วันอาทิตย์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2560

3. Process [2/3]


2. การศึกษาความสามารถของกระบวนการ (Process capability)

            การควบคุมกระบวนการเชิงสถิติ (Statistical process control: SPC) เป็นเครื่องมือสำหรับควบคุมการกระจายตัวของกระบวนการ เมื่อไม่มีการเปลี่ยนแปลงค่าเฉลี่ยและค่าความแปรปรวน หรือกระบวนการที่อยู่ภายในการควบคุมทางสถิติอาจไม่สามารถผลิตสินค้าได้ตามข้อกำหนดของการออกแบบ (Design specification) เนื่องจากค่าควบคุม (เส้นควบคุมบนและล่าง: UCL และ LCL) ได้จากการคำนวณค่าเฉลี่ยและความแปรปรวนจากการกระจายตัวของตัวอย่าง (Sampling distribution) ของกระบวนการและข้อกำหนดของการออกแบบไม่สอดคล้องกัน หากต้องการศึกษาค่าความสามารถของกระบวนการที่แท้จริงเพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดที่ได้ออกแบบไว้ ต้องวิเคราะห์อัตราส่วนความสามารถของกระบวนการ (Process capability ratio: CP) และดัชนีวัดความสามารถของกระบวนการ (Process capability index: Cpk)

            ข้อกำหนดของการออกแบบควรกำหนดค่าเป้าหมาย (Target) และค่าเผื่อ (Tolerance) ที่ยอมรับได้ทั้งด้านบนและด้านล่างของค่าเป้าหมายของกระบวนการ
            จากรูปที่ 17 จะพบว่า หากการกระจายตัวของกระบวนการอยู่ภายในเส้นควบคุมบนและล่าง แสดงว่ากระบวนการมีความสามารถในการผลิตได้ตามข้อกำหนด ซึ่งค่า Cp > 1 แต่หากการกระจายตัวของกระบวนการออกนอกเส้นควบคุมบนและล่าง แสดงว่ากระบวนการไม่มีความสามารถผลิตได้ตามข้อกำหนด ซึ่งค่า Cp < 1 โดยปกติแล้วจะกำหนดค่าเส้นควบคุมบนและล่างเป็นค่า ±3s ซึ่งมีค่าความกว้างเป็น 6s
            การบริหารกระบวนการที่มีค่าความแปรปรวนของค่าเฉลี่ยมาก แสดงถึงการยอมรับของเสียได้มากกว่าการบริหารที่มีค่าความแปรปรวนของค่าเฉลี่ยที่น้อยกว่า ซึ่งจะบ่งชี้ได้ด้วยค่า s แต่หากจำนวนของ s มาก จะแสดงว่าการยอมรับของเสียได้น้อยลง หมายถึงการควบคุมกระบวนการดียิ่งขึ้น นั่นคือ 6s (0.02 ppm) จะยอมรับของเสียได้น้อยกว่า 4s (63 ppm) และน้อยกว่า 2s (45,600 ppm) ดังรูปที่ 18
 
อัตราความสามารถของกระบวนการ (Process capability ratio: CP)
            อัตราความสามารถของกระบวนการ หรือเรียกว่าดัชนีแสดงศักยภาพของกระบวนการ (Process potential index) เป็นการแสดงให้เห็นถึงลักษณะการกระจายของข้อมูลของกระบวนการผลิตภายใต้ค่ามาตรฐาน (Specification level) ที่กำหนดไว้ ซึ่งปกติแล้วการกระจายตัวของข้อมูลจะเป็นรูประฆังคว่ำ (Bell-shaped distribution หรือ normal curve distribution) เนื่องจากข้อมูลที่เก็บค่านั้นส่วนใหญ่ควรจะอยู่ใกล้กับค่าเฉลี่ย และมีเพียงข้อมูลบางส่วนที่หลุดออกจากค่ามาตรฐาน หากค่าที่วัดได้มีการกระจายออกจากค่ามาตรฐานแสดงว่ากระบวนการผลิตไม่สามารถผลิตชิ้นงานได้ตามข้อกำหนดของการออกแบบ (การกระจายตัวของข้อมูลมาก ค่า CP จะน้อย) จำเป็นต้องปรับปรุงกระบวนการผลิตหรือปรับตั้งค่ามาตรฐานใหม่ นอกจากนี้ควรให้การฝึกอบรมพนักงาน เพื่อเพิ่มทักษะและความเข้าใจในความสามารถของกระบวนการผลิต, ปรับปรุงอุปกรณ์จิ๊ก (Jig tool) เพื่อช่วยป้องกันหรือลดความผิดพลาดในการผลิต (error proof) และปรับปรุงแผนการบำรุงรักษาเครื่องจักรเพื่อควบคุมการแปรปรวนของการผลิต
            หากกระบวนการผลิตมีการกระจายตัวอยู่ระหว่างเส้นมาตรฐานบนและล่าง (Upper and lower specification level) และค่าความแตกต่างระหว่างเส้นมาตรฐาน (หรือเส้นควบคุม) บนและล่างมากกว่า 6s [6 เท่าของค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานหรือการแปรปรวนของกระบวนการ] แสดงว่า กระบวนการมีความสามารถ
 
                การจัดเก็บตัวอย่างควรมีจำนวนมากพอสมควร ยิ่งตัวอย่างมากยิ่งทำให้ข้อมูลมีความน่าเชื่อถือ (ควรมากกว่า 100 ตัวอย่าง) และสามารถคำนวณหาค่า CP ได้ตามสมการต่อไปนี้
 
 
ค่า CP สามารถกำหนดเป็นค่าเป้าหมายสำหรับการปรับปรุงกระบวนการ ด้วยการลดค่าความเบี่ยงเบนของกระบวนการให้น้อยลง และควบคุมให้ค่า CP > 1 เพื่อควบคุมการผลิตของเสียออกจากกระบวนการผลิต โดยหลักเกณฑ์ของการประเมินความสามารถของกระบวนการ แสดงดังตารางที่ 3

 

               จากรูปที่ 19 จะพบว่า ค่า Cp = 1 แสดงว่ากระบวนการผลิตอยู่ภายใต้ค่ามาตรฐานบนและล่างพอดี หาก Cp = 0.6 แสดงว่ากระบวนการผลิตไม่อยู่ภายใต้ค่ามาตรฐาน แต่หากค่า Cp = 2 แสดงว่ากระบวนการผลิตอยู่ระหว่างค่ามาตรฐานที่ต้องการควบคุมซึ่งเป็นค่าที่มั่นใจว่าไม่มีของเสียหลุดออกจากกระบวนการผลิต
               จากรูปที่ 20 จะพบว่ากระบวนการผลิตที่ง่ายสำหรับการควบคุมเมื่อค่าของตัวอย่างอยู่ภายในเส้นสเปกบนและล่าง (Upper and lower specification) ดังรูป A หากกระบวนการมีแนวโน้มเข้าใกล้สเปกบนแต่ยังอยู่ภายในเส้นสเปก ควรปรับปรุงกระบวนการเพื่อปรับให้ค่าเฉลี่ยอยู่กึ่งกลางระหว่างค่าสเปกบนและล่าง ดังรูป B หากกระบวนการเกือบจะอยู่ภายในเส้นสเปก แต่มีบางข้อมูลหลุดออกจากสเปกบน ดังรูป C และหากกระบวนการไม่สามารถควบคุมให้อยู่ภายในสเปกได้ เพราะเกิดของเสียที่ออกนอกเส้นสเปกบนและล่าง ดังรูป D
ดัชนีวัดความสามารถของกระบวนการ (Process capability index: Cpk)
 
        หากค่า CP>1.0, Cpk1.0 แสดงว่า ความแปรปรวนของกระบวนการอยู่ภายในค่าสเปกบนและล่าง และมีความแปรปรวนของกระบวนการไม่มาก ซึ่งสามารถบ่งชี้ได้ว่ากระบวนการมีความสามารถ
        หากค่า CP>1.0, Cpk<1.0 แสดงว่า ความแปรปรวนของกระบวนการอยู่ภายในค่าสเปกบนและล่าง แต่ค่าเฉลี่ยของกระบวนการมีแนวโน้มเข้าใกล้ค่าสเปกบนหรือล่าง ซึ่งสามารถบ่งชี้ได้ว่ากระบวนการมีโอกาสผลิตของเสีย
        หากค่า CP = Cpk= 1.0 แสดงว่า กระบวนการอยู่กลางระหว่างค่าสเปกบนและล่าง เพราะค่ามาตรฐานกับค่าเฉลี่ยเท่ากัน แต่มีโอกาสเกิดของเสียได้ในอนาคต
        และหากค่า CP < 1.0 แสดงว่า กระบวนการไม่ดี ต้องทำการปรับปรุงกระบวนการโดยเร่งด่วน
 
                ตารางที่ 4 จะพบว่าการประเมินดัชนีวัดความสามารถของกระบวนการ (Cpk) หากค่า Cpk น้อยกว่า 1 แสดงว่ากระบวนการที่ไม่มีความสามารถซึ่งต้องปรับปรุงกระบวนการ หากค่า Cpk อยู่ระหว่าง 1 กับ 3 แสดงว่ากระบวนการมีความสามารถที่ควรปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น แต่หากค่า Cpk มากกว่า 3 แสดงว่ากระบวนการมีความสามารถดีมากซึ่งอาจไม่จำเป็นต้องปรับปรุงแต่ควรปรับลดค่าสเปก
 
 
 

 

 


        จากรูปที่ 21 จะพบว่าหากค่า Cp = 3.0 แสดงว่าความสามารถของกระบวนการดีเลิศ แต่กระบวนการมีแนวโน้มเข้าใกล้เส้นมาตรฐานบน (USL) และมีโอกาสจะเกิดของเสียได้มาก แต่หากค่าของกระบวนการอยู่กึ่งกลางระหว่างเส้นมาตรฐานบนและล่างจะเป็นกระบวนการที่ดีเลิศและสามารถควบคุมกระบวนการได้ง่าย ดังนั้นควรปรับปรุงกระบวนการเพื่อปรับเลื่อนให้กระบวนการห่างออกจากเส้นมาตรฐานบนและเข้าหาค่ากึ่งกลาง

        หากค่า Cpk = 1.5 แสดงว่า กระบวนการยังมีความสามารถ แต่เข้าใกล้เส้นสเปกบนจึงจำเป็นต้องปรับปรุงกระบวนการเพื่อให้ค่า Cpk สูงขึ้น ค่า d ของการคำนวณค่า Cpk อาจเป็นค่า c ได้ หากค่า c < d ดังนั้นค่า Cpk จะต้องเลือกค่า Cpk ที่มีค่าต่ำกว่าเสมอ
                      [ตัวอย่างการคำนวณแสดงในตัวอย่างที่ 4 และ 5]
                        
3. แผนภูมิควบคุม (Control Chart) เป็นเครื่องมือสำหรับตรวจสอบของเสียในกระบวนการผลิต ซึ่งอาจเกิดจากความผิดพลาดของกระบวนการออกแบบหรือกระบวนการผลิต มักจะเกิดขึ้นบ่อยครั้งเมื่ออยู่ในช่วงการเปลี่ยนแปลงแบบผลิตภัณฑ์หรือกระบวนการผลิต แผนภูมิควบคุมช่วยศึกษาลักษณะของข้อมูลว่าอยู่ภายใต้เงื่อนของกระบวนการหรือไม่ ด้วยการตรวจสอบความเบี่ยงเบนของข้อมูล  
               ผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิตที่ถูกออกแบบเป็นอย่างดีด้วยวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ ก็อาจส่งผลให้เกิดความแตกต่างของสินค้าได้ ซึ่งมีสาเหตุจากหลายปัจจัย เช่น ประสิทธิภาพของเครื่องจักร, ทักษะความชำนาญของพนักงาน, อุปกรณ์จิ๊ก, อุณหภูมิ, ความหนาหรือความแข็งของชิ้นงาน เป็นต้น ดังนั้นเมื่อพบการเบี่ยงเบนของข้อมูล ต้องทำการวิเคราะห์สาเหตุและกำจัดความเบี่ยงเบนให้เหลือน้อยที่สุด
               ทุกขั้นตอนของกระบวนการผลิตต้องมีการตรวจสอบวัตถุดิบ, ชิ้นส่วน และงานระหว่างผลิต เพราะหากตรวจพบปัญหาตั้งแต่กระบวนการแรกจะช่วยลดความยุ่งยากและต้นทุนเพิ่มของการผลิตได้
               เมื่อกระบวนการได้รับการควบคุมด้วยแผนภูมิควบคุมแล้ว จะพบว่าความเบี่ยงเบนของข้อมูลสามารถเกิดขึ้นได้เสมอจากหลายสาเหตุ ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 2 สาเหตุหลัก คือ
1.       สาเหตุทั่วไป (Common causes หรือ Chance causes) เป็นความเบี่ยงเบนที่ไม่สามารถบ่งชี้สาเหตุที่แท้จริงได้ และไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้จากกระบวนการ แต่ความเบี่ยงเบนไม่รุนแรงและอยู่ภายในพิกัดข้อกำหนด ที่ไม่มีผลกระทบต่อคุณภาพ เช่น น้ำดื่มบรรจุขวดจะมีปริมาณไม่เท่ากันทุกขวด เนื่องจากความเบี่ยงเบนที่ไม่สามารถบ่งชี้ได้ชัดเจนว่าเกิดจากกระบวนการใด ดังนั้นจะสังเกตเห็นสัญลักษณ์ ข้างท้ายปริมาณที่กำหนด (เช่น 2 litre )
        ค่าข้อมูลที่ได้จะมีลักษณะกระจายตัว สำหรับการตรวจติดตามค่าการกระจายตัวนั้นจะพิจารณาค่าเฉลี่ย (Mean), ความกว้างของข้อมูล (Range), ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) และลักษณะการกระจาย (Shape)
1.       ค่าเฉลี่ย (Mean: x) คือ การหาค่าเฉลี่ยของข้อมูลทั้งหมด
2.       ค่าความกว้างของข้อมูล (Range) คือ การหาค่าความแตกต่างของค่าข้อมูลที่ใหญ่ที่สุดกับค่าข้อมูลที่เล็กที่สุด ซึ่งเป็นการตรวจสอบค่าความกว้างของการกระจายตัวของข้อมูล
         หากค่าความกว้างของข้อมูลมาก แสดงว่ายังไม่สามารถควบคุมกระบวนการได้ และควรปรับปรุงเพื่อลดค่าความกว้างของข้อมูล
3.       ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation: s) คือ การหาค่าการกระจายตัวของข้อมูลประชากรจากข้อมูลตัวอย่าง




