Total Manufacturing Management
Vision & Mission
วิสัยทัศน์ & ภารกิจ
การเงิน (Finance)
การเงิน คือ การบริหารและจัดการเกี่ยวกับเงิน ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับการนำเงินไปลงทุน หรือนำไปใช้จ่ายในรูปแบบหนึ่งแบบใดที่ชัดเจน
การเงิน คือ การบริหารและจัดการเกี่ยวกับเงิน ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับการนำเงินไปลงทุน หรือนำไปใช้จ่ายในรูปแบบหนึ่งแบบใดที่ชัดเจน
การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน
(Break–even point analysis:
BEP)
การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน
หรือการวิเคราะห์กำไรเชิงปริมาณและต้นทุน (Cost-volume-profit)
เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ของต้นทุนคงที่, ต้นทุนผันแปร และกำไร เพื่อคำนวณหาปริมาณการผลิตหรือการขายที่คุ้มทุน
จุดคุ้มทุนเกิดขึ้นเมื่อรายรับและต้นทุนรวมมีค่าเท่ากัน
หมายความว่า เป็นจุดที่ไม่ก่อให้เกิดกำไรหรือขาดทุน โดยรายรับนั้นได้จากการขาย
และต้นทุนรวมประกอบด้วยต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปร
เงื่อนไขของการวิเคราะห์นี้ คือ ราคาขายต่อหน่วยคงที่ (ไม่มีส่วนลดจากปริมาณการขาย)
การวิเคราะห์นี้สามารถนำไปใช้ในการพยากรณ์กำไรที่เกิดขึ้น
เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงต้นทุน หรือปริมาณการขาย เพื่อกำหนดแผนงบประมาณสำหรับการเพิ่มปริมาณการขายให้บรรลุผลกำไรที่ต้องการ
และช่วยในการตัดสินใจสำหรับการกำหนดโครงสร้างต้นทุน, การกำหนดสัดส่วนปริมาณการขายของแต่ละผลิตภัณฑ์
หรือการเพิ่มกำลังการผลิต
จากรูปที่
43 จะพบว่าจุดคุ้มทุน คือ จุด A และปริมาณสูงสุดตามงบประมาณ
คือ จุด B โดยที่ส่วนเกินที่ปลอดภัย คือ
ผลต่างของปริมาณสูงสุดกับปริมาณจุดคุ้มทุน หากมีค่าสูงแสดงว่ามีโอกาสทำกำไรได้มากขึ้น
จุดคุ้มทุนสามารถคำนวณได้จากสมการ BEP = FC / (P-VC)
FC
(Fixed cost) คือ ต้นทุนคงที่
P (Price) คือ ราคาขายต่อหน่วย
VC (Variable cost) คือ
ต้นทุนผันแปรต่อหน่วย
การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน (Financial ratios analysis)
อัตราส่วนทางการเงินเป็นอัตราส่วนที่แสดงสถานการณ์ทางการเงินของบริษัทและใช้เปรียบเทียบกับบริษัทหรือธุรกิจคู่แข่ง อัตราเหล่านี้ประกอบด้วย ความสามารถในการชำระคืนหนี้สินหรืออัตราส่วนสภาพคล่อง (Liquidity ratios), อัตราส่วนความสามารถทำกำไร (Profitability ratios), ความสามารถของการบริหารทรัพย์สินหรือประสิทธิภาพ) หรือ ความสามารถในการดึงดูดความสนใจของนักลงทุน
ความสามารถในการชำระคืนหนี้สินหรืออัตราส่วนสภาพคล่อง (Liquidity ratios)
Current ratio = Current Assets / Current Liabilities
อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน = สินทรัพย์หมุนเวียน / หนี้สินระยะสั้น
