื้อจัดหาวัตถุดิบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
2.
การวางแผน
(Planning) ควรเริ่มต้นด้วยการกำหนดโครงสร้างองค์กรซึ่งควรจัดโครงสร้างแบบทีม
(Team organisation structure หรือ Cross functional team)
ที่ควรครอบคลุมทุกหน่วยงานขององค์กร,
การบ่งชี้กิจกรรมที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือเป็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม,
การกำหนดแผนกงานให้สอดคล้องกับกฎหมายและข้อกำหนด และกำหนดดัชนีชี้วัดที่ใช้บริหารและควบคุมการดำเนินการ
3.
การดำเนินการ
(Implementation and operation) ประกอบด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม,
การวิเคราะห์ข้อมูล, การกำหนดมาตรฐาน, การจัดทำและควบคุมเอกสาร การสื่อสารประชาสัมพันธ์ให้ทั่วถึงเพื่อสร้างจิตสำนึกต่อสิ่งแวดล้อม,
การฝึกอบรม และกำหนดแผนการดำเนินการฉุกเฉิน เช่น การรั่วไหลของสารเคมีหรือน้ำมัน
4.
การตรวจสอบและแก้ไข
(Checking and corrective
action) คือ
กระบวนการตรวจสอบภายในเพื่อปรับปรุงแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่ต้องดำเนินการเป็นประจำ
ประกอบด้วยการตรวจสอบการดำเนินการให้สอดคล้องและบรรลุผลตามเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งต้องศึกษา,
วิเคราะห์ และสรุปแนวทางการปฏิบัติงานเพื่อขอรับอนุมัติงบประมาณ
และการดำเนินงานที่แต่ละกิจกรรมต้องส่งผลสำเร็จตามดัชนีชี้วัดที่กำหนดไว้
5.
การทบทวนการบริหาร (Management
review) เพื่อให้ผลการดำเนินงานสอดคล้องกับข้อกำหนดของระบบ
ISO 14001 การทบทวนต้องกำหนดการประชุมเพื่อนำเสนอปัญหาและแนวทางการปรับปรุงต่อผู้บริหารระดับสูงเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ
การส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
การส่งเสริมสิ่งแวดล้อมที่ดีต้องศึกษาและวิเคราะห์ตั้งแต่กระบวนการออกแบบ
เพื่อให้ผลิตภัณฑ์เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Eco-design) และประเมินวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (Life cycle assessment: LCA) การออกแบบและเลือกใช้วัสดุต้องทำลายได้ง่าย,
ไม่มีผลกระทบที่ร้ายแรงกับสิ่งแวดล้อม, ช่วยประหยัดพลังงาน และสามารถทำลายทิ้งได้ง่ายเมื่อสิ้นสุดอายุการใช้งาน
กิจกรรมเพิ่มเติมเพื่อส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เช่น
การวิเคราะห์ปริมาณของเสียและประเมินต้นทุนที่เกิดขึ้นของแต่ละกระบวนการ,
การปรับปรุงกระบวนการเพื่อลดการผลิตของเสีย,
การดำเนินโครงการควรทำการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (Environmental impact assessment: EIA) สำหรับการบริหารของเสียจากกระบวนการควรตระหนักถึงกิจกรรม
3R ซึ่งประกอบด้วย
1.
การลดน้อยลง
(Reduce) เช่น การลดจำนวนชิ้นส่วนวัสดุที่ใช้,
การลดปริมาณหรือขนาดของผลิตภัณฑ์, การกำหนดมาตรฐานการใช้วัตถุดิบให้น้อยที่สุด
2.
การนำไปแปลงสภาพเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่
(Recycle) เช่น
กระดาษที่ใช้แล้วนำไปย่อยและนำมาผลิตเป็นกระดาษอีกครั้ง, ชิ้นงานพลาสติกที่ขึ้นรูปงานที่ไม่สมบูรณ์ (Short Shot) นำไปตัดย่อยแล้วมาใช้ใหม่ได้อีกครั้ง
3.