 
4.       ลักษณะการกระจายตัว (Shape) คือ การตรวจสอบลักษณะการกระจายตัวของข้อมูลเพื่อตรวจสอบแนวโน้มหรือทิศทางของการเบี่ยงเบน
 


 2.       สาเหตุที่บ่งชี้ได้ (Assignable causes) เป็นความเบี่ยงเบนที่สามารถเจาะจงบ่งชี้ถึงข้อบกพร่อง, ความผิดพลาด, การชำรุดเสียหาย หรือไม่สอดคล้องกับข้อกำหนดที่สามารถปรับปรุงและกำจัดได้ ด้วยการซ่อมบำรุงเครื่องจักรอย่างสม่ำเสมอ, การปรับค่าเครื่องจักร, กำหนดมาตรฐานค่าปรับแต่ง หรือการอบรมพนักงานให้มีทักษะ


แผนภูมิควบคุม เป็นเครื่องมือสำหรับการตรวจสอบความผิดปกติของค่าข้อมูลที่ได้จากกระบวนการ เพื่อเป็นการประกันระดับคุณภาพของการควบคุมกระบวนการ ลักษณะของแผนภูมิควบคุม จะประกอบด้วยเส้นค่ากลาง (Central line), ค่าควบคุมบน (Upper control limit) และค่าควบคุมล่าง (Lower control limit) สิ่งที่คาดหวังของการปฏิบัติงาน คือ ควบคุมให้ค่าข้อมูลที่ตรวจสอบอยู่บนเส้นค่ากลาง (Central line) หรือเส้นค่าเฉลี่ย (Mean)


จากรูปที่ 24 จะพบว่าแผนภูมิควบคุมที่มีเส้นปะแสดงว่ากระบวนการมีความผิดปกติและจำเป็นต้องพิจารณาและศึกษาหาสาเหตุ เพื่อปรับปรุงกระบวนการให้อยู่ภายในเส้นควบคุมบนและล่าง (UCL กับ LCL) ที่มีการแกว่งตัวหรือกระจายตัวแบบปกติอยู่ใกล้เส้นควบคุมกลาง (CL) และไม่มีแนวโน้มหรือมีการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ

การเก็บค่าข้อมูลสำหรับกระบวนการตัดสินใจ บางครั้งอาจเกิดความผิดพลาดที่ทำให้มีความเสี่ยงต่อการสรุปผลของข้อมูลไม่ถูกต้อง นั่นก็คือ ค่าตัวอย่างที่เก็บมานั้นไม่ใช่ค่าข้อมูลที่สามารถเป็นตัวแทนของประชากรข้อมูลได้ ทำให้เกิดความผิดพลาดที่เรียกว่า Type I error และ Type II error ซึ่งแสดงในรูปที่ 25

Type I error: a คือ ค่าตัวอย่างที่ได้จากกระบวนการออกนอกค่าควบคุม ทำให้สรุปผลว่ากระบวนการนั้นไม่สามารถควบคุมได้ ซึ่งความเป็นจริงแล้วกระบวนการนั้นสามารถทำงานได้เป็นปกติและได้รับการดูแลควบคุมเป็นอย่างดี แต่กระบวนการนั้นต้องได้รับการตรวจสอบ, ปรับแต่งเครื่องจักร, ปรับเปลี่ยนวิธีการทำงาน, หรืออาจเรียกสินค้ากลับคืน สิ่งเหล่านี้ถือได้ว่าเป็นการก่อให้เกิดต้นทุนที่สูญเปล่าจากการตัดสินใจสรุปผลที่ผิดพลาด
Type II error: b คือ กระบวนการที่ไม่อยู่ในการควบคุม (Out of statistical control) แต่ค่าตัวอย่างอยู่ภายใต้ค่าควบคุม ทำให้เกิดความผิดพลาดที่เข้าใจว่ากระบวนการถูกต้องและเหมาะสมดีแล้ว ซึ่งก่อให้เกิดผลเสีย คือ ผลิตสินค้าที่มีปัญหาด้านคุณภาพ (เช่น การใช้งาน, สมรรถนะ, ความคงทนที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานหรือข้อกำหนด) และก่อให้เกิดต้นทุนเพิ่มในอนาคตหากได้รับการเคลมหรือส่งคืนจากลูกค้า นอกจากนี้หากความเชื่อมั่นในความสมบูรณ์ของกระบวนการและขยายการลงทุนก็จะก่อให้เกิดความสูญเสียที่เพิ่มมากขึ้นได้




โอกาสการเกิด Type I error จะมากขึ้น เมื่อค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (s จะสัมพันธ์กับการกระจายตัวของค่าตัวอย่าง ไม่ใช่การกระจายตัวของกระบวนการ) แคบลง คือ ±2s มีโอกาสเกิด Type I error มากกว่า ±3s สำหรับโอกาสการเกิด Type II error จะมากขึ้น เมื่อค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานกว้างขึ้น คือ ±3s มีโอกาสเกิด Type II error มากกว่า ±2s
จากตารางที่ 5 จะพบว่าหากกระบวนการทำงานได้ดีแล้วแต่ผลการเก็บข้อมูลและศึกษาวิเคราะห์การเกิดของเสียแล้วดำเนินการแก้ไขกระบวนการจะก่อให้เกิด Type I error ซึ่งที่จริงกระบวนการดีอยู่แล้วจึงไม่จำเป็นต้องดำเนินการใดๆ แต่หากกระบวนการก่อให้เกิดของเสียแล้วไม่มีการดำเนินการแก้ไขใดๆเลยจะก่อให้เกิด Type II error ซึ่งที่จริงแล้วต้องเร่งศึกษาวิเคราะห์และปรับปรุงกระบวนการโดยด่วน

แผนภูมิที่ดีนั้นควรที่จะช่วยให้การตัดสินใจเกี่ยวกับวัตถุดิบ, งานระหว่างผลิต, ชิ้นงาน, ผลิตภัณฑ์หรือกระบวนการผลิตได้ง่ายขึ้น โดยกำหนดและควบคุมมาตรฐาน (Specification) ของการปฏิบัติงาน

แผนภูมิควบคุมทางคุณภาพเป็นแผนภูมิที่กำหนดขึ้นมา เพื่อควบคุมระดับคุณภาพของกระบวนการและผลิตภัณฑ์หรือการบริการ สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ แผนภูมิควบคุมชนิดตัวแปร (Variable control chart) และแผนภูมิควบคุมตามคุณลักษณะ (Attribute Control Chart) ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

แผนภูมิควบคุมชนิดตัวแปร (Variable control chart) เป็นแผนภูมิที่ใช้กับข้อมูลแบบต่อเนื่อง (Continuous data) เช่น ข้อมูลความยาว, ความหนา, แรงอัด, น้ำหนัก เป็นต้น ซึ่งประกอบด้วยแผนภูมิควบคุมต่างๆ ดังนี้

1.   แผนภูมิค่าเฉลี่ยเดี่ยว และค่าพิสัยเคลื่อนที่ (Individuals and moving range control chart: I-MR chart) เป็นแผนภูมิที่ใช้สำหรับข้อมูลที่มีเพียงหนึ่งตัวอย่าง ซึ่งอาจจะมีสาเหตุจากความยุ่งยากหรือต้นทุนการเก็บข้อมูลค่อนข้างสูง โดยมีสมการดังต่อไปนี้
?
ขั้นตอนการจัดทำแผนภูมิควบคุม I-MR chart 1.       เก็บค่าข้อมูลของตัวอย่างที่มีขนาดตัวอย่างเพียง 1 หรือ 2 2.       คำนวณหาค่าเฉลี่ยของข้อมูล (x) 3.       คำนวณหาค่าพิสัยเคลื่อนที่ (MR) และค่าเฉลี่ยของค่าพิสัยเคลื่อนที่ (MR)                  MR = I xi – xi-1I 4.       คำนวณหาค่าเส้น CLX, UCLX และ LCLX ของแผนภูมิ I-chart 5.       สร้างแผนภูมิ I-chart ด้วยการกำหนดเส้น CLX, UCLX และ LCLX 6.       พลอทค่าข้อมูลของแต่ละตัวอย่างในแผนภูมิ I-chart ·        หากพบว่ามีค่าข้อมูลออกนอกแผนภูมิควบคุม ให้ศึกษาวิเคราะห์สาเหตุและกำหนดมาตรแก้ไข แล้วเริ่มต้นขั้นตอนที่ 1 อีกครั้ง ·        หากค่าข้อมูลของแต่ละตัวอย่างอยู่ภายในเส้นการควบคุมบนและล่างของแผนภูมิ I-chart ให้ดำเนินการในข้อ 7 ต่อไป 7.       คำนวณหาค่าเส้น CLMR, UCLMR และ LCLMR ของแผนภูมิ MR chart 8.       สร้างแผนภูมิ MR-chart ด้วยการกำหนดเส้น CLMR, UCLMR และ LCLMR 9.       พลอทค่าเฉลี่ยของแต่ละตัวอย่างในแผนภูมิ MR-chart ·          หากพบว่ามีค่าพิสัยเคลื่อนที่ออกนอกแผนภูมิควบคุม ให้ศึกษาวิเคราะห์สาเหตุและกำหนดมาตรการแก้ไข แล้วเริ่มต้นขั้นตอนที่ 1 อีกครั้ง ·            หากค่าพิสัยเคลื่อนที่ของแต่ละตัวอย่างอยู่ภายในเส้นควบคุมบนและล่างของแผนภูมิ MR-chart ให้ตรวจติดตามกระบวนการอย่างต่อเนื่อง 10.    นำแผนภูมิ I-chart และ MR-chart วางอยู่ใกล้กันเพื่อตรวจสอบแนวโน้ม, ความผิดปกติ หรือความเบี่ยงเบนของข้อมูลร่วมกัน

2.   แผนภูมิ x (x-bar chart) เป็นการคำนวณหาค่าเฉลี่ย และใช้สำหรับควบคุมความแปรปรวนของค่าเฉลี่ย เบื้องต้นแล้วต้องดำเนินการปรับปรุงกระบวนการเพื่อให้ค่าความแปรปรวนของกระบวนการ (Process variability) อยู่ภายใต้การควบคุมและมีเสถียรภาพ จึงจะสามารถคำนวณค่าเส้นควบคุมบนและล่าง (UCLX และ LCLX) เพื่อสร้างแผนภูมิควบคุม


3.    แผนภูมิ R ใช้ตรวจสอบและควบคุมความแปรปรวนของค่าพิสัย (Range)
            ค่าพิสัย = ค่าตัวอย่างที่มีค่าสูงสุด ค่าตัวอย่างที่มีค่าต่ำสุด
หากพบว่าค่าตัวอย่างออกนอกเส้นควบคุมบนหรือล่าง แสดงว่าความแปรปรวนของกระบวนการไม่อยู่ภายใต้การควบคุม จึงต้องปรับปรุงกระบวน การก่อน แล้วจึงคำนวณค่าเส้นควบคุมบนและล่าง (UCLR และ LCLR) เพื่อสร้างแผนภูมิควบคุม
?