อัตราส่วนนี้ แสดงให้เห็นถึงอัตราส่วนของเงินสดหรือสินทรัพย์หมุนเวียนที่สามารถแปลงเป็นเงินสดได้ภายในระยะเวลาการดำเนินการ โดยปกติกำหนดไว้ 1 ปี เช่น วัสดุคงคลัง, ลูกหนี้ เป็นต้น กับหนี้สิน เช่น เจ้าหนี้, เงินกู้ค้างชำระ เป็นต้น ดังนั้นอัตราส่วนนี้ ควรเท่ากับ 2:1 จึงเป็นการแสดงว่าบริษัทมีสุขภาพทางการเงินที่ดี
Acid test ratio / Quick ratio = Current Assets less Stock / Current Liabilities
ส่วนเงินทุนหมุนเวียนเร็ว = [ เงินสด + หลักทรัพย์ที่ต้องการของตลาด + ลูกหนี้ ] / หนี้สินระยะสั้น
อัตราส่วนนี้ แสดงให้เห็นถึงอัตราส่วนของสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่อง เพื่อการจ่ายชำระหนี้ระยะสั้น ซึ่งไม่รวมวัสดุคงคลัง กับหนี้สิน ดังนั้นอัตราส่วนนี้ควรมีค่าสูง จะเป็นการแสดงว่ามีความคล่องตัวทางการเงินของสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่อง โดยปกติควรมีอัตราส่วนอย่างน้อย 1:1
อัตราส่วนทางการเงินเป็นอัตราส่วนที่แสดงสถานการณ์ทางการเงินของบริษัทและใช้เปรียบเทียบกับบริษัทหรือธุรกิจคู่แข่ง อัตราเหล่านี้ประกอบด้วย ความสามารถในการชำระคืนหนี้สินหรืออัตราส่วนสภาพคล่อง (Liquidity ratios), อัตราส่วนความสามารถทำกำไร (Profitability ratios), ความสามารถของการบริหารทรัพย์สินหรือประสิทธิภาพ) หรือ ความสามารถในการดึงดูดความสนใจของนักลงทุน
ความสามารถในการชำระคืนหนี้สินหรืออัตราส่วนสภาพคล่อง (Liquidity ratios)
Current ratio = Current Assets / Current Liabilities
อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน = สินทรัพย์หมุนเวียน / หนี้สินระยะสั้น
อัตราส่วนนี้ แสดงให้เห็นถึงอัตราส่วนของเงินสดหรือสินทรัพย์หมุนเวียนที่สามารถแปลงเป็นเงินสดได้ภายในระยะเวลาการดำเนินการ โดยปกติกำหนดไว้ 1 ปี เช่น วัสดุคงคลัง, ลูกหนี้ เป็นต้น กับหนี้สิน เช่น เจ้าหนี้, เงินกู้ค้างชำระ เป็นต้น ดังนั้นอัตราส่วนนี้ ควรเท่ากับ 2:1 จึงเป็นการแสดงว่าบริษัทมีสุขภาพทางการเงินที่ดี
Acid test ratio / Quick ratio = Current Assets less Stock / Current Liabilities
ส่วนเงินทุนหมุนเวียนเร็ว = [ เงินสด + หลักทรัพย์ที่ต้องการของตลาด + ลูกหนี้ ] / หนี้สินระยะสั้น
อัตราส่วนนี้ แสดงให้เห็นถึงอัตราส่วนของสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่อง เพื่อการจ่ายชำระหนี้ระยะสั้น ซึ่งไม่รวมวัสดุคงคลัง กับหนี้สิน ดังนั้นอัตราส่วนนี้ควรมีค่าสูง จะเป็นการแสดงว่ามีความคล่องตัวทางการเงินของสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่อง โดยปกติควรมีอัตราส่วนอย่างน้อย 1:1
เกียริ่งอาจกล่าวง่ายๆได้ว่าเป็นอัตราส่วนของหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น