การนำกลับมาใช้อีกครั้ง (Reuse) เช่น ซองเอกสารที่นำมากลับมาใช้หมุนเวียนเอกสารภายในองค์กรแทนการทิ้งแล้วนำซองใหม่มาใช้
กลยุทธ์การปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น
ควรปฏิบัติดังต่อไปนี้
1.
สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
2.
พัฒนาและปรับปรุงกิจกรรมการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง
3.
ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจด้านสิ่งแวดล้อมให้ทั่งทั้งองค์กรและชุมชน
4.
พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่ดีกว่าผลิตภัณฑ์รุ่นเดิม
5.
ยกเลิกธุรกิจหรือกระบวนการผลิตที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
เทคโนโลยี (Technology)
เทคโนโลยีเป็นการแต่งเติมสีสันให้กับสินค้าและบริการมีความน่าสนใจมากขึ้น
และส่งผลให้ระดับราคาต่ำลง แต่มีคุณภาพหรืออัตถประโยชน์สูงขึ้น
เทคโนโลยี
คือ การประยุกต์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์อย่างเป็นระบบสำหรับการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ให้กับผลิตภัณฑ์,
กระบวนการ หรือการบริการ และเป็นองค์ความรู้เพื่อการตัดสินใจ (Know-how) มีทั้งที่เป็นด้านวัตถุ เช่น
เครื่องจักร, เครื่องมือ, อุปกรณ์ เป็นต้น และเทคนิคหรือแนวคิดเพื่อก่อให้เกิดความเชี่ยวชาญ,
ถูกต้อง, รวดเร็ว และสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า
เทคโนโลยี
ที่สัมพันธ์กับกระบวนการผลิต สามารถแบ่งได้เป็น 3 ส่วน คือ
1.
เทคโนโลยีสำหรับผลิตภัณฑ์
(Product technology) เป็นการพัฒนาและแปรความต้องการของลูกค้าและความคิดสร้างสรรค์
เพื่อตอบสนองความคาดหวังของลูกค้าให้เป็นผลิตภัณฑ์
ซึ่งหน่วยงานวิจัยการตลาดและวิศวกรรมการออกแบบจะเป็นผู้นำเสนอรูปแบบ,
จุดเด่นของผลิตภัณฑ์ทั้งด้านการใช้งาน, การติดตั้ง และการซ่อมบำรุง
แล้วประสานความร่วมมือกับหน่วยงานการผลิตเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิต
และความสามารถของกระบวนการในการทำให้เกิดประสิทธิภาพในการผลิต ซึ่งเครื่องมือสำหรับการปรับปรุงผลิตภัณฑ์
คือ การวิจัยและพัฒนา (Research and development:
R&D), ระบบการออกแบบผลิตภัณฑ์ด้วยคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
2.
เทคโนโลยีสำหรับกระบวนการ
(Process technology) เป็นการพัฒนารูปแบบการขนย้ายหรือการไหลของวัตถุดิบ,
ชิ้นส่วน, ผลิตภัณฑ์ หรือข้อมูลตั้งแต่กระบวนการจัดซื้อจากผู้ผลิต, การผลิต,
การจัดส่งสินค้าให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งแต่ละกระบวนจะสัมพันธ์และต้องประสานงานกันอย่างดีเพื่อตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้า
เทคโนโลยีสำหรับกระบวนการผลิต
เช่น CNC (Computer numerical
controlled) machine, GT (Group technology), AGV (Automated guided vehicle),
ASRS (Automated storage and retrieval system) เป็นต้น
กระบวนการจัดซื้อ
ต้องการเทคโนโลยีเกี่ยวกับระบบการขนส่ง, ระบบการขนย้าย, การจัดเก็บและจ่ายวัสดุ,
ระบบการตรวจสอบคุณภาพและปริมาณ, ระบบข้อมูล, ระบบการสื่อสาร หรือระบบ EDI สำหรับกระบวนการผลิต
ต้องการเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัย เช่น ระบบ CIM, FMS, CAD/CAM, ระบบการตรวจสอบคุณภาพและปริมาณ, ระบบข้อมูล, ระบบการสื่อสาร เป็นต้น
และสำหรับการจัดส่งสินค้า ต้องการเทคโนโลยีเกี่ยวกับระบบการบรรจุหีบห่อ,
ระบบการจัดเก็บและจ่ายสินค้า, ระบบการควบคุมสินค้าคงคลังด้วยบาร์โค้ด,
ระบบการขนย้าย, ระบบการขนส่ง, ระบบการสื่อสาร หรือระบบ EDI
หน่วยงานการตลาด ที่เป็นกลไกสำหรับตอบสนองความต้องการสินค้าของลูกค้า
ก็ต้องการเทคโนโลยีการทำสื่อโฆษณาและประชาสัมพันธ์ที่เข้าถึงกลุ่มลูกค้า,
ระบบการตลาด, ระบบ E-commerce, ระบบข้อมูล
หรือระบบการสื่อสาร
3.