ขั้นตอนการจัดทำแผนภูมิควบคุม x-R chart
1.       เก็บค่าข้อมูลที่เป็นค่าตัวแปร (Variables) จากจำนวนตัวอย่าง (Sample number) อย่างน้อย 20 ตัวอย่าง และสุ่มเลือกตามขนาดตัวอย่าง (Sample size) ที่ต้องการ
2.       คำนวณหาค่าพิสัย (Range: R) ของแต่ละตัวอย่าง และค่าเฉลี่ยของค่าพิสัย (R) ของกลุ่มตัวอย่าง [R = CLR]
3.       คำนวณหาค่าเส้นควบคุมบนและล่างของแผนภูมิ R
4.       สร้างแผนภูมิ R ด้วยการกำหนดเส้น CLR, UCLR และ LCLR
5.       พลอทค่าพิสัยของแต่ละตัวอย่างในแผนภูมิ R
·        หากพบว่ามีค่าพิสัยใดๆ ออกนอกแผนภูมิควบคุมให้ศึกษาวิเคราะห์สาเหตุและกำหนดมาตรแก้ไข แล้วเริ่มต้นขั้นตอนที่ 1 อีกครั้ง
·        หากค่าพิสัยของแต่ละตัวอย่างอยู่ภายในเส้นการควบคุมบนและล่างของแผนภูมิ R ให้ดำเนินการในข้อ 6 ต่อไป
6.       คำนวณค่าเฉลี่ยของแต่ละตัวอย่าง (x) และหาค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง (x) [x = CLX]
7.       คำนวณหาค่าเส้นควบคุมบนและล่างของแผนภูมิ x
8.       สร้างแผนภูมิ x ด้วยการกำหนดเส้น CLX, UCLX และ LCLX
9.       พลอทค่าเฉลี่ยของแต่ละตัวอย่างในแผนภูมิ x
·          หากพบว่ามีค่าเฉลี่ยใดๆ ออกนอกแผนภูมิควบคุมให้ศึกษาวิเคราะห์สาเหตุและกำหนดมาตรการแก้ไข แล้วเริ่มต้นขั้นตอนที่ 1 อีกครั้ง [หากไม่สามารถค้นหาสาเหตุได้ ให้สมมติฐานเบื้องต้นว่าความผิดปกตินั้นเกิดจากสาเหตุทั่วไป แล้วใช้แผนภูมิควบคุมเดิม สำหรับการตรวจติดตามกระบวนการต่อไป]
·            หากค่าเฉลี่ยของแต่ละตัวอย่างอยู่ภายในเส้นควบคุมบนและล่างของแผนภูมิ x ให้ตรวจติดตามกระบวนการอย่างต่อเนื่อง
10.    นำแผนภูมิ x และ R วางอยู่ใกล้กันเพื่อตรวจสอบแนวโน้ม, ความผิดปกติ หรือความเบี่ยงเบนของข้อมูลร่วมกัน


หากทราบค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของกระบวนการ (Standard deviation) ก็สามารถคำนวณหาค่าเส้นควบคุมบนและล่าง และสร้างแผนภูมิควบคุมได้ โดยที่
4.    แผนภูมิ S ใช้สำหรับควบคุมความผันแปรของค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
         การเลือกใช้แผนภูมิ S chart ควบคุมในแผนภูมิ x-S chart เมื่อขนาดตัวอย่าง (Sample size) มากกว่า 10 ตัวอย่าง หรือเมื่อขนาดตัวอย่างมีจำนวนไม่เท่ากัน
 
 
 

แผนภูมิควบคุมตามคุณลักษณะ (Attribute control chart) เป็นแผนภูมิที่ใช้กับข้อมูลที่ไม่ต่อเนื่อง (Discrete data) ซึ่งเป็นการบ่งบอกลักษณะของผลิตภัณฑ์ว่าดีหรือไม่ดี และยอมรับได้หรือยอมรับไม่ได้ โดยการพิจารณาจากของเสีย (Defective) และข้อบกพร่องหรือรอยตำหนิ (Defect) ของผลิตภัณฑ์  แผนภูมิควบคุมตามคุณลักษณะสามารถแบ่งเป็น 4 ประเภท คือ แผนภูมิ p (p-chart), แผนภูมิ np (np-chart), แผนภูมิ c (c-chart) และแผนภูมิ u (u-chart) มีรายละเอียดดังนี้
1.     แผนภูมิ p (p-chart) ใช้สำหรับควบคุมสัดส่วนของเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการ วิธีการนี้จึงเหมาะสำหรับตัวอย่างที่สามารถบ่งชี้ได้อย่างชัดเจนว่าเป็นของดี หรือของเสีย (Defective) โดยการตัดสินใจบนพื้นฐานใช่กับไม่ใช่ (Yes-no decision) การกระจายตัวทางสถิติจะเป็นการกระจายแบบไบโนเมียล (Binomial) ดังนั้นขนาดของตัวอย่างจึงควรมีปริมาณมากพอสมควร เพื่อให้เป็นการกระจายตัวแบบปกติ (Normal distribution)
 
หากพบว่ามีค่าสัดส่วนของเสียออกนอกแผนภูมิควบคุม ให้ศึกษาวิเคราะห์สาเหตุและกำหนดมาตรการป้องกัน (แต่บางครั้งอาจไม่พบสาเหตุที่ชัดเจน เพราะสาเหตุนั้นมีโอกาสเกิดขึ้นน้อยครั้งมาก) แล้วเริ่มต้นขั้นตอนที่ 1 อีกครั้ง [แผนภูมินี้ช่วยบ่งชี้ระดับคุณภาพของสินค้าหรือกระบวนการ เพื่อช่วยให้ทราบว่าเมื่อไรควรทำการปรับปรุง]
หากค่าสัดส่วนของเสียของแต่ละตัวอย่างอยู่ภายในเส้นควบคุมบนและล่างของแผนภูมิ p ให้ตรวจติดตามกระบวนการอย่างต่อเนื่อง

         บางครั้งขนาดตัวอย่างควรได้รับการควบคุม เพื่อให้ข้อมูลมีความน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น เช่น ขนาดตัวอย่างเฉลี่ยเท่ากับ 150 การควบคุมขนาดตัวอย่างอาจกำหนดเท่ากับ 20% จะได้ช่วงการควบคุมเท่ากับ 150 ± 20% = 120 - 180

แผนภูมิ p เป็นการควบคุมสัดส่วนของเสียของผลิตภัณฑ์ไม่ให้มากเกินกว่าค่าที่ยอมรับได้

2.     แผนภูมิ np (np-chart) ใช้สำหรับควบคุมปริมาณของเสีย แผนภูมิการควบคุมนี้จะแสดงผลเป็นค่าตัวเลขแทนการแสดงค่าเป็นเปอร์เซ็นต์ของแผนภูมิ p โดยที่ขนาดตัวอย่างต้องเท่ากันทุกตัวอย่าง ซึ่งแตกต่างจากแผนภูมิ p ที่ขนาดตัวอย่างไม่จำเป็นต้องเท่ากันทุกตัวอย่าง
ขั้นตอนการจัดทำแผนภูมิ np มีวิธีการคล้ายกับแผนภูมิ p แต่ต่างกันที่ขั้นตอนที่ 4 โดยการคำนวณเส้นควบคุมบนและล่าง (UCLP และ LCLP) ได้ดังสมการต่อไปนี้
?






3.    แผนภูมิ c (c-chart) ใช้สำหรับควบคุมข้อบกพร่องหรือรอยตำหนิของผลิตภัณฑ์ โดยที่รอยตำหนิที่ตรวจพบจะมีผลต่อการกำหนดราคา เช่น หากสินค้าไม่มีตำหนิ สามารถกำหนดราคาได้ 100% แต่หากพบว่ามีตำหนิ 1-3 ตำแหน่ง การกำหนดราคาอาจต้องลดเหลือ 80% และ หากมากกว่า 3 ตำแหน่ง การกำหนดราคาอาจลดเหลือเพียง 60% ของราคาขายได้ เป็นต้น แผนภูมินี้มีการกระจายตัวแบบพัวซอง (Poisson distribution)
 
4.   แผนภูมิ u (u-chart) ใช้สำหรับควบคุมข้อบกพร่องหรือรอยตำหนิต่อหนึ่งหน่วยผลิตภัณฑ์
 
 
 
หากพบว่ามีของเสียใดๆ ออกนอกแผนภูมิควบคุมให้ศึกษาวิเคราะห์สาเหตุและกำหนดมาตรการป้องกัน แล้วเริ่มต้นขั้นตอนที่ 1 อีกครั้ง
 
หากไม่พบความผิดปกติใดๆ ให้ตรวจติดตามกระบวนการอย่างต่อเนื่อง
             บางครั้งขนาดตัวอย่างควรได้รับการควบคุม เพื่อให้ข้อมูลมีความน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น เช่น ขนาดตัวอย่างเฉลี่ยเท่ากับ 150 การควบคุมขนาดตัวอย่างอาจกำหนดเท่ากับ 20% จะได้ช่วงการควบคุมเท่ากับ 150 ± 20% = 120 - 180
         แผนภูมิควบคุมที่กล่าวข้างต้นสามารถสรุปดังตารางที่ 6

 
 
 

เรื่องราวคุณภาพ (QC story)

            เรื่องราวคุณภาพเป็นการอธิบายถึงกิจกรรมการส่งเสริมคุณภาพ เพื่อปรับปรุงและเพิ่มคุณภาพของกระบวนการและผลิตภัณฑ์หรือการบริการ ซึ่งเป็นกระบวนการเรียนรู้และวิเคราะห์ปัญหาอย่างเป็นระบบทำให้สามารถพูดคุยและเล่าเรื่องคุณภาพเชิงการวิเคราะห์ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อกำหนดแนวทางการแก้ไข และสร้างมาตรฐานความสม่ำเสมอของคุณภาพ ด้วยขั้นตอนที่สำคัญ 7 ประการ คือ

1.       กำหนดปัญหา (Problem definition)

2.       เก็บรวบรวมข้อมูล (Data collection)

3.       วิเคราะห์ข้อมูล (Data analysis)

4.       ดำเนินการปรับปรุง (Implementation)

5.       ศึกษาผลที่ได้จากการปรับปรุง (Result check)

6.       ดำเนินการแก้ไข  (Action)

7.       สร้างมาตรฐานเชิงคุณภาพ (Standardization setting)

            เมื่อการดำเนินการครบทุกขั้นตอนก็ต้องกลับไปที่ขั้นตอนที่ 1 ด้วยการกำหนดปัญหาของปัญหาที่สำคัญลำดับรองลงมา เรื่องราวคุณภาพนี้จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดช่วงอายุขององค์กรด้วยความเชื่อที่ว่าองค์กรเข้มแข็งและอยู่รอดได้ด้วยการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

            ประเด็นสำคัญสำหรับการส่งเสริมคุณภาพ ประกอบด้วยการตระหนักถึงคุณภาพทั่วทั้งองค์กร, การกำหนดทีมงานเพื่อการปรับปรุง, การอบรมและปลูกฝังค่านิยมด้านคุณภาพและต้นทุน, การกำหนดเป้าหมายด้านคุณภาพที่ชัดเจน, การตรวจวัดค่ากระบวนการอย่างต่อเนื่อง, การดำเนินการแก้ไขทันทีเมื่อตรวจพบปัญหา, การมุ่งมั่นในการลดของเสียให้เป็นศูนย์ และการตรวจสอบการดำเนินกิจกรรมคุณภาพอย่างจริงจังและสม่ำเสมอ

            มาตรฐาน (Standard) เป็นวิธีการหรือแบบแผนการปฏิบัติงานเพื่อให้กระบวนการราบรื่นคล่องตัวมีความสอดคล้องกับปัจจัยต่างๆ และช่วยให้กระบวนการตัดสินใจมีประสิทธิผลที่ดี

            ระบบมาตรฐานเป็นกระบวนการจัดการระบบการปฏิบัติงาน, ระบบเอกสาร หรือขั้นตอนการผลิตให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อให้พนักงานสามารถดำเนินการทดแทนกันได้ โดยรักษาระดับคุณภาพและประสิทธิภาพของการปฏิบัติงาน

            การจัดทำระบบมาตรฐาน (Standardization) เป็นการกำหนดขั้นตอนของกระบวนการอย่างเป็นระบบและชัดเจน ทำให้สามารถมองเห็นปัญหาขององค์กรและสามารถแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้เกิดการพัฒนาปรับปรุงกระบวนการและธุรกิจให้ยิ่งดีขึ้น

            การจัดทำระบบมาตรฐานที่มีคุณภานั้นควรเกิดจากการเรียนรู้และปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้

1.     วางแผน (Plan)

2.     ปฏิบัติจริง (Do)

3.     ตรวจสอบ (Check)

4.     ปรับเปลี่ยนแก้ไข (Action)

            เมื่อกระบวนการได้รับการปรับเปลี่ยนแก้ไขจนกระบวนการราบรื่นไม่มีความแปรปรวนมากมาย ก็ควรกำหนดเป็นมาตรฐาน และควบคุมการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องตามขั้นตอนต่อไปนี้

1.     กำหนดมาตรฐาน (Standardize)

2.     ปฏิบัติจริง (Do)

3.     ตรวจสอบ (Check)

4.     ปรับเปลี่ยนแก้ไข (Action)

            มาตรฐานการปฏิบัติงานควรปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพการแข่งขัน โดยพนักงานผู้ปฏิบัติงานต้องเข้าใจและพร้อมที่จะเรียนรู้มาตรฐานใหม่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งองค์กรต้องสนับสนุนการฝึกอบรมเพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันว่า มาตรฐาน คือ สิ่งที่ปรับเปลี่ยนได้ จึงจะทำให้เกิดการพัฒนาและสามารถบรรลุเป้าหมายได้อย่างมั่นคง