โดยที่หนี้สินหมายถึงหุ้นบุริมสิทธิ์, หุ้นกู้, เงินกู้ยืมระยะยาว,
หนี้สินหมุนเวียนหรือเงินเบิกเกินบัญชี สำหรับส่วนของผู้ถือหุ้นหมายถึงเงินทุนจดทะเบียน,
ทุนสำรอง, เงินกู้ยืมระยะยาว หรือหุ้นสามัญ
หากเกียริ่งมีค่าสูงแสดงว่าบริษัทกู้ยืมเงินจำนวนมาก
ซึ่งมีความเสี่ยงสูงในการลงทุนเพราะต้องรับภาระหนี้สินสูงขึ้น แต่หากผลกำไรสูงขึ้นผู้ถือหุ้นก็มีโอกาสได้รับเงินปันผลจำนวนมากเช่นกัน
หากเกียริ่งมีค่าต่ำแสดงว่าบริษัทกู้ยืมเงินเป็นจำนวนน้อย
ทำให้โอกาสในการขยายธุรกิจไม่เต็มที่
แต่มีความปลอดภัยที่จะได้รับเงินปันผลอย่างต่อเนื่องแม้ว่าจะได้ไม่มากนัก
หากความสามารถในการชำระคืนดอกเบี้ยมีค่ามาก เช่น
20 เท่าแสดงว่าผลกำไรก่อนหักภาษีมากกว่าดอกเบี้ยจ่าย
20 เท่า ซึ่งบ่งบอกว่าฐานะการเงินมั่นคงและสร้างความมั่นใจให้กับเจ้าหนี้ว่าจะได้รับดอกเบี้ยและเงินต้น
สำหรับเกียริ่งและความสามารถในการชำระคืนดอกเบี้ย
สามารถเรียกว่าเป็นอัตราส่วนโครงสร้างเงินทุน (Capital
ratio)
อัตราส่วนความสามารถทำกำไร (Profitability ratios)
กำไรจากการดำเนินงาน
(Operating profit) คือ ผลต่างของกำไรขั้นต้น (Gross profit) กับต้นทุนการบริหาร (Administration
cost) โดยที่กำไรขั้นต้น เป็นผลต่างของยอดขาย (Sales) กับต้นทุนสินค้า (Cost of goods sold)
นอกจากนี้สามารถแบ่งกำไรได้ดังนี้
1.
กำไรสุทธิก่อนหักดอกเบี้ยและภาษี (Profit
before interest and taxation)
2.
กำไรสุทธิก่อนหักภาษี (Profit before taxation)
3.
กำไรสุทธิหลังหักภาษี (Profit after taxation)
4. กำไรสุทธิหลังหักภาษีและจ่ายเงินปันผล (Profit after taxation and preference dividend)
Return
on assets (ROA) = Profit / Assets
ผลตอบแทนจากทรัพย์สิน = อัตราส่วนของผลกำไร / ทรัพย์สินทั้งหมด
หากค่า ROA มีค่าสูงแสดงว่าทรัพย์สินก่อให้เกิดรายได้สูง บ่งชี้ว่าการลงทุนในทรัพย์สินเป็นการดำเนินการที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
Return on equity (ROE) = Profit / Equity
ผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือทุน = ผลกำไร / ส่วนของผู้ถือหุ้น
หากค่า ROE มีค่าสูงแสดงว่าผู้ถือหุ้นได้รับผลกำไรที่ดี ซึ่งปกติมักเปรียบเทียบกับอัตราดอกเบี้ยหรือผลกำไรจากการลงทุนในธุรกิจอื่น
ผลตอบแทนจากทรัพย์สิน = อัตราส่วนของผลกำไร / ทรัพย์สินทั้งหมด
หากค่า ROA มีค่าสูงแสดงว่าทรัพย์สินก่อให้เกิดรายได้สูง บ่งชี้ว่าการลงทุนในทรัพย์สินเป็นการดำเนินการที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
Return on equity (ROE) = Profit / Equity
ผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือทุน = ผลกำไร / ส่วนของผู้ถือหุ้น
หากค่า ROE มีค่าสูงแสดงว่าผู้ถือหุ้นได้รับผลกำไรที่ดี ซึ่งปกติมักเปรียบเทียบกับอัตราดอกเบี้ยหรือผลกำไรจากการลงทุนในธุรกิจอื่น