เทคโนโลยีสำหรับข้อมูล
(Information technology) เป็นการพัฒนาระบบการจัดเก็บ, การใช้
และการแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการตัดสินใจอย่างถูกต้องและรวดเร็ว
ดังนั้นระบบข้อมูลควรครอบคลุมทุกหน่วยงานของธุรกิจ ซึ่งประกอบด้วยระบบการคอมพิวเตอร์
(Hardware), โปรแกรมฐานข้อมูล (Software), ระบบฐานข้อมูล (Database) และระบบสื่อสารทางไกล (Telecommunication) เช่น โทรศัพท์,
อินเตอรเน็ต, อินทราเน็ต (Intranet) เป็นต้น
การบริหารเทคโนโลยี (Management of technology)
การบริหารเทคโนโลยี คือ การจำแนก, วิเคราะห์ และเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับแต่ละหน่วยงานของธุรกิจ
ดังนั้น ผู้บริหารจึงควรให้ความสำคัญเกี่ยวกับเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง
เพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับธุรกิจ
ซึ่งถือได้ว่าเป็นกลยุทธ์หนึ่งของการสร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขัน
การผลิตแบบผนึกรวบด้วยระบบคอมพิวเตอร์ (Computer-integrated manufacturing: CIM)
การผลิตแบบผนึกรวบด้วยระบบคอมพิวเตอร์ คือ
ระบบการผลิตที่ใช้คอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูงเพื่อสนับสนุนกระบวนการตั้งแต่รับคำสั่งซื้อลูกค้า,
การออกแบบผลิตภัณฑ์และวิศวกรรม, การจัดวางขั้นตอนการผลิต, การวางแผนการผลิต,
การจัดสรรทรัพยากรสำหรับแต่ละกระบวนการ, การควบคุมวัสดุคงคลัง,
และการจัดส่งสินค้าให้กับลูกค้า
โดยที่ระบบคอมพิวเตอร์จะถูกจัดเรียงไว้ตามหน่วยงานและสถานีงาน
ซึ่งช่วยลดความผิดพลาดในการทำงานแต่ละกระบวนการ
อย่างไรก็ตามการลงทุนกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง จึงเหมาะสำหรับประเทศที่มีค่าแรงสูง
จุดเด่นของการผลิตแบบผนึกรวบด้วยคอมพิวเตอร์
ประกอบด้วย
1.
การเพิ่มผลิตภาพ
(Productivity)
2.
การปรับปรุงคุณภาพ
3.
การลดต้นทุนและความยุ่งยากของการใช้เอกสารกระดาษ
4.
ความสะดวกต่อการปรับเปลี่ยนแผนหรือเงื่อนไขการผลิต
5.
ความรวดเร็วในการตอบสนองความต้องการของลูกค้า
6.