            มาตรฐานผลิตภัณฑ์เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งสำหรับธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ ทั้งสินค้านำเข้าและส่งออก เปรียบเสมือนเครื่องมือสำหรับการพัฒนาคุณภาพให้ได้รับการยอมรับและสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า รวมทั้งคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อป้องกันสินค้าคุณภาพต่ำเข้าสู่ตลาด เมื่อผลิตภัณฑ์มีคุณภาพต่ำทำให้สามารถกำหนดราคาขายต่ำได้ ซึ่งอาจส่งผลกระทบก่อให้เกิดความปั่นป่วนต่อระบบการแข่งขันที่เป็นธรรม

            มาตรฐานผลิตภัณฑ์ยังเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งสำหรับปกป้องอุตสาหกรรมภายในประเทศ ซึ่งเรียกว่าเป็นระบบกีดกั้นที่ไม่ใช่ภาษี (Non-tariff barriers) ที่ใช้ทดแทนระบบกีดกั้นทางภาษี นอกจากนี้มาตรฐานผลิตภัณฑ์ระดับสูงยังช่วยให้ลดปัญหาการกีดกั้นจากการส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศ

            องค์การการค้าโลก (World trade organization: WTO) ได้กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์ที่เป็นกฎเกณฑ์ทางเทคนิค (Technical regulations) ที่ต้องมีมาตรฐานเดียวกันในทุกประเทศสมาชิก WTO ไว้ 3 ด้าน คือ

1.       ด้านความปลอดภัย

2.       ด้านสิ่งแวดล้อม

3.       ด้านความมั่นคงของประเทศ

            สำหรับตัวอย่างมาตรฐานผลิตภัณฑ์ของแต่ละประเทศ เช่น มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมของไทย (Thai industrial standards: TIS), มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมของญี่ปุ่น (Japanese Industrial Standards: JIS) เป็นต้น

 

 

 

 

 

            องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (International Organization for Standardization: ISO) เป็นองค์กรอิสระ (Non-governmental organization) ที่จัดตั้งขึ้นมาเมื่อปี 1947 มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ มีหน้าที่กำหนดมาตรฐานระหว่างประเทศ

            มาตรฐานระหว่างประเทศนี้มีอยู่หลายมาตรฐาน แต่มาตรฐานที่ได้รับความนิยมและรู้จักกันเป็นอย่างดี คือ ISO9000:2000 และ ISO14000 แต่ละมาตรฐานก็มีจุดมุ่งหมายเพื่อรับรองมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก ซึ่งส่งผลให้แต่ละบริษัทสามารถกำหนดแนวทางการปฏิบัติงานได้ง่ายและชัดเจน (กำหนดถึงสิ่งที่ต้องทำและไม่ต้องทำอย่างชัดเจน) มาตรฐานเหล่านี้ทำให้ลูกค้าเกิดความเชื่อมั่นในตัวผลิตภัณฑ์และช่วยให้การตัดสินใจซื้อสินค้านั้นได้ง่ายขึ้น


            สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ) หรือ Thai industrial standards institute (TISI) มีหน้าที่ส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศให้สามารถแข่งขันได้, คุ้มครองผู้บริโภค และรักษาสิ่งแวดล้อม
 
 
 
 

ต้นทุน (Cost) ปัจจัยความได้เปรียบเชิงการแข่งขัน

                   ต้นทุน คือ มูลค่าหรือค่าใช้จ่ายของทรัพยากร (เช่น วัตถุดิบ, พนักงาน, ค่าเสื่อมเครื่องจักร, เครื่องหมายการค้า) ที่ใช้แปลงเปลี่ยนเป็นผลิตภัณฑ์หรือบริการเพื่อส่งมอบให้กับลูกค้า และก่อให้เกิดผลตอบแทนกับองค์กรในปัจจุบันหรืออนาคต
            ต้นทุนของผลิตภัณฑ์จะมีอิทธิพลต่อระดับผลกำไร เพราะต้นทุนบวกผลกำไรที่คาดหวังก็คือราคาขาย และราคาขายก็เป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อของลูกค้าทั้งนี้เนื่องจากผลิตภัณฑ์ได้รับการควบคุมให้มีมาตรฐานที่ดีไม่แตกต่างกัน ดังนั้นองค์กรจึงต้องแข่งขันกันด้วยการบริหารต้นทุนให้ต่ำที่สุดเพื่อก่อให้เกิดผลกำไรสูงสุด
            การพิจารณาต้นทุนจะสัมพันธ์กับการลงทุนระยะสั้นหรือการลงทุนระยะยาว (Short term or long term run) โดยที่องค์กรที่ดำเนินการระยะสั้น กำไรต้องพิจารณาจากรายรับที่หักลบด้วยต้นทุนผันแปร และต้นทุนคงที่ ซึ่งทำให้กำไรที่ได้รับลดน้อยลงเพราะต้นทุนของสินค้าหรือบริการมีค่าสูง
            สำหรับองค์กรที่ดำเนินการระยะยาว จะพิจารณากำไรที่เกิดจากรายรับหักลบด้วยต้นทุนผันแปร ที่เรียกว่าส่วนเกิน (Contribution) โดยที่ต้นทุนคงที่จะไม่นำพิจารณาเพราะต้นทุนต่อหน่วยจะมีค่าน้อยมากเมื่อมีการผลิตมากขึ้น
            จากตารางที่ 7 จะพบว่าต้นทุนเมื่อปริมาณการผลิตน้อยหรือเป็นการผลิตระยะสั้น ต้นทุนคงที่จะมีอิทธิพลต่อต้นทุนรวมค่อนข้างสูง แต่เมื่อปริมาณการผลิตมากขึ้นหรือเป็นการผลิตระยะยาว ต้นทุนคงที่จะมีผลต่อต้นทุนรวมน้อยลง โดยที่ต้นทุนรวมจะขึ้นกับต้นทุนผันแปรเป็นส่วนใหญ่ ปริมาณการผลิตที่ 10 หน่วย ต้นทุนคงที่จะมากกว่าต้นทุนผันแปร แต่เมื่อปริมาณการผลิตเพิ่มมากขึ้นเป็น 50 หน่วย ต้นทุนคงที่จะน้อยกว่าต้นทุนผันแปร
การวิเคราะห์ต้นทุน (Cost analysis)
            การวิเคราะห์ต้นทุนเป็นการจำแนกประเภทต้นทุน เพื่อการวางแผนและการตัดสินใจของฝ่ายบริหาร รวมทั้งสนับสนุนข้อมูลสำหรับการปรับปรุงต้นทุน ซึ่งแบ่งแยกต้นทุนได้ 5 ประเภท คือ
1.       ต้นทุนเพื่อจัดทำงบการเงิน สามารถแบ่งเป็น 2 หัวข้อ คือ
1.1    ต้นทุนผลิตภัณฑ์ (Product costs) เป็นต้นทุนการแปรรูปผลิตภัณฑ์ประกอบด้วยต้นทุนวัสดุทางตรง (Direct material costs), ต้นทุนแรงงานทางตรง (Direct labor costs) และค่าโสหุ้ยการผลิต (Manufacturing overhead costs) ซึ่งจะบันทึกเป็นสินทรัพย์จนกว่าจะจำหน่ายออก
                ต้นทุนวัสดุทางตรง คือ ค่าใช้จ่ายสำหรับวัตถุดิบหรือวัสดุชิ้นส่วนที่ใช้ในการผลิตที่มีผลโดยตรงกับปริมาณผลิตภัณฑ์ที่จะผลิตได้ ซึ่งสามารถระบุได้อย่างชัดเจนว่าหนึ่งหน่วยผลิตภัณฑ์ต้องใช้วัสดุมากน้อยเท่าไร
                ต้นทุนแรงงานทางตรง คือ ค่าแรงที่แปรผันตามปริมาณผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้ เช่น ค่าจ้างพนักงานประกอบชิ้นส่วนงาน, พนักงานตรวจสอบคุณภาพในกระบวนการผลิต เป็นต้น
                ค่าโสหุ้ยการผลิต คือ ค่าใช้จ่ายนอกเหนือจากต้นทุนวัตถุดิบทางตรงและต้นทุนแรงงานทางตรง เช่น ค่าอุปกรณ์หรือวัสดุที่สนับสนุนการผลิต, ค่าเสื่อมเครื่องจักร, ค่าประกัน, ค่าเช่า, ค่าน้ำ, ค่าไฟฟ้า เป็นต้น
1.2    ต้นทุนตามรอบเวลา (Period costs) ประกอบด้วยค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในแต่ละรอบเวลา ที่อยู่นอกเหนือต้นทุนผลิตภัณฑ์ ซึ่งหมายถึง ค่าใช้จ่ายการบริหารและการขาย เช่น ค่าใช้จ่ายวัสดุสำนักงาน, ค่าจ้างพนักงานการขาย, ค่าโฆษณา เป็นต้น
2.       ต้นทุนที่จำแนกตามพฤติกรรมของต้นทุน สามารถแบ่งได้ 3  หัวข้อ คือ
1.1    ต้นทุนคงที่ (Fixed Costs) คือ ต้นทุนที่ไม่ได้แปรผันตามระดับของกิจกรรมที่องค์กรดำเนินการ ต้นทุนนี้จะเกิดขึ้นไม่ว่าจะมีการผลิตหรือไม่ก็ตาม อาจกล่าวได้ว่าเป็นต้นทุนของเวลา (Time costs) ซึ่งไม่สามารถแยกแยะเป็นต้นทุนต่อหน่วยที่ชัดเจน เช่น ค่าจ้างผู้บริหาร, ค่าจ้างพนักงานทางอ้อม, ค่าน้ำ, ค่าไฟฟ้า, ค่าเช่าสำนักงาน, ค่าเสื่อมของอาคารและเครื่องจักร  เป็นต้น
                จากรูปที่ 26 แสดงให้เห็นพฤติกรรมของต้นทุนคงที่ที่เป็นเส้นตรงขนานกับเส้นนอน ที่ระดับต้นทุนคงที่ตลอดระดับของกิจกรรม (Level of activity)
                ต้นทุนคงที่เป็นตัวแสดงถึงความคล่องตัวของธุรกิจ หากต้นทุนคงที่สูงอาจมีผลให้ความคล่องตัวหรือความยืดหยุ่นของธุรกิจลดต่ำลง, และส่งต่อต่อสภาพการไหลเวียนทางการเงินที่ไม่คล่องตัว เพราะเกิดทุนจมมากเกินไป และหากปริมาณการผลิตไม่มากพอจะทำให้ต้นทุนคงที่มีอิทธิพลให้ราคาสินค้าสูงขึ้น ซึ่งทำให้การปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ไม่มีประสิทธิผล ดังนั้นองค์กรจึงต้องพยายามควบคุมต้นทุนให้พอเหมาะกับระดับของกิจกรรมที่องค์กรดำเนินการอยู่
                          ต้นทุนคงที่แบบขั้นบันได (Step costs) แสดงพฤติกรรมของต้นทุนคงที่ในแต่ละช่วงของระดับของกิจกรรมที่องค์กรดำเนินการ ซึ่งเป็นช่วงสั้นๆและมีต้นทุนสูงมากขึ้นเมื่อผลิตมากขึ้นในอีกช่วงของระดับของกิจกรรมที่องค์กรดำเนินการ ลักษณะต้นทุนดังกล่าวแสดงในรูปที่ 27
 


 
 
2.2    ต้นทุนผันแปร (Variable Cost) คือ ต้นทุนที่เกิดขึ้นเมื่อมีการผลิตสูงขึ้น ต้นทุนจะเพิ่มขึ้นตามปริมาณการผลิต ซึ่งเป็นต้นทุนที่สามารถกำหนดเป็นต้นทุนต่อหน่วยได้
 
รูปที่ 28 แสดงให้เห็นพฤติกรรมของต้นทุนผันแปรที่ชันสูงขึ้นเมื่อปริมาณการผลิตมากขึ้น โดยปริมาณการผลิตที่ศูนย์เส้นต้นทุนผันแปรจะเป็นศูนย์และค่อยเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ
 
 
2.3 ต้นทุนผสม (Mixed cost) หรือเรียกว่าต้นทุนกึ่งผันแปร (Semi-variable cost) คือ ต้นทุนที่มีทั้งต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปร เช่น ค่าโทรศัพท์พื้นฐานที่ต้องเสียค่าเช่าหมายเลขที่เป็นต้นทุนคงที่ และค่าโทรที่เป็นต้นทุนผันแปรตามจำนวนนาทีการโทรออก
 