หากค่า ROI มีค่าสูงแสดงว่าผลตอบแทนที่เกิดขึ้นจากการลงทุนที่ก่อให้เกิดกำไรมีค่ามากกว่าเงินลงทุน การคำนวณนี้มักพิจารณาเป็นรอบปี
Gross margin = Gross profit x 100 / Sales
อัตรากำไรขั้นต้น = กำไรขั้นต้น x 100 / ยอดขาย
หากอัตรากำไรขั้นต้น (Gross margin หรือ Gross profit to sales) มีค่าสูงแสดงว่าผลกำไรที่ได้รับจากการขายมีค่ามาก บ่งชี้ให้ทราบว่าราคาขายและต้นทุนขายมีค่าต่างกันมาก
Net margin = Net Profit before interest and taxation x 100 / Sales
อัตราผลกำไรสุทธิ = กำไรสุทธิก่อนหักดอกเบี้ยและภาษี x 100 / ยอดขาย
หากอัตราผลกำไรสุทธิ (Net margin หรือ Net profit margin หรือ Net profit to sales) มีค่าต่ำแสดงว่าค่าโสหุ้ยมีค่าสูงจึงจำเป็นต้องปรับลดค่าใช้จ่ายเหล่านี้ให้ต่ำลง
อัตราส่วนทั้งสองนี้ แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการทำกำไรเมื่อเทียบกับยอดขาย หากอัตราส่วนนี้สูงแสดงว่าผลกำไรจากการขายดี ซึ่งน่าจะลงทุนเพิ่ม
อัตราส่วนทั้งสองนี้ แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการทำกำไรเมื่อเทียบกับยอดขาย หากอัตราส่วนนี้สูงแสดงว่าผลกำไรจากการขายดี ซึ่งน่าจะลงทุนเพิ่ม
Mark-up ratio = Gross profit x 100 / Costs of goods
sold
อัตราผลกำไรของต้นทุนสินค้า = กำไรขั้นต้น x 100 / ต้นทุนสินค้า
อัตราผลกำไรของต้นทุนสินค้า = กำไรขั้นต้น x 100 / ต้นทุนสินค้า
อัตรากำไรของต้นทุนสินค้า
(Mark-up ratio) เป็นการบ่งชี้ถึงกลยุทธ์การกำหนดราคาขายที่บวกผลกำไรเพิ่มเข้ากับต้นทุนสินค้า
หากอัตรากำไรของต้นทุนสินค้ามีค่าต่ำซึ่งมีสาเหตุจากการปรับลดราคาที่มีผลทำให้กำไรขั้นต้นต่ำด้วย
แต่หากสามารถเพิ่มยอดขายให้สูงขึ้นได้ ผลกำไรที่จะได้รับก็จะสูงขึ้นด้วยเช่นกัน
Fixed asset turnover = Sales / Fixed assets at net book value
อัตราหมุนเวียนทรัพย์สินถาวร = ยอดขาย / มูลค่าสุทธิตามบัญชีของทรัพย์สินถาวร
Fixed asset turnover = Sales / Fixed assets at net book value
อัตราหมุนเวียนทรัพย์สินถาวร = ยอดขาย / มูลค่าสุทธิตามบัญชีของทรัพย์สินถาวร
อัตราหมุนเวียนทรัพย์สินถาวร (Fixed
assets turnover) เป็นการบ่งชี้ประสิทธิภาพของทรัพย์สินถาวรที่ก่อให้เกิดยอดขาย
หากอัตราหมุนเวียนทรัพย์สินถาวรมีค่าสูงแสดงว่าทรัพย์สินถาวรมีอิทธิพลต่อการเพิ่มยอดขายอย่างมาก
ความสามารถของการบริหารทรัพย์สินหรือประสิทธิภาพ
(Efficiency)
ความสามารถของการบริหารทรัพย์สินจะแสดงการใช้ประโยชน์ และการสร้างรายได้ของทรัพย์สิน ประกอบด้วย
ความสามารถของการบริหารทรัพย์สินจะแสดงการใช้ประโยชน์ และการสร้างรายได้ของทรัพย์สิน ประกอบด้วย
Fixed assets
turnover = Sale
/ Fixed assets at net book value
อัตราหมุนเวียนทรัพย์สินถาวร = ยอดขาย / มูลค่าของทรัพย์สินถาวร