เสริมสร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขัน
การออกแบบผลิตภัณฑ์และการผลิตด้วยระบบคอมพิวเตอร์
(Computer-aided design and Computer aided
manufacturing: CAD/CAM)
เป็นเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์
เพื่อช่วยในการออกแบบผลิตภัณฑ์และสนับสนุนการผลิตให้มีประสิทธิภาพ,
ลดความผิดพลาดของคนทำงาน (Human error), ลดระยะเวลาของการออกแบบและการผลิต,
เพิ่มความรวดเร็วในการตอบสนองความต้องการของลูกค้า, ลดต้นทุนการออกแบบโดยเฉพาะการใช้กระดาษและการทำต้นแบบ
(Prototype)
การออกแบบผลิตภัณฑ์ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ (Computer-aided design: CAD)
การออกแบบผลิตภัณฑ์ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ คือ
การออกแบบชิ้นส่วนหรือผลิตภัณฑ์ด้วยคอมพิวเตอร์ ทดแทนการร่างแบบด้วยมือ
ดังนั้นเครื่องคอมพิวเตอร์ต้องมีประสิทธิภาพสูงและมีโปรแกรมการออกแบบที่ดี
เพื่อช่วยให้การออกแบบสามารถทำได้อย่างละเอียดทั้งความกว้าง, ความสูง, ความยาว
หรือมุมองศา ซึ่งบางโปรแกรมสามารถช่วยคำนวณค่าทางวิศวกรรม เช่น ค่าความเครียด (Stress),
ค่าความแข็งของวัสดุ (Hardness) เป็นต้น
การผลิตด้วยระบบคอมพิวเตอร์ (Computer-aided manufacturing: CAM)
การผลิตด้วยระบบคอมพิวเตอร์ คือ
การออกแบบกระบวนการผลิต, กระบวนการลำเลียงวัตถุดิบด้วยระบบอัตโนมัติ
และควบคุมการทำงานของเครื่องจักรด้วยคอมพิวเตอร์และโปรแกรม ซึ่งระบบ CAM นี้ถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของระบบ CIM
เครื่องจักรที่ควบคุมลำดับการทำงานด้วยคอมพิวเตอร์
(Computerized numerically controlled
machine: CNC machine)
เครื่องจักรที่ควบคุมลำดับการทำงานด้วยคอมพิวเตอร์ คือ
เครื่องจักรที่ถูกควบคุมการทำงานตามลำดับขั้นตอนด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งทำให้สามารถผลิตชิ้นส่วนงานได้มาตรฐานเดียวกัน
เช่น เครื่องจักรสำหรับการตัด, ดัดงอ และบานท่อทอแดง
เพื่อใช้สำหรับเชื่อมเข้ากับแผงแลกเปลี่ยนความร้อนของเครื่องทำความเย็น เป็นต้น
ระบบแขนกล (Robot)
ระบบแขนกล ถือได้ว่าเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยลดการใช้แรงงาน ซึ่งเหมาะสำหรับการยกของหนัก,
งานที่มีความเสี่ยง, งานที่สามารถเกิดความผิดพลาดหรือเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย,
หรืองานที่ต้องการความแม่นยำในการผลิต เช่น แขนกลสำหรับการบรรจุสินค้าเข้าตู้,
แขนกลสำหรับงานเชื่อม, แขนกลสำหรับการผสมสารเคมี เป็นต้น
การเจริญเติบโตของอินเตอร์เน็ตมีผลต่อพฤติกรรมการสั่งซื้อสินค้า
เทคโนโลยีมีผลต่อกระบวนการผลิต,
คุณลักษณะของสินค้า และการกระจายสินค้า
การสนับสนุนของภาครัฐต่อการวิจัยและพัฒนา
(Research and development) จึงเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญ
ซึ่งต้องได้รับความร่วมมือจากภาคอุตสาหกรรม และหากได้รับการถ่ายทอดจากต่างประเทศจะเร่งให้การพัฒนาก้าวกระโดดได้อย่างรวดเร็ว
แต่อาจทำให้เกิดความล่าหลังของเทคโนโลยีได้เร็วขึ้น
เทคโนโลยีถือได้ว่าเป็นกลไกที่สำคัญสำหรับการช่วงชิงความได้เปรียบทางการแข่งขัน
เพราะมีผลกระทบต่อปัจจัยนำเข้าทั้งวัตถุดิบ, เครื่องจักร และวิธีการปฏิบัติงาน
การนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่
ที่มีกระบวนการผลิตที่ทันสมัยหรือการคิดค้นนวัตกรรมที่แปลกแตกต่างจากประสบการณ์เดิม
ทำให้สามารถสร้างสรรค์ตลาดเพิ่มมากขึ้น
ดังนั้นการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์จึงเป็นปัจจัยที่สำคัญสำหรับการพัฒนาประเทศ
การวิเคราะห์แนวโน้มของเทคโนโลยีจึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญสำหรับการบริหารองค์กร
เพื่อให้องค์กรสามารถนำเสนอกลยุทธ์ที่สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า
และตอบสนองความพึงพอใจได้อย่างต่อเนื่อง
เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information technology: IT)
เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นการสื่อสารข้อมูลที่ต้องครอบคลุมทุกกิจกรรมของธุรกิจ
ประกอบด้วย วิสัยทัศน์, พันธกิจ, การบริหาร, ปัจจัยนำเข้า, กระบวนการ, ผลผลิต,
ผลลัพธ์, การปรับปรุง, การประเมินผล, และภาวะแวดล้อมทางธุรกิจ
สารสนเทศ (Information) จะช่วยให้กระบวนการตัดสินใจได้ถูกต้องและรวดเร็ว
สารสนเทศที่ดีจึงควรประกอบด้วยความน่าเชื่อถือ, ความถูกต้อง, ความกระชับ, การกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน,
ความสะดวกและง่ายต่อการทำความเข้าใจ, สามารถนำไปเปรียบเทียบหรืออ้างอิงได้, การปรับปรุงและแก้ไขอย่างต่อเนื่อง,
การเข้าถึงสารสนเทศได้ง่าย, ระบบสารสนเทศต้องสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับแต่ละกิจกรรมที่ถูกต้องตามกฎหมาย
และมีจรรยาบรรณ สามารถสรุปเป็นสมการสารสนเทศได้ดังนี้
สารสนเทศ
= ข้อมูล + ความสัมพันธ์เกี่ยวข้อง + เป้าหมาย
ข้อมูล (Data) ประกอบด้วยข้อมูลภายในและภายนอกที่ได้จากการเก็บรวบรวมเพื่อนำไปทำการวิเคราะห์
และจัดเป็นหมวดหมู่ทั้งข้อมูลที่เป็นทางการ (Formal) และไม่เป็นทางการ
(Informal) ข้อมูลเหล่านี้ต้องได้รับการปรับปรุงให้ทันต่อสถานการณ์อย่างสม่ำเสมอ
ความสัมพันธ์เกี่ยวข้อง (Relevance) ประกอบด้วยการนำสารสนเทศไปใช้ของแต่ละหน่วยงานที่ควรง่ายต่อการเข้าถึงเพื่อใช้เปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงหรือการปรับปรุง,
ข้อมูลต้องได้มาอย่างถูกต้องตามกฎหมายและมีจรรยาบรรณ
เป้าหมาย (Purpose) การเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลต้องกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน
เพื่อให้ง่ายต่อการค้นหาแหล่งข้อมูลและการนำไปใช้งานต่อไป
ความรู้
(Understanding) คือ ความเข้าใจเกี่ยวกับประเด็น, สถานการณ์,
ระบบ, หรือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
และสามารถนำไปใช้เพื่อให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการได้ ระดับของความรู้สามารถแบ่งย่อยได้เป็นความรู้ด้านทฤษฎี,
ความรู้เชิงปฏิบัติ, ความรู้เชิงเหตุผล และความรู้เชิงสร้างสรรค์
ความรู้จะเกิดขึ้นเมื่อสารสนเทศได้รับการศึกษาและทำความเข้าใจในรายละเอียด ซึ่งสามารถสรุปเป็นสมการความรู้ได้ดังนี้
ความรู้
= สารสนเทศ + ความเข้าใจ
ความเข้าใจ (Insight) คือ กระบวนการเรียนรู้เพื่อทำความเข้าใจกับสารสนเทศอย่างถ่องแท้และเข้าถึงรายละเอียด