3.       ต้นทุนที่แยกออกเป็นต้นทุนของแต่ละหน่วยงานหรือแต่ละผลิตภัณฑ์ สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
3.1    ต้นทุนทางตรง (Direct costs) เป็นต้นทุนที่พิจารณาแล้วเห็นว่ามีอิทธิพลต่อหน่วยงานหรือผลิตภัณฑ์โดยตรง ประกอบด้วยค่าแรงทางตรง (Direct labor costs), ค่าวัตถุดิบทางตรง (Direct material costs)  และค่าการลงทุน (Capital costs) [ค่าเสื่อมราคา]
3.2    ต้นทุนทางอ้อม (Indirect costs) เป็นต้นทุนที่ไม่สามารถบ่งชี้ว่าเป็นต้นทุนของหน่วยงานหรือผลิตภัณฑ์ใดๆได้โดยตรง เพราะถือได้ว่าเป็นต้นทุนร่วม (Common costs) เช่น ค่าน้ำ, ค่าไฟฟ้า, ค่าจ้างผู้จัดการแผนก เป็นต้น ต้นทุนทางอ้อมจึงต้องใช้วิธีการจัดสรรตามสัดส่วนชั่วโมงการทำงานหรือปริมาณการผลิต
4.       ต้นทุนเพื่อการตัดสินใจ ประกอบด้วย
4.1 ต้นทุนค่าเสียโอกาส (Opportunity cost) หมายถึง ผลตอบแทนที่องค์กรต้องสูญเสียไปเพราะไม่ได้เลือกดำเนินกิจกรรมนั้น
4.2 ต้นทุนส่วนแตกต่าง (Differential cost) หมายถึง ต้นทุนที่เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นหรือลงเมื่อเลือกดำเนินกิจกรรมนั้น
4.3   ต้นทุนจม (Sunk cost) หมายถึง ต้นทุนที่เกิดขึ้นจากการตัดสินใจในอดีต ซึ่งไม่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจในปัจจุบันหรืออนาคต
4.4 ต้นทุนส่วนเพิ่มต่อหน่วย (Marginal cost) หมายถึง ต้นทุนที่เพิ่มขึ้นเมื่อการผลิตเพิ่มขึ้นหนึ่งหน่วย
4.5 ต้นทุนที่หลีกเลี่ยงได้ (Avoidable cost) หมายถึง ต้นทุนที่สามารถประหยัดได้เมื่อเลือกดำเนินกิจกรรมนั้น
                ต้นทุนเป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งที่ช่วยให้การตัดสินใจมีความถูกต้องมากขึ้น ซึ่งต้นทุนสามารถช่วยพิจารณาในหัวข้อต่อไปนี้
1.      การกำหนดราคาสินค้า
2.      การวางกลยุทธ์การตลาด
3.      การเลือกกลยุทธ์การขาย
4.      การเลือกผลิตเองหรือสั่งผลิต
5.      การปรับเปลี่ยนแผนการผลิต
5.       ต้นทุนตามความรับผิดชอบ ประกอบด้วย
5.1    ต้นทุนที่ควบคุมได้ (Controllable cost) คือ ต้นทุนที่สามารถควบคุมการเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้
5.2    ต้นทุนที่ควบคุมไม่ได้ (Uncontrollable cost) คือ ต้นทุนที่ไม่สามารถควบคุมการเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้
 
การจัดแบ่งประเภทของต้นทุนช่วยให้การบริหารต้นทุนคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ แต่การบริหารต้นทุนก็สามารถล้มเหลวได้ ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจาก
1.       การกำหนดราคาขายผิดพลาดเพราะไม่ครอบคลุมต้นทุนที่แท้จริงและกำไรที่คาดหวัง
2.       การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางตลาดผิดพลาด เช่น ความนิยมและการซื้อสินค้าลดน้อยลง, การสั่งซื้อวัตถุดิบมีราคาที่สูงกว่าค่ามาตรฐานเพราะช่วงเวลาการเข้าซื้อไม่เหมาะสม เป็นต้น
3.       การตัดสินใจเลือกการผลิตเองทดแทนการสั่งผลิตมีความผิดพลาด ทำให้ต้นทุนแท้จริงสูงกว่าค่าที่คาดหวัง
4.       การจัดสรรงบประมาณและทรัพยากรไม่ทั่วถึง มีผลให้กิจกรรมการปรับปรุงไม่บรรลุเป้าหมายและการไหลของระบบงานไม่คล่องตัว
5.       การใช้จ่ายงบประมาณเกินความจำเป็น ก่อให้เกิดต้นทุนที่เปล่าประโยชน์
6.       การวิเคราะห์ปัญหาด้านต้นทุนและผลกระทบไม่ถูกต้อง ทำให้การแก้ไขปัญหาเกิดความสูญเปล่า
7.       การสร้างแรงจูงใจการบริหารต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพไม่ประสบความสำเร็จ
การสร้างจิตสำนึกด้านต้นทุน (Cost mind) เป็นกลยุทธ์หนึ่งที่สำคัญที่ช่วยปลูกฝังให้พนักงานมีจิตสำนึกเรื่องความสูญเปล่าที่ก่อให้เกิดต้นทุน ซึ่งอาจหมายถึงความสูญเปล่า 7 ประการ (7 Losses) เช่น การสร้างจิตสำนึกเรื่องการเคลื่อนไหว (Motion Mind) เพื่อให้พนักงานเข้าใจและตระหนักถึงความสูญเปล่าจากการเคลื่อนไหวที่ไม่ก่อให้เกิดงาน ซึ่งมีผลให้ประสิทธิภาพการทำงานสูงขึ้น
            การเคลื่อนไหวสามารถแบ่งย่อยได้ 2 ประเภท คือ
1.       การเคลื่อนไหวที่ก่อให้เกิดงานที่มีมูลค่า
2.       การเคลื่อนไหวที่เป็นการสูญเปล่าเช่น การเดิน, การเอื้อม, การหมุน, การก้มที่ไม่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนรูปของผลิตภัณฑ์ ถือได้ว่าเป็นสิ่งที่ต้องกำจัดออกจากกระบวนการผลิต           
 
 
โครงสร้างต้นทุน (Cost Structure)
            โครงสร้างต้นทุน  คือ รายละเอียดต้นทุนของผลิตภัณฑ์ที่แบ่งแยกย่อยเพื่อให้ง่ายต่อการบริหารต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งประกอบด้วยต้นทุนดังรูปที่ 30
            ต้นทุนการผลิตทางตรง (Direct manufacturing cost หรือ Prime cost) คือ ต้นทุนการผลิตของผลิตภัณฑ์ที่สามารถคำนวณเป็นต้นทุนต่อหนึ่งหน่วยผลิตภัณฑ์ ประกอบด้วย
1.       ต้นทุนวัสดุทางตรง คือ วัตถุดิบหรือวัสดุชิ้นส่วนงานที่ใช้สำหรับการผลิตโดยตรงเพื่อแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่สมบูรณ์ สำหรับการประเมินราคาต้นทุนวัตถุดิบทางตรงประกอบด้วย
1.1    ต้นทุนต่อหน่วย (Unit cost) เป็นต้นทุนที่กำหนดจากราคาที่ซื้อจากผู้ผลิต เหมาะสำหรับวัตถุดิบที่ไม่มีการปรับเปลี่ยนราคาขึ้นลง
1.2    ต้นทุนเฉลี่ย (Average cost) เป็นการรวมมูลค่าวัตถุดิบทั้งหมดหารด้วยปริมาณวัตถุดิบดังกล่าว
1.3    ต้นทุนมาตรฐาน (Standard cost) เป็นการประเมินต้นทุนวัตถุดิบในอนาคตและกำหนดเป็นค่ามาตรฐาน ซึ่งไม่ใช่ต้นทุนที่แท้จริง
1.4    ต้นทุนแบบเข้าก่อนออกก่อน (First in first out: FIFO) เป็นการกำหนดต้นทุนของวัตถุดิบที่มีราคาไม่เท่ากันในแต่ละล้อทของการสั่งซื้อ ต้นทุนของวัตถุดิบที่นำไปใช้ในการผลิตจึงพิจารณาราคาจากล้อทวัตถุดิบที่เข้ามาตามลำดับ
1.5    ต้นทุนแบบเข้าหลังออกก่อน (Last in first out: LIFO) เป็นการกำหนดต้นทุนของวัตถุดิบ โดยการพิจารณาจากวัตถุดิบที่เข้าทีหลังจะถูกนำไปใช้ก่อน
2.       ต้นทุนแรงงานทางตรง คือ ค่าจ้างค่าแรงที่แปรผันตามปริมาณผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้ รวมกับเงินโบนัส, ค่าสวัสดิการ, เงินประกันสังคม หรือค่าล่วงเวลาของพนักงานที่ปฏิบัติงานภายในกระบวนการผลิตโดยตรง
3.       ค่าใช้จ่ายการผลิตทางตรง คือ ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตที่ไม่อาจบ่งชี้เจาะจงได้อย่างชัดเจนเหมือนกับต้นทุนวัสดุทางตรงและต้นทุนแรงงานทางตรง เช่น ค่าใช้จ่ายสำหรับที่ปรึกษา (Advisor) ที่มาตรวจสอบกระบวนการผลิตหรือคุณภาพผลิตภัณฑ์สำหรับล้อทการผลิตใดๆ, ค่าอุปกรณ์จับยึด, ค่าใบมีด, ค่าปรับแต่งเครื่องจักร เป็นต้น
            ต้นทุนการผลิตทางอ้อม  (Indirect manufacturing cost) คือ ต้นทุนที่ไม่ได้แปรผันโดยตรงกับปริมาณการผลิต แต่สนับสนุนให้กระบวนการผลิตไหลรื่นคล่องตัว ประกอบด้วย
1.       ต้นทุนวัสดุทางอ้อม คือ วัสดุที่ไม่ใช่ส่วนประกอบหลักของผลิตภัณฑ์ หรือเป็นวัสดุที่มีมูลค่าต่ำ หรือปริมาณการใช้ต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ไม่มาก ซึ่งการแยกออกมาเป็นต้นทุนทางอ้อมจะง่ายกว่าและป้องกันความผิดพลาดทางการคำนวณมูลค่าได้
2.       ต้นทุนค่าแรงทางอ้อม คือ ต้นทุนค่าแรงของพนักงานที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตโดยตรง และไม่สามารถแยกแยะได้ชัดเจนว่าเป็นของผลิตภัณฑ์ใดหรือปริมาณเท่าไร เช่น เงินเดือนหัวหน้างาน, เงินเดือนผู้จัดการแผนก เป็นต้น
3.       ค่าโสหุ้ยการผลิต คือ ค่าใช้จ่ายทางอ้อมที่สนับสนุนการผลิต เช่น ค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุง, ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง, ค่าน้ำ, ค่าไฟฟ้า, ค่าเสื่อมราคา เป็นต้น
            ผลรวมของต้นทุนการผลิตทางตรงและต้นทุนการผลิตทางอ้อม คือ ต้นทุนการผลิตรวม (Total manufacturing cost)
            ค่าโสหุ้ยที่ไม่ใช่ด้านการผลิต (Non-manufacturing overhead cost) คือ ค่าใช้จ่ายที่นอกเหนือจากต้นทุนการผลิต ประกอบด้วย
1.       ค่าใช้จ่ายการขาย คือ ค่าใช้จ่ายส่งเสริมการขายเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กร เช่น ค่าจ้างพนักงานขาย, ค่าโฆษณา, ค่าใช้จ่ายในการติดต่อเพื่อการขาย เป็นต้น
2.       ค่าใช้จ่ายการบริหาร คือ ค่าใช้จ่ายการดำเนินงานของหน่วยงานต่างๆ เช่น ฝ่ายบัญชีและต้นทุน, ฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์, ฝ่ายสารสนเทศ, ฝ่ายจัดซื้อจัดหาเป็นต้น ค่าใช้จ่ายการบริหารจึงประกอบด้วยค่าจ้างผู้บริหาร, ค่าเช่าอาคารสำนักงาน, เงินเดือนพนักงาน, ค่าสวัสดิการบริษัท, ค่าใช้จ่ายการฝึกอบรม, ค่าเดินทาง เป็นต้น
3.       ค่าใช้จ่ายการวิจัยและพัฒนา คือ ค่าใช้จ่ายการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือกระบวนการ เช่น ค่าใช้จ่ายสำหรับที่ปรึกษาเพื่อการปรับปรุงผลิตภัณฑ์, กระบวนการผลิต หรือระบบการปฏิบัติงานภายในองค์กร, เงินเดือนวิศวกร, ค่าใช้จ่ายการออกแบบ เป็นต้น
            ค่าใช้จ่ายการกระจายสินค้า (Distribution expense) คือ ค่าใช้จ่ายที่ส่งมอบสินค้าให้กับลูกค้า ประกอบด้วย
1.       ค่าใช้จ่ายการบรรจุหีบห่อ เพื่อความสะดวกในการขนส่งและป้องกันความเสียหายกับสินค้า เช่น ค่าแรงพนักงาน, ค่าอุปกรณ์เครื่องมือ, บรรจุภัณฑ์ เป็นต้น
2.       ค่าใช้จ่ายการนำสินค้าเข้าและออกตู้บรรทุก เพื่อความสะดวกในการขนส่งและป้องกันความเสียหายกับสินค้า เช่น ค่ารถโฟล์คลิฟท์, ค่าแรงพนักงาน, ค่าอุปกรณ์เครื่องมือ, ค่าธรรมเนียมพิเศษ เป็นต้น
3.       ค่าใช้จ่ายการขนส่ง เพื่อนำสินค้าจากแหล่งผลิตไปยังคลังสินค้าหรือส่งมอบให้กับลูกค้า เช่น ค่ารถบรรทุก, ค่าน้ำมัน, ค่าเช่าสำนักงานหรือคลังสินค้า,ค่าจ้างพนักงาน, ค่าออกใบรับรอง, ค่าภาษีศุลกากร, ค่าพิธีการศุลกากร, ค่าเบี้ยประกันภัย เป็นต้น
            ผลรวมของต้นทุนการผลิตรวม, ค่าโสหุ้ยที่ไม่ใช่ด้านการผลิต และค่าใช้จ่ายการกระจายสินค้า คือต้นทุนรวมของการขาย (Total cost of sales)
            การกำหนดราคาขาย คือ การรวมต้นทุนรวมของการขายกับกำไรที่คาดหวัง โดยกำไรที่คาดหวังสามารถพิจารณาได้ 2 วิธี คือ
1.       การพิจารณาเป็นเปอร์เซ็นต์ของต้นทุน ต้นทุนที่นำมาพิจารณาอาจเป็นต้นทุนรวม, ต้นทุนผันแปร หรือต้นทุนส่วนเพิ่มต่อหน่วย เช่น 15% ของต้นทุนรวมต่อหน่วย หรือ 10% ของต้นทุนส่วนเพิ่มต่อหน่วย เป็นต้น
2.       การพิจารณาจากราคาขายที่แข่งขันได้หักด้วยต้นทุนรวมและหารด้วยต้นทุนรวม การกำหนดราคาขายที่สามารถแข่งขันได้ อาจจะสูงหรือต่ำกว่าคู่แข่งทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยเกื้อหนุนอื่น
                   % กำไรที่คาดหวัง = (ราคาขาย ต้นทุนรวม) / ต้นทุนรวม
            โครงสร้างต้นทุนควรจัดทำเป็นเปอร์เซ็นต์ของราคาขาย ที่เรียกว่า Common Size เพื่อสามารถนำข้อมูลต้นทุนไปเปรียบเทียบ หรือเทียบเคียงกับองค์กรอื่น เพื่อส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างต้นทุนให้ดียิ่งขึ้น
            การพิจารณาโครงสร้างต้นทุนอาจแตกต่างกันในแต่ละองค์กร ขึ้นอยู่กับการนำข้อมูลด้านต้นทุนไปใช้อย่างไร เช่น การพิจารณาต้นทุนการผลิตชิ้นส่วนหรือการปรับปรุงกระบวนการควรใช้อัตราค่าใช้จ่ายของแผนก ดังตัวอย่างต่อไปนี้
            การพิจารณาการผลิตชิ้นส่วนเองทดแทนการสั่งซื้อ ต้องแน่ใจว่าต้นทุนการผลิตเองต่ำกว่าราคาสั่งซื้อ เช่น ราคาสั่งซื้อชิ้นส่วนเท่ากับ 100 บาทต่อหน่วย แต่หากต้นทุนการผลิตเอง (ต้นทุนของแผนก) เท่ากับ 80 บาทต่อหน่วย แสดงว่าควรนำเข้ามาผลิตเอง