อัตราหมุนเวียนทรัพย์สินถาวร = ยอดขาย / มูลค่าของทรัพย์สินถาวร
อัตราหมุนเวียนทรัพย์สินถาวร (Fixed
assets turnover) เป็นการบ่งชี้ยอดขายต่อทรัพย์สินถาวร หากอัตราส่วนมีค่าสูงแสดงว่าองค์กรบริหารทรัพย์สินก่อให้เกิดรายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ซึ่งสามารถสร้างยอดขายต่อหนึ่งหน่วยของทรัพย์สินมีค่าสูงขึ้น
Stock
turnover = Average stock / Cost of goods sold
อัตราหมุนเวียนวัสดุคงคลัง = วัสดุคงคลังเฉลี่ย x 365 วัน / ต้นทุนสินค้า
อัตราหมุนเวียนวัสดุคงคลัง = วัสดุคงคลังเฉลี่ย x 365 วัน / ต้นทุนสินค้า
อัตราหมุนเวียนวัสดุคงคลัง
(Stock turnover)
เป็นการบ่งชี้ระยะเวลาการจัดเก็บวัสดุเพื่อจำหน่าย โดยกำหนดระยะเวลาเป็นวัน
หากมีค่าสูงแสดงว่าวัสดุคงคลังหมุนเวียนช้าและก่อให้เกิดทุนจมที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้เป็นจำนวนมาก
Debtors’ collection period = Trade debtors x 365 / Credit sales
ระยะเวลาการชำระหนี้ของลูกหนี้ = ลูกหนี้การค้า x 365 / ยอดขายเงินเชื่อ
ระยะเวลาการชำระหนี้ของลูกหนี้ (Debtors’ collection period) เป็นการบ่งชี้ระยะเวลาที่ลูกหนี้จะชำระหนี้คืน ระยะเวลาจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกิจแต่หากระยะเวลาการชำระหนี้ของลูกหนี้มากจะทำให้การบริหาร หรือควบคุมหนี้สินไม่มีประสิทธิภาพ และเพิ่มโอกาสของหนี้สูญหรือหนี้สงสัยจะสูญมากขึ้น ระยะเวลาที่เหมาะสมประมาณ 28 วันและไม่ควรมากเกินกว่า 50 วัน
การคำนวณหาลูกหนี้การค้า (Trade debtors) มักใช้วิธีการหาค่าเฉลี่ยของลูกหนี้การค้าต้นงวดและปลายงวด [(ลูกหนี้การค้าต้นงวด + ลูกหนี้การค้าปลายงวด) / 2)] หรือบางครั้งอาจพิจารณาเฉพาะลูกหนี้การค้าปลายงวด
Creditors’ collection period = Trade creditors x 365 / Credit purchases
ระยะเวลาการชำระคืนเจ้าหนี้ = เจ้าหนี้การค้า x 365 / ยอดซื้อเงินเชื่อ
ระยะเวลาการชำระหนี้คืนเจ้าหนี้ (Creditor’s collection period) เป็นการบ่งชี้ระยะเวลาที่ต้องชำระเงินคืน หากการชำระเงินคืนเจ้าหนี้มีระยะเวลานานอาจแสดงให้เห็นถึงความไม่มีประสิทธิภาพการบริหารเงินสด อย่างไรก็ตามลูกหนี้มักยืดระยะเวลาการชำระคืนให้ยาวนานมากที่สุดเพื่อสามารนำไปหมุนเวียนอย่างอื่น
การคำนวณหาเจ้าหนี้การค้า (Trade creditors) จะใช้วิธีเดียวกับลูกหนี้การค้า
ความสามารถในการดึงดูดความสนใจของนักลงทุน (ความน่าสนใจทางการลงทุน)
ความสามารถในการดดึงดูดความสนในของนักลงทุน หรือความน่าสนใจทางการลงทุนมักแสดงค่าในรูปอัตราส่วนผลตอบแทนนักลงทุน (Investors’ returns ratios)
Debtors’ collection period = Trade debtors x 365 / Credit sales
ระยะเวลาการชำระหนี้ของลูกหนี้ = ลูกหนี้การค้า x 365 / ยอดขายเงินเชื่อ