ซึ่งทำให้สามารถเข้าใจและวิเคราะห์ปัญหา, สถานการณ์, ระบบ
หรือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้
ความฉลาด (Intelligence) คือ ความสามารถในการตัดสินใจอย่างมีเหตุผลที่ได้รับจากการเรียนรู้หรือประสบการณ์และก่อให้เกิดการปรับตัว
จะเกิดขึ้นจากการประสานรวมของความรู้และการสื่อสาร ซึ่งสามารถสรุปเป็นสมการความฉลาดได้ดังนี้
ความฉลาด
= ความรู้ + การสื่อสาร
การสื่อสาร (Communication) คือ
การกระทำที่สื่อความรู้ระหว่างบุคคลที่อาจจะอยู่ในสถานที่เดียวกันหรือต่างสถานที่
เพื่อรับรู้ความรู้ที่ต้องการสื่อสาร ซึ่งวิธีการสื่อสาร ประกอบด้วยการพูดคุย,
การเขียน, การส่งสัญญาณ, หรือการสื่อทางรูปภาพ
ประสิทธิผล (Effectiveness) คือ การปฏิบัติงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
ประสิทธิผลจึงเกิดจากการนำความฉลาดไปปฏิบัติเพื่อให้เกิดผลลัพธ์
ซึ่งสามารถสรุปเป็นสมการประสิทธิผลได้ดังนี้
ประสิทธิผล = ความฉลาด + การปฏิบัติ
การปฏิบัติ (Action) คือ
การนำสิ่งที่ตัดสินใจไปดำเนินการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้
ซึ่งการปฏิบัติงานจะมีประสิทธิผลที่ดีต้องนำความฉลาดนั้นแยกย่อยเป็นแต่ละหัวข้อและวางแผนงาน
ที่ต้องกำหนดผู้รับผิดชอบและระยะเวลาดำเนินการที่ชัดเจน
ระบบสารสนเทศ (Information system)
ระบบสารสนเทศ คือ ระบบที่ประกอบด้วยบุคลากร (Peopleware), ทรัพยากร (Hardware) และกระบวนการ (Software) ที่แปรเปลี่ยนข้อมูลที่เก็บรวบรวมเป็นสารสนเทศที่สามารถนำใช้ภายในองค์กร
สำหรับขั้นตอนการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพภายในระยะเวลาที่จำกัด
ระบบสารสนเทศจึงถือได้ว่าเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่ผลักดันความสำเร็จขององค์กร
เป้าหมายหลักของระบบสารสนเทศ คือ การเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน,
การสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าอย่างต่อเนื่อง และการเพิ่มขึ้นของผลกำไรขององค์กร
เครื่องมือที่สนับสนุนระบบสารสนเทศที่สำคัญประกอบด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์,
การประชุมทางไกล, จดหมายอิเลคทรอนิค (E-mail)
หรือเครือข่ายระหว่างประเทศ (Internet)
การบริหารระบบสารสนเทศเป็นกระบวนการเชื่อมโยงข้อมูลของปัจจัยนำเข้า, ผลผลิตและผลลัพธ์
และภาวะแวดล้อมภายนอก ที่มีผลสะท้อนของกระบวนการบริหารเพื่อนำไปใช้เป็นปัจจัยนำเข้าและปรับปรุงกระบวนการภายในองค์กรให้มีประสิทธิภาพ
ที่เชื่อมโยงข้อมูลของทุกหน่วยงานที่จะผลักดันผลผลิตและผลลัพธ์ได้ตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้
ฉันมาที่นี่เพื่อแบ่งปันโอกาสในการเปลี่ยนแปลงชีวิตที่น่าทึ่งกับพวกคุณทุกคน แพลตฟอร์มการซื้อขายของ Jose เป็นแพลตฟอร์มการลงทุนที่ลงทะเบียนและของแท้ ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้คุณมากถึง 7,570 ยูโรในหนึ่งสัปดาห์จากการลงทุนเริ่มต้นเพียง 700 ยูโร ฉันกำลังพิสูจน์ให้เห็นถึงโอกาสการลงทุนที่ยอดเยี่ยมนี้ สนใจลงทุนและอยากมีรายได้ประจำสัปดาห์? ติดต่อ Jose ผ่าน whats-app: +12012937434 หรืออีเมล: Josegonzales87958@gmail.com เพื่อเริ่มต้น...
ตอบลบ