 
 
 
            จากการคำนวณจะพบว่าต้นทุนที่นำมาพิจารณาต้นทุนผลิตเองนั้นเป็นต้นทุนของแต่ละแผนก โดยมีสมมติฐานว่าต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายอื่นๆคงที่หรือมีการเปลี่ยนแปลงไม่มากนัก
            กระบวนการผลิตสามารถก่อให้เกิดของเสียได้ ซึ่งอาจมีปัจจัยมาจากความผิดพลาดเผอเรอของคนทำงาน, การชำรุดเสียหายหรือสึกหรอของเครื่องจักร หรือคุณภาพวัสดุไม่ได้มาตรฐาน การคำนวณต้นทุนจำเป็นต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่ายในการแก้ไขผลิตภัณฑ์ที่ด้อยคุณภาพ ต้นทุนที่ได้จึงจะเป็นต้นทุนการผลิตต่อหน่วยที่แท้จริง ซึ่งมีสมการการคำนวณ ดังนี้
                            C = [CP(PP) + CR(PR)] / Y
                            C = ต้นทุนผลิตภัณฑ์แท้จริง (บาทต่อยูนิต)
                            CP = ต้นทุนผลิตภัณฑ์ (บาทต่อยูนิต)
                            PP = ปริมาณการผลิต (ยูนิต)
                            CR = ต้นทุนการแก้ไขผลิตภัณฑ์ (บาทต่อยูนิต)
                            PR = ปริมาณผลิตภัณฑ์ที่แก้ไข (บาทต่อยูนิต)
                            Y = ปริมาณการผลิต (ยูนิต) (รายละเอียดเพิ่มเติม: Productivity/Product Yield)
                      [ตัวอย่างการคำนวณแสดงในตัวอย่างที่ 10]
            ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อต้นทุนการผลิต ประกอบด้วย
1.       ประสิทธิภาพของปริมาณการผลิต ซึ่งจะแปรผันตรงกับประสิทธิภาพต้นทุนของผลิตภัณฑ์ หากปริมาณการผลิตน้อยจะมีผลให้ต้นทุนสูงเกินไป ทำให้ความสามารถเชิงการแข่งขันด้านราคาไม่ประสบผลสำเร็จ
2.       วัตถุดิบหรือชิ้นส่วนการผลิต ถือได้ว่าเป็นต้นทุนหลักของผลิตภัณฑ์ การบริหารวัตถุดิบหรือชิ้นส่วนอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อลดความสูญเสียให้น้อยที่สุด จะช่วยลดค่าใช้จ่ายที่ไม่ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มได้ ลักษณะของวัตถุดิบหรือชิ้นส่วนที่ก่อให้เกิดความเสียหายได้ง่าย เช่น การแตกหัก, การเกิดรอยขูดขีด, การเน่าเสีย เป็นต้น การจัดเก็บและการขนส่งต้องได้รับการควบคุมดูแลเป็นอย่างดี เพื่อลดผลกระทบต่อผลกำไรขององค์กร
3.       ประสิทธิภาพของการสั่งซื้อและการเก็บวัสดุคงคลัง การสั่งซื้อด้วยปริมาณมากจะทำให้ราคาวัสดุต่อหน่วยลดต่ำลง และเพิ่มความเข้มงวดกับการบริหารการจัดเก็บวัสดุคงคลังด้วยปริมาณที่เพียงพอเหมาะสมสำหรับความต้องการของแต่ละกระบวนการ
4.       ค่าการขนส่ง ซึ่งประกอบด้วยต้นทุนการขนส่งวัตถุดิบ, ชิ้นส่วน และสินค้าสำเร็จรูป การเลือกทำเลที่ตั้งจึงเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญยิ่ง ดังนั้นทำเลที่ตั้งทีดีต้องสามารถเข้าถึงวัตถุดิบและผู้บริโภคได้ง่าย บางครั้งอาจต้องพิจารณาต้นทุนการเข้าถึงวัตถุดิบและผู้บริโภคเปรียบเทียบร่วมกับปัจจัยต้นทุนอื่น เพื่อเลือกทำเลที่ตั้งของโรงงานหรือคลังสินค้าว่าควรใกล้กับแหล่งวัตถุดิบหรือผู้บริโภค
5.       ความชำนาญและประสบการณ์ของพนักงาน เป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการปรับปรุงระบบงานและกระบวนการผลิต และเมื่อพนักงานมีความความรู้และเข้าใจในกระบวนการเป็นอย่างดีจะทำให้การปฏิบัติงานได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
 
ข้อกำหนดการส่งมอบสินค้า
            สำหรับธุรกิจที่มีการขนส่งระหว่างประเทศต้องพิจารณาข้อกำหนดในการส่งมอบสินค้า ที่เรียกว่า International commercial term: Inco term ซึ่งจะอธิบายเพียงบางข้อกำหนดดังนี้
1.       ค่าสินค้า, ค่าประกันภัย และค่าระวางขนส่งสินค้า (Cost, Insurance and Freight: CIF) เป็นข้อตกลงระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย โดยที่ผู้ผลิตหรือผู้ขายจะรับผิดชอบค่าขนส่ง, ภาษีขาออก, ค่าระวางขนส่งสินค้า และค่าประกันภัยจนกระทั่งสินค้าถึงปลายทาง ซึ่งผู้ผลิตหรือผู้ขายจะหมดภาระการส่งมอบเมื่อสินค้าผ่านกาบเรือแล้ว
2.       การส่งมอบสินค้าที่ปลอดภาระค่าใช้จ่าย (Free On Board: FOB) ผู้ผลิตหรือผู้ขายจะรับผิดชอบส่งมอบสินค้าจากโรงงานหรือคลังสินค้าไปยังจุดส่งของ ซึ่งอาจจะเป็นจุดส่งของขึ้นรถ, ท่าเรือ หรือสนามบิน กรณีการขนส่งทางเรือผู้ซื้อต้องเช่าเหมาเรือหรือจองระวางเรือเพื่อจัดส่งสินค้าและดำเนินการประกันภัยสินค้าระหว่างการขนส่ง เพราะเมื่อผ่านจุดส่งของแล้วกรรมสิทธิ์ของสินค้าจะเป็นของผู้ซื้อทันที ดังนั้นผู้ขายต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการขนส่ง, ภาษีขาออก และค่าใช้จ่ายอื่นๆ จนกระทั้งสินค้าผ่านกาบเรือ หลังจากนั้นผู้ซื้อต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดรวมทั้งค่าระวางและค่าประกันสินค้า ข้อกำหนดนี้เรียกว่า FOB shipping point
3.       ค่าสินค้าและค่าระวางขนส่งสินค้า (Cost and freight: CFR หรือ C&F) ผู้ผลิตหรือผู้ขายเป็นผู้รับผิดชอบค่าระวางขนส่งสินค้าจนกระทั่งสินค้าถึงปลายทาง และผู้ซื้อต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายอื่นๆ รวมทั้งค่าประกันภัยเมื่อสินค้าผ่านกาบเรือแล้ว ข้อกำหนดนี้อาจเรียกว่า FOB destination
            การพิจารณาเลือกใช้ข้อกำหนดในการส่งมอบสินค้า ควรศึกษาและเปรียบเทียบต้นทุนรวมเพื่อให้ลดค่าใช้จ่ายการขนส่ง เช่น สินค้า A ผลิตและส่งออกจากประเทศไทยเพื่อไปจำหน่ายที่ประเทศญี่ปุ่น พบว่ามีค่าประกันและค่าระวางขนส่งสินค้า (CIF) ของประเทศไทยต่ำกว่า ดังนั้นผู้ซื้อและผู้ขายควรตกลงเลือกข้อกำหนด CIF ของประเทศผู้ส่งออก
            ถ้าสินค้า B ผลิตและจัดส่งออกจากประเทศญี่ปุ่นมาจำหน่ายที่ประเทศไทย เมื่อคิดค่า CIF แล้วพบว่ามีต้นทุนสูงกว่า ดังนั้นจึงเลือกค่า FOB ของประเทศผู้ส่งออก
                  
ต้นทุนมาตรฐาน (Standard cost) และการควบคุมต้นทุน (Cost control)
            ต้นทุนมาตรฐานเป็นต้นทุนต่อหน่วยของผลิตภัณฑ์ เพื่อใช้คำนวณหางบประมาณ (Budgeted cost) ต้นทุนมาตรฐานแสดงให้เห็นต้นทุนที่จะเกิดขึ้นกับผลิตภัณฑ์ทั้งหมดที่ต้องการผลิต เช่น ต้นทุนมาตรฐานของผลิตภัณฑ์เท่ากับ 10 บาท ความต้องการของลูกค้าเท่ากับ 1,000,000 หน่วยที่กระบวนการสามารถผลิตได้ ดังนั้นงบประมาณการใช้จ่ายจะเท่ากับ 10,000,000 บาท
            การกำหนดต้นทุนมาตรฐานต้องกำหนดมาตรฐานกระบวนการที่ชัดเจนและครอบคลุมค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นประกอบด้วยต้นทุนทางตรง (Direct cost), ต้นทุนทางอ้อม (Indirect cost) และค่าโสหุ้ย (Overhead cost) เช่น ต้นทุนวัสดุ (ราคาวัสดุต้องเป็นค่ามาตรฐาน), ค่าเสื่อมราคาของเครื่องจักร, ค่าแรงทางตรงและทางอ้อม, ค่าโสหุ้ยการผลิต, ค่าใช้จ่ายการบริหาร, ค่าโฆษณา, ค่าที่ปรึกษา เป็นต้น
            ต้นทุนทางตรงประกอบด้วยค่าแรงทางตรง (Direct labor cost) โดยปกติแล้วจะกำหนดจากเวลามาตรฐาน (Standard time: ชั่วโมงต่อหน่วย) ที่คูณกับปริมาณการผลิตทั้งหมด (หน่วยต่อปี) และคูณด้วยค่าแรงมาตรฐาน (Rate standard: บาทต่อชั่วโมง) ของปีงบประมาณนั้นจะได้ค่าแรงทางตรงโดยรวม (บาทต่อปี) และต้นทุนวัสดุทางตรง (Direct material cost) ควรกำหนดจากราคาการสั่งซื้อที่ประหยัดที่สุดของแต่ละปีงบประมาณ และควรบวกค่าเผื่อสำหรับของเสียที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในระบบการผลิต
            สำหรับต้นทุนทางอ้อม (Indirect cost) และค่าโสหุ้ย (Overhead cost) อาจพิจารณาเฉลี่ยค่าต้นทุนจากปริมาณการผลิต หรือจัดสรรแบ่งแยกเป็นต้นทุนมาตรฐานผันแปร (Standard variable cost) และต้นทุนมาตรฐานคงที่ (Standard fixed cost) การเฉลี่ยค่าต้นทุนอาจพิจารณาระดับของการดำเนินกิจกรรมร่วมด้วย ซึ่งแต่ละกิจกรรมต้องกำหนดเป็นมาตรฐานเพื่อให้สามารถคำนวณและอ้างอิงได้ง่าย
            การคำนวณต้นทุนมาตรฐานต้องกระจายต้นทุนค่าแรงงาน, ค่าวัสดุ และค่าโสหุ้ยเข้าไปในหนึ่งหน่วยของผลิตภัณฑ์
            การควบคุมต้นทุนเป็นการศึกษาต้นทุนมาตรฐานและต้นทุนแท้จริงของผลิตภัณฑ์เพื่อเปรียบเทียบให้เห็นภาพสะท้อนของการเปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงด้านวัสดุการผลิต, กระบวนการ หรือราคาสินค้า ซึ่งจะบ่งชี้ถึงความสำเร็จของการปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร ดังนั้นการตรวจติดตามและการวิเคราะห์ความแปรปรวนจึงเป็นสิ่งจำเป็น
 