ระยะเวลาการชำระหนี้ของลูกหนี้ (Debtors’ collection period) เป็นการบ่งชี้ระยะเวลาที่ลูกหนี้จะชำระหนี้คืน ระยะเวลาจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกิจแต่หากระยะเวลาการชำระหนี้ของลูกหนี้มากจะทำให้การบริหาร หรือควบคุมหนี้สินไม่มีประสิทธิภาพ และเพิ่มโอกาสของหนี้สูญหรือหนี้สงสัยจะสูญมากขึ้น ระยะเวลาที่เหมาะสมประมาณ 28 วันและไม่ควรมากเกินกว่า 50 วัน
การคำนวณหาลูกหนี้การค้า (Trade debtors) มักใช้วิธีการหาค่าเฉลี่ยของลูกหนี้การค้าต้นงวดและปลายงวด [(ลูกหนี้การค้าต้นงวด + ลูกหนี้การค้าปลายงวด) / 2)] หรือบางครั้งอาจพิจารณาเฉพาะลูกหนี้การค้าปลายงวด
Creditors’ collection period = Trade creditors x 365 / Credit purchases
ระยะเวลาการชำระคืนเจ้าหนี้ = เจ้าหนี้การค้า x 365 / ยอดซื้อเงินเชื่อ
ระยะเวลาการชำระหนี้คืนเจ้าหนี้ (Creditor’s collection period) เป็นการบ่งชี้ระยะเวลาที่ต้องชำระเงินคืน หากการชำระเงินคืนเจ้าหนี้มีระยะเวลานานอาจแสดงให้เห็นถึงความไม่มีประสิทธิภาพการบริหารเงินสด อย่างไรก็ตามลูกหนี้มักยืดระยะเวลาการชำระคืนให้ยาวนานมากที่สุดเพื่อสามารนำไปหมุนเวียนอย่างอื่น
การคำนวณหาเจ้าหนี้การค้า (Trade creditors) จะใช้วิธีเดียวกับลูกหนี้การค้า
ความสามารถในการดึงดูดความสนใจของนักลงทุน (ความน่าสนใจทางการลงทุน)
ความสามารถในการดดึงดูดความสนในของนักลงทุน หรือความน่าสนใจทางการลงทุนมักแสดงค่าในรูปอัตราส่วนผลตอบแทนนักลงทุน (Investors’ returns ratios)
ผลกำไรต่อหุ้น (Earning per share: EPS) เป็นการบ่งชี้ผลกำไรจากการลงทุนของผู้ที่ถือหุ้น
และชี้วัดความสำเร็จขององค์กร หากมีค่าสูงแสดงว่าเป็นบริษัทที่น่าลงทุน
P / E ratio = Market price per ordinary share / EPS
อัตราส่วนราคาตลาดต่อผลกำไรต่อหุ้น = ราคาตลาด / ผลกำไรต่อหุ้น
อัตราส่วนราคาตลาดต่อผลกำไรต่อหุ้น (Price / earning ratio: P/E เป็นการบ่งชี้ราคาตลาดที่ซื้อขายหุ้น (คือ ราคาปิดของช่วงเวลาก่อนปิดตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ในแต่ละวัน) มีค่าสูงกว่าผลกำไรต่อหุ้นมากหรือน้อย แสดงให้เห็นว่านักลงทุนยอมรับระดับราคาหุ้นนั้นและพร้อมที่จะซื้อขาย เพราะมั่นใจการเจริญเติบโตของบริษัทที่จะทำให้ราคาหุ้นจะสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ในทางปฏิบัตินักลงทุนมักจะหาบริษัทที่มีค่า P/ E ต่ำแต่มีปัจจัยพื้นฐานมั่นคงและพร้อมที่จะเติบโตในอนาคต
P / E ratio = Market price per ordinary share / EPS
อัตราส่วนราคาตลาดต่อผลกำไรต่อหุ้น = ราคาตลาด / ผลกำไรต่อหุ้น
อัตราส่วนราคาตลาดต่อผลกำไรต่อหุ้น (Price / earning ratio: P/E เป็นการบ่งชี้ราคาตลาดที่ซื้อขายหุ้น (คือ ราคาปิดของช่วงเวลาก่อนปิดตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ในแต่ละวัน) มีค่าสูงกว่าผลกำไรต่อหุ้นมากหรือน้อย แสดงให้เห็นว่านักลงทุนยอมรับระดับราคาหุ้นนั้นและพร้อมที่จะซื้อขาย เพราะมั่นใจการเจริญเติบโตของบริษัทที่จะทำให้ราคาหุ้นจะสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ในทางปฏิบัตินักลงทุนมักจะหาบริษัทที่มีค่า P/ E ต่ำแต่มีปัจจัยพื้นฐานมั่นคงและพร้อมที่จะเติบโตในอนาคต
Market value = Market price per ordinary share x Number of issued
ordinary shares
มูลค่าตลาด = ราคาตลาด x จำนวนหุ้นสามัญ
มูลค่าตลาด (Market value) เป็นการบ่งชี้มูลค่าและการเจริญเติบโตของบริษัท หากมูลค่าตลาดมีแนวโน้มสูงขึ้นแสดงบริษัทมีผลการดำเนินงานที่ดีขึ้น
มูลค่าตลาด = ราคาตลาด x จำนวนหุ้นสามัญ
มูลค่าตลาด (Market value) เป็นการบ่งชี้มูลค่าและการเจริญเติบโตของบริษัท หากมูลค่าตลาดมีแนวโน้มสูงขึ้นแสดงบริษัทมีผลการดำเนินงานที่ดีขึ้น
ความสามารถในการจ่ายเงินปันผล (Dividend cover) เป็นการบ่งชี้ผลกำไรที่จะเกิดขึ้นเป็นกี่เท่าของเงินปันผล ซึ่งแสดงให้เห็นความสามารถในการจ่ายเงินปันผลและการนำเงินปันผลไปลงทุนหรือขยายส่วนแบ่งการตลาด
Dividend yield = dividend per share x 100 / Market price per share
อัตราเงินปันผล = เงินปันผลต่อหุ้น x 100 / ราคาตลาดของหุ้น
อัตราเงินปันผล
(Dividend yield) เป็นการบ่งชี้ผลตอบแทนที่จะได้รับเงินปันผลจากการซื้อหรือถือหุ้นของบริษัท
หากมีค่าสูงแสดงว่าได้รับผลตอบแทนที่ดี
ซึ่งมักจะนำไปเปรียบเทียบกับดอกเบี้ยเงินฝากหรือการลงทุนในธุรกิจอื่น
Debt to equity ratio = Debt / Equity
อัตราส่วนหนี้ต่อทุน = เงินทุนกู้ยืม / เงินลงทุนของผู้ถือหุ้น
Debt to equity ratio = Debt / Equity
อัตราส่วนหนี้ต่อทุน = เงินทุนกู้ยืม / เงินลงทุนของผู้ถือหุ้น
อัตราส่วนหนี้ต่อทุน
(Debt to equity ratio) เป็นการบ่งชี้อัตราส่วนเงินทุนภายนอก (การกู้ยืม)
กับเงินลงทุนภายใน (เงินลงทุนของผู้ถือหุ้น) แสดงถึงภาระการชำระหนี้ หากอัตราส่วนมีค่าสูงทำให้มีภาระการชำระหนี้สูง
ผู้ถือหุ้นจึงมีโอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนต่ำ หากอัตราส่วนมีค่าต่ำจะพบว่าผู้ลงทุนมีเงินถือครองสูง
โอกาสการลงทุนเพิ่มก็สูงขึ้นและอัตราผลตอบแทนอาจเพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน
ประโยชน์ของการวิเคราะห์ทางการเงิน ประกอบด้วย
1. การกำหนดเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของการดำเนินการทางธุรกิจ
2. การนำไปอัตราส่วนไปใช้วิเคราะห์เพื่อเปรียบเทียบจุดแข็งจุดอ่อนกับบริษัทหรือธุรกิจอื่นๆ
3. การประเมินแนวโน้ม, โอกาส หรือความเสี่ยงทางการเงินขององค์กร
4. การตรวจสอบประสิทธิภาพของการทำกำไรจากการลงทุนของผู้ถือหุ้น
5. การนำเสนอข้อมูลเพื่อประกอบการกู้ยืมเงินสำหรับการลงทุน
มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value: NPV)