การวิเคราะห์ความแปรปรวน (Variance analysis)
            การวิเคราะห์ความแปรปรวน คือ การศึกษาและเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างข้อมูลที่แท้จริงที่เกิดขึ้นกับข้อมูลมาตรฐาน เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพของกระบวนการและการปฏิบัติงาน ซึ่งจะช่วยในการปรับปรุงกระบวนการและบริหารต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิผล
            การวิเคราะห์ความแปรปรวน ประกอบด้วย
1.       ต้นทุนค่าแรงทางตรงมาตรฐาน ประกอบด้วย
1.1    อัตราค่าแรงมาตรฐาน (Standard wage rate)
1.2    ชั่วโมงปฏิบัติงานมาตรฐาน (Standard hours)
การวิเคราะห์ความแปรปรวนค่าแรงงานทางตรงสามารถอธิบายได้ 2 ส่วน คือ
1.       ความแปรปรวนของอัตราค่าแรงมาตรฐาน (Wage rate variance)
2.      วามแปรปรวนของประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน (Labor efficiency variance)
3.       ความแปรปรวนของงบประมาณค่าแรง (Budgeted labor cost variance)

  จะได้
ต้นทุนค่าแรงแท้จริง = (0.25 x 100,000) x 110  
                               = 2,750,000 บาทต่อปี

ต้นทุนค่าแรงมาตรฐาน = (0.25 x 100,000) x 100
                                    = 2,500,000 บาทต่อปี

ต้นทุนตามงบประมาณ = (0.20 x 100,000) x 100
                           = 2,000,000 บาทต่อปี

ความแปรปรวนของอัตราค่าแรงมาตรฐาน = ต้นทุนค่าแรงแท้จริง ต้นทุนค่าแรงมาตรฐาน
                                                              = 2,750,000 – 2,500,000
                                                                     = 250,000 บาท
ความแปรปรวนของประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน = ต้นทุนค่าแรงมาตรฐาน ต้นทุนตามงบประมาณ
                                                                        = 2,500,000 – 2,000,000
                                                                          = 500,000 บาท
ความแปรปรวนของงบประมาณค่าแรง = ต้นทุนค่าแรงแท้จริง ต้นทุนค่าแรงตามงบประมาณ
                                                           = 2,750,000 – 2,000,000
                                                           = 750,000 บาท
        ความแปรปรวนของอัตราค่าแรงมาตรฐาน ที่ต้นทุนค่าแรงแท้จริงมากกว่ากว่าต้นทุนค่าแรงมาตรฐาน แสดงว่า อัตราค่าแรงแท้จริงมากกว่าอัตราค่าแรงมาตรฐาน ซึ่งอาจเกิดจากการควบคุมต้นทุนค่าจ้างแรงงาน, สวัสดิการ หรือโบนัสไม่บรรลุตามเป้าหมายหรือกิจกรรมที่วางไว้

        ความแปรปรวนของประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ที่ต้นทุนค่าแรงมาตรฐานมากกว่าต้นทุนค่าแรงตามงบปริมาณ แสดงว่า ชั่วโมงการปฏิบัติงานแท้จริงมากกว่าชั่วโมงปฏิบัติงานมาตรฐาน ซึ่งอาจเกิดจากการควบคุมและการบริหารการปฏิบัติงานไม่มีประสิทธิภาพ, กระบวนการไม่ไหลรื่น, เครื่องจักรไม่ได้รับการดูแล, พนักงานขาดทักษะการทำงาน, การเบิกจ่ายวัสดุล่าช้า, วัสดุไม่เพียงพอกับความต้องการของกระบวนการ เป็นต้น

        ความแปรปรวนของงบประมาณค่าแรง ที่ต้นทุนค่าแรงแท้จริงมากกว่าต้นทุนค่าแรงตามงบประมาณ แสดงว่า อัตราค่าจ้างแท้จริงและชั่วโมงปฏิบัติงานแท้จริงมากกว่าอัตราค่าจ้างอัตราค่าแรงมาตรฐานและชั่วโมงปฏิบัติงานมาตรฐาน ตามลำดับ ซึ่งมีผลให้บริษัทได้รับผลกำไรต่ำกว่าที่วางแผนไว้ในปีนี้เท่ากับ 750,000 บาท

        การควบคุมและการปรับปรุงความแปรปรวนของอัตราค่าแรงมาตรฐาน เป็นหน้าที่ของหน่วยงานทรัพยากรมนุษย์ที่ต้องควบคุมต้นทุนค่าแรงทางตรงด้านต่างๆ และการดำเนินกิจกรรมสำหรับแรงงานทางตรง และหน่วยงานผลิตต้องบริหารการปรับเพิ่มเงินเดือนให้สอดคล้องกับนโยบายขององค์กร

        สำหรับความแปรปรวนของประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน เป็นหน้าที่ของหน่วยงานการผลิตโดยตรงที่ต้องบริหารและควบคุมประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานให้สูงสุดอย่างต่อเนื่อง

        สำหรับความแปรปรวนของงบประมาณค่าแรง เป็นหน้าที่ของหน่วยงานทรัพยากรมนุษย์และหน่วยงานผลิต ที่จะต้องทำงานร่วมกันในการบริหารอัตราค่าแรงมาตรฐานและประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน

 
1.       ต้นทุนค่าวัสดุทางตรงมาตรฐาน ประกอบด้วย
1.1    ราคาวัสดุมาตรฐาน (Standard price)
1.2    ปริมาณการใช้วัสดุมาตรฐาน (Standard material usage)

การวิเคราะห์ความแปรปรวนค่าแรงงานทางตรงสามารถอธิบายได้ 4 ส่วน คือ
1.       ความแปรปรวนของราคาวัสดุ (Price variance)
2.       ความแปรปรวนของปริมาณการใช้วัสดุ (Material usage variance)
3.       ความแปรปรวนของค่าวัสดุทางตรง (Direct material cost variance)
4.       ความแปรปรวนของค่าวัสดุทางตรงแท้จริง (Actual direct material cost variance)

จะได้
ต้นทุนวัสดุแท้จริง = 150,000 x 60
                           = 9,000,000 บาทต่อปี

ต้นทุนวัสดุมาตรฐาน = 150,000 x 50
                               = 7,500,000 บาทต่อปี

ต้นทุนการใช้มาตรฐาน = 120,000 x 50
                                      = 6,000,000 บาทต่อปี

ต้นทุนการใช้ตามงบประมาณ = 100,000 x 50
                                                  = 5,000,000 บาทต่อปี
ความแปรปรวนของราคาวัสดุ = ต้นทุนวัสดุแท้จริง ต้นทุนวัสดุมาตรฐาน
                                            = 9,000,000 – 7,500,000
                                                  = 1,500,000 บาท
ความแปรปรวนของปริมาณการใช้วัสดุ = ต้นทุนการใช้มาตรฐาน ต้นทุนการใช้ตามงบประมาณ
                                                         = 6,000,000 – 5,000,000
                                                                 = 1,000,000 บาท
ความแปรปรวนของค่าวัสดุทางตรง = ต้นทุนวัสดุแท้จริง ต้นทุนการใช้ตามงบประมาณ
                                                          = 9,000,000 – 5,000,000
                                                          = 4,000,000 บาท
               ความแปรปรวนของราคาวัสดุ ที่ต้นทุนวัสดุแท้จริงมากกว่ากว่าต้นทุนวัสดุมาตรฐาน แสดงว่า ราคาวัสดุแท้จริงมากกว่าราคาวัสดุมาตรฐาน ซึ่งอาจเกิดจากการบริหารและควบคุมราคาไม่มีประสิทธิภาพ, การคาดการณ์ปริมาณวัสดุในอนาคตผิดพลาดทำให้การต่อรองราคาไม่สัมฤทธิผล, หรือการปรับตัวของราคาวัสดุที่เพิ่มขึ้นอย่างไม่คาดคิด

               ความแปรปรวนของปริมาณการใช้วัสดุ ที่ต้นทุนการใช้มาตรฐานมากกว่าต้นทุนการใช้ตามงบประมาณ แสดงว่า ปริมาณการใช้จริงมากกว่าปริมาณการใช้ตามงบประมาณ (ประเภทและปริมาณวัสดุควรอ้างอิงกับโครงสร้างชิ้นส่วน (Part structure)) ซึ่งอาจเกิดจากกระบวนการไม่มีประสิทธิภาพ, พนักงานไม่ได้รับการสอนงานให้มีทักษะที่ดี, เครื่องจักรเสื่อมสภาพ หรือวัสดุไม่มีคุณภาพทำให้ปริมาณวัสดุมากกว่าที่ควรจะเป็น

               ความแปรปรวนของค่าวัสดุทางตรง ที่ต้นทุนวัสดุแท้จริงมากกว่าต้นทุนการใช้ตามงบประมาณ แสดงว่า ปริมาณการสั่งซื้อจริงและราคาวัสดุแท้จริงมากกว่าปริมาณการใช้ตามงบประมาณและราคามาตรฐาน ตามลำดับ ซึ่งบ่งบอกว่ามีการจัดเก็บวัสดุคงคลังที่มีราคาสูงกว่าราคามาตรฐานไว้มากเกินไป และมีผลให้เกิดต้นทุนจมภายในกระบวนการ
               อย่างไรก็ตาม การวิเคราะห์ความแปรปรวนสามารถแสดงให้เห็นราคาวัสดุแท้จริงและปริมาณการใช้จริง แตกต่างกับต้นทุนการใช้ตามงบปริมาณ ดังนี้

      ความแปรปรวนของค่าวัสดุทางตรงแท้จริง ที่ต้นทุนวัสดุแท้จริงมากกว่าต้นทุนการใช้ตามงบประมาณ แสดงว่า ปริมาณการใช้จริงและราคาวัสดุแท้จริงมากกว่าปริมาณการใช้ตามงบประมาณและราคามาตรฐาน ตามลำดับ ซึ่งมีผลให้บริษัทได้รับผลกำไรต่ำกว่าที่วางแผนไว้ตามงบประมาณเท่ากับ 2,200,000 บาท

       การควบคุมและการปรับปรุงความแปรปรวนของราคาวัสดุ เป็นหน้าที่ของหน่วยงานจัดซื้อจัดหาที่ต้องบริหารและควบคุมราคาวัสดุแท้จริงเท่ากับราคาวัสดุมาตรฐาน

               สำหรับความแปรปรวนของปริมาณการใช้วัสดุ เป็นหน้าที่ของหน่วยงานการผลิตที่ต้องควบคุมและปรับปรุงกระบวนการให้มีประสิทธิภาพไม่ก่อให้เกิดของเสียระหว่างการผลิต และออกแบบแผนการฝึกอบรมพนักงานอย่างเป็นระบบเพื่อลดโอกาสที่จะก่อให้เกิดของเสีย บางครั้งของเสียอาจหลุดรอดเข้าสู่กระบวนการผลิตได้ ดังนั้นหน่วยงานบริหารงานคุณภาพจะต้องเข้มงวดกับการตรวจสอบคุณภาพชิ้นงานนำเข้า  

          สำหรับความแปรปรวนของค่าวัสดุทางตรง และค่าวัสดุทางตรงแท้จริง เป็นหน้าที่ของทั้งหน่วยงานจัดซื้อจัดหา, หน่วยงานผลิต และหน่วยงานบริหารงานคุณภาพ ด้วยการควบคุมปริมาณการใช้, ราคาวัสดุ หรือคุณภาพชิ้นงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร

 
3.       ค่าโสหุ้ย  ประกอบด้วย
3.1    ค่าโสหุ้ยคงที่ (Fixed overhead cost) กำหนดจากการเฉลี่ยค่าต้นทุนคงที่มาตรฐาน (Standard fixed cost)
3.2    ค่าโสหุ้ยผันแปร (Variable overhead cost) กำหนดจากการเฉลี่ยค่าต้นทุนผันแปรมาตรฐาน (Standard variable cost)

การวิเคราะห์ความแปรปรวนค่าโสหุ้ยสามารถอธิบายได้ 2 ส่วน คือ
1.       ความแปรปรวนของค่าโสหุ้ยคงที่ (Fixed overhead cost variances) สามารถแบ่งได้เป็น 3 ความแปรปรวน คือ
1.1    ความแปรปรวนของค่าใช้จ่าย (Expenditure variance)
1.2    ความแปรปรวนของปริมาณ (Volume variance)
1.3  ความแปรปรวนรวม (Total variance)
 
 
จะได้
งบประมาณคงที่ = 5,000 x 50
                           = 250,000 บาทต่อเดือน
ค่าโสหุ้ยคงที่มาตรฐาน = 4,500 x 50
                                      = 225,000 บาทต่อเดือน
ความแปรปรวนของค่าใช้จ่าย = ค่าโสหุ้ยแท้จริง งบประมาณคงที่
                                                  = 220,000 – 250,000
                                                  = -30,000 บาท
ความแปรปรวนเนื่องจากปริมาณ = งบประมาณคงที่ค่าโสหุ้ยคงที่มาตรฐาน
                                                       = 250,000 – 225,000
                                                       = 25,000 บาท

          ความแปรปรวนของค่าใช้จ่าย ที่ค่าโสหุ้ยคงที่แท้จริงน้อยกว่างบประมาณคงที่ แสดงว่า ค่าใช้จ่ายแท้จริงน้อยกว่างประมาณที่วางไว้ ซึ่งอาจเกิดจากการกำหนดงบประมาณคงที่ไว้สูงเกินจริง, ประเมินอัตราค่าโสหุ้ยคงที่มาตรฐานสูงเกินไป, ประเมินชั่วโมงปฏิบัติงานมาตรฐานสูงเกินจริง, ค่าใช้จ่ายบางอย่างไม่ได้นำมารวมเป็นค่าโสหุ้ย หรือค่าใช้จ่ายได้รับส่วนลด

               ความแปรปรวนเนื่องจากปริมาณ ที่งบประมาณคงที่มากกว่าค่าโสหุ้ยคงที่มาตรฐาน แสดงว่า ชั่วโมงปฏิบัติงานมาตรฐานมากกว่าชั่วโมงปฏิบัติงานแท้จริง ซึ่งเกิดจากการประเมินชั่วโมงปฏิบัติงานไม่ถูกต้อง

               ความแปรปรวนโดยรวม ที่ค่าโสหุ้ยคงที่แท้จริงน้อยกว่าค่าโสหุ้ยคงที่มาตรฐานและมีค่าใกล้เคียงกัน แสดงว่าการกำหนดอัตราค่าโสหุ้ยคงที่มาตรฐานค่อนข้างมีความถูกต้อง แต่อาจมีการปรับเปลี่ยนหรือปรับลดต้นทุนคงที่

                 การควบคุมและการปรับปรุงความแปรปรวนของค่าใช้จ่าย เป็นหน้าที่ของหน่วยงานผลิต, ทรัพยากรมนุษย์ และบัญชีและการเงินที่ต้องบริหารและควบคุมค่าเสื่อม, เงินเดือนผู้บริหาร, ค่าเช่าโรงงานหรือค่าใช้จ่ายคงที่อื่นๆ ให้สอดคล้องกับงบประมาณคงที่ ในทางปฏิบัติจริงการควบคุมค่าใช้จ่ายทำได้ยาก เพราะสถานการณ์การแข่งขันที่ไม่แน่นอนทำให้การบริหารค่าใช้จ่ายมีความแปรปรวนได้มาก

                 สำหรับการควบคุมและการปรับปรุงความแปรปรวนเนื่องจากปริมาณ เป็นหน้าที่ของหน่วยงานผลิตโดยตรงที่ต้องควบคุมประสิทธิภาพการทำงานให้ดีที่สุด เพื่อให้ชั่วโมงปฏิบัติงานแท้จริงไม่มากกว่าชั่วโมงปฏิบัติงานมาตรฐาน

              หากกำหนดงบประมาณคงที่ (Fixed overhead budget) จะมีผลกับความแปรปรวนเนื่องจากปริมาณ เพราะชั่วโมงปฏิบัติงานมาตรฐานและชั่วโมงปฏิบัติงานแท้จริงไม่เท่ากัน แต่หากกำหนดงบประมาณแบบยืดหยุ่น (Flexible budget) ที่พิจารณาค่าใช้จ่ายหรือค่าโสหุ้ย ณ ชั่วโมงปฏิบัติงานที่แตกต่างกัน ความแปรปรวนเนื่องจากปริมาณจะหายไปและมีเพียงความแปรปรวนของค่าใช้จ่าย เพราะเป็นการวิเคราะห์ความแปรปรวนที่ชั่วโมงปฏิบัติงานหนึ่งๆ ซึ่งชั่วโมงปฏิบัติงานมาตรฐานจะเท่ากับชั่วโมงปฏิบัติงานแท้จริง แต่อัตราค่าโสหุ้ยคงที่มาตรฐานจะแปรผันตามค่าใช้จ่ายของแต่ละกิจกรรมและชั่วโมงปฏิบัติงานเช่น


จะได้
               อัตราค่าโสหุ้ยคงที่มาตรฐาน ณ 4,000 ชั่วโมง = 250,000 / 4,000 = 62.5 บาท
               อัตราค่าโสหุ้ยคงที่มาตรฐาน ณ 4,000 ชั่วโมง = 320,000 / 6,000 = 53.3 บาท
               อัตราค่าโสหุ้ยคงที่มาตรฐาน ณ 4,000 ชั่วโมง = 440,000 / 8,000 = 55.0 บาท

2.       ความแปรปรวนของค่าโสหุ้ยผันแปร (Variable overhead cost variances) สามารถแบ่งได้เป็น 2 ความแปรปรวน คือ

2.1    ความแปรปรวนของค่าใช้จ่าย (Expenditure variance)
2.2    ความแปรปรวนประสิทธิภาพ (Efficiency variance)
2.3  ความแปรปรวนงบประมาณ (Budget variance)
จะได้
ค่าโสหุ้ยผันแปรมาตรฐาน =4,500 x 75
                                          = 337,500 บาทต่อเดือน

งบประมาณผันแปร = 5,000 x 75
                                 = 375,000 บาทต่อเดือน

ความแปรปรวนของค่าใช้จ่าย = 400,000 – 337,500
                                                  = 62,500 บาท

ความแปรปรวนของประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน = 337,500 – 375,000
                                                                             = -37,500 บาท

                ควมแปรปรนของค่ใช้จ่ ที่ค่โสหุ้ยผันแปรแท้จริงมกกว่ค่โสหุ้ยผันแปรมตรฐน แสดงว่า ค่าใช้จ่ายแท้จริงน้อยกว่าค่าโสหุ้ยผันแปรมาตรฐาน ซึ่งอาจเกิดจากการประเมินอัตราค่าโสหุ้ยผันแปรมาตรฐานต่ำเกินไป หรือมีค่าโสหุ้ยผันแปรที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้คาดการณ์ล่วงหน้า

                 ความแปรปรนของประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ที่ค่าโสหุ้ยผันแปรแท้จริงน้อยกว่างบประมาณผันแปร แสดงว่า ชั่วโมงปฏิบัติงานแท้จริงน้อยกว่าชั่วโมงปฏิบัติงานมาตรฐาน ซึ่งอาจเกิดจากการปรับปรุงและบริหารกระบวนการอย่างมีประสิทธิภาพ

                 ความแปรปรวนของงบประมาณ ที่ค่าโสหุ้ยผันแปรแท้จริงมากกว่างบประมาณผันแปร แสดงว่าการกำหนดอัตราค่าโสหุ้ยผันแปรมาตรฐานไม่ถูกต้อง หรือมีการปรับเปลี่ยนหรือปรับเพิ่มค่าใช้จ่ายบางอย่างทำให้เกิดค่าความแตกต่าง

4. การขาย ประกอบด้วย
4.1    ราคาขาย (Selling price)
4.2    ปริมาณการขาย (Sales volume)
การวิเคราะห์ความแปรปรวนยอดขายสามารถอธิบายได้ 3 ส่วน คือ
1.       ความแปรปรวนของราคาขาย (Selling price variance)
2.       ความแปรปรวนของปริมาณการขาย (Sales volume variance)
3.       ความแปรปรวนของการขายรวม (Total sales variance)


ราคาขาย = 100 บาทต่อหน่วย
ต้นทุน = 80 บาทต่อหน่วย
กำไรต่อหน่วยที่คาดหวัง 25 บาทต่อหน่วย
ปริมาณการขายจริง = 120,000 หน่วยต่อเดือน
ปริมาณการขายตามแผน = 150,000 หน่วยต่อเดือน

จะได้
กำไรที่แท้จริง = 120,000 x (100 – 80)
                    = 240,000 บาทต่อเดือน

ผลกำไรที่คาดหวัง = 120,000 x 25
                              = 300,000 บาทต่อเดือน

ผลกำไรตามแผน = 150,000 x 25
                          = 375,000 บาทต่อหน่วย

ความแปรปรวนของราคาขาย = 240,000 – 300,000
                                                  = -60,000 บาท

ความแปรปรวนของปริมาณการขาย = 300,000 – 375,000 บาท
                                                            = -75,000 บาท

ความแปรปรวนการขายรวม = 240,000 – 375,000
                                               = 135,000 บาท
                 ความแปรปรวนของราคาขาย ที่กำไรแท้จริงน้อยกว่าผลกำไรที่คาดหวัง แสดงว่า การกำหนดราคาขายต่ำกว่าราคาที่ควรจะเป็น ซึ่งอาจมีผลมาจากสภาพการแข่งขันหรือการดำเนินกลยุทธ์การตลาด ทำให้กำไรส่วนเกิน (Contribution) ที่แท้จริงน้อยกว่ากำไรต่อหน่วยที่คาดหวังไว้ จึงทำให้บริษัทได้รับผลกำไรต่ำกว่าที่คาดหวังไว้
            ความแปรปรวนของของปริมาณการขาย ที่ผลกำไรที่คาดหวังต่ำกว่าผลกำไรตามแผน แสดงว่า ปริมาณการขายจริงน้อยกว่าปริมาณการขายตามแผนที่ระดับกำไรส่วนเกินเท่ากัน (25 บาทต่อหน่วย) บริษัทควรปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ด้วยการลดราคาเพื่อให้ปริมาณขายเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะทำให้ได้รับผลกำไรสูงขึ้นด้วย
                ความแปรปรวนของการขายรวม ที่กำไรแท้จริงน้อยกว่าผลกำไรตามแผน ซึ่งค่าความแตกต่างค่อนข้างสูง แสดงว่าบริษัทได้รับผลกำไรต่ำกว่าแผนที่วางไว้ถึง 135,000 บาท (36%) ดังนั้นบริษัทอาจต้องปรับเพิ่มราคาขายเพื่อเพิ่มกำไรต่อหน่วย หรือปรับลดราคาขายเพื่อเพิ่มปริมาณการขาย ทั้งนี้ก็แปรผันตามสภาพการแข่งขันของผลิตภัณฑ์นั้น

 

 

 

            การวิเคราะห์ความแปรปรวนที่กล่าวมาข้างต้น จะพบว่าความแปรปรวนมีทั้งด้านบวกและด้านลบแตกต่างกันไป ซึ่งขึ้นอยู่กับการกำหนดค่ามาตรฐานและการบริหารกระบวนการ อย่างไรก็ตามสามารถกำหนดค่าความแปรปรวนได้เป็น 3 กลุ่ม คือ

1.       ความแปรปรวนที่น่าพอใจ (Favorable variance) คือ ค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนที่เกิดขึ้นจริงมีค่าน้อยกว่าค่ามาตรฐานหรือค่าตามงบประมาณ

2.       ความแปรปรวนที่ไม่น่าพอใจ (Unfavorable variance) คือ ค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนที่เกิดขึ้นจริงมีค่ามากกว่าค่ามาตรฐานหรือค่าตามงบประมาณ

3.       ความแปรปรวนเป็นศูนย์หรือความแปรปรวนเชิงอุดมคติ (Zero variance) คือ ค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนที่เกิดขึ้นมีค่าเท่ากับค่ามาตรฐานหรือค่าตามงบปริมาณ ซึ่งมีโอกาสเป็นไปได้เมื่อกำหนดค่ามาตรฐานหรือค่าตามงบประมาณได้อย่างถูกต้อง แต่ในทางปฏิบัติโอกาสเป็นไปได้น้อยมาก



 



 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น