มูลค่าปัจจุบันสุทธิ คือ การนำกระแสเงินสดสุทธิของแต่ละปีมาคิดเป็นมูลค่าปัจจุบันโดยใช้อัตรา ส่วนลดที่กำหนดขึ้น อัตราส่วนลดนั้นควรมีค่าเท่ากับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะยาว หรือเท่ากับดอกเบี้ยที่ได้รับจากการให้กู้ยืม
NPV = (NCF1 x a1) + (NCF2 x a2) + … + (NCFn x an)
NCF (Net current flow) คือ กระแสเงินสดสุทธิของโครงการ ปีที่ 1, 2, … , n
a คือ แฟคเตอร์ส่วนลด ปีที่ 1, 2, … , n
หากมูลค่าสุทธิมากว่าหรือเท่ากับศูนย์ จะยอมรับโครงการเนื่องจากมูลค่าปัจจุบันของเงินสดรับเท่ากับหรือมากกว่ามูลค่าปัจจุบันของเงินสดจ่าย แต่หากมูลค่าสุทธิน้อยกว่าศูนย์ จะไม่ยอมรับโครงการการลงทุน เนื่องจากมีรายจ่ายมากกว่ารายรับ
อัตราผลตอบแทนการลงทุน (Internal Rate of Return: IRR)
อัตราผลตอบแทนการลงทุน คือ อัตราส่วนลดที่ทำให้มูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดรับเท่ากับมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดจ่าย อัตราส่วนลดนี้เปรียบเสมือนอัตราผลกำไรของโครงการ
ประโยชน์ของการวิเคราะห์ทางการเงิน ประกอบด้วย
1. การกำหนดเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของการดำเนินการทางธุรกิจ
2. การนำไปอัตราส่วนไปใช้วิเคราะห์เพื่อเปรียบเทียบจุดแข็งจุดอ่อนกับบริษัทหรือธุรกิจอื่นๆ
3. การประเมินแนวโน้ม, โอกาส หรือความเสี่ยงทางการเงินขององค์กร
4. การตรวจสอบประสิทธิภาพของการทำกำไรจากการลงทุนของผู้ถือหุ้น
5. การนำเสนอข้อมูลเพื่อประกอบการกู้ยืมเงินสำหรับการลงทุน
มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value: NPV)
มูลค่าปัจจุบันสุทธิ คือ การนำกระแสเงินสดสุทธิของแต่ละปีมาคิดเป็นมูลค่าปัจจุบันโดยใช้อัตรา ส่วนลดที่กำหนดขึ้น อัตราส่วนลดนั้นควรมีค่าเท่ากับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะยาว หรือเท่ากับดอกเบี้ยที่ได้รับจากการให้กู้ยืม
NPV = (NCF1 x a1) + (NCF2 x a2) + … + (NCFn x an)
NCF (Net current flow) คือ กระแสเงินสดสุทธิของโครงการ ปีที่ 1, 2, … , n
a คือ แฟคเตอร์ส่วนลด ปีที่ 1, 2, … , n
หากมูลค่าสุทธิมากว่าหรือเท่ากับศูนย์ จะยอมรับโครงการเนื่องจากมูลค่าปัจจุบันของเงินสดรับเท่ากับหรือมากกว่ามูลค่าปัจจุบันของเงินสดจ่าย แต่หากมูลค่าสุทธิน้อยกว่าศูนย์ จะไม่ยอมรับโครงการการลงทุน เนื่องจากมีรายจ่ายมากกว่ารายรับ
อัตราผลตอบแทนการลงทุน (Internal Rate of Return: IRR)
อัตราผลตอบแทนการลงทุน คือ อัตราส่วนลดที่ทำให้มูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดรับเท่ากับมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดจ่าย อัตราส่วนลดนี้เปรียบเสมือนอัตราผลกำไรของโครงการ
IRR = i1 + PV (i2 – i1) / (PV + NV)
PV (Positive value) คือ NPV (ที่มีค่าเป็นบวก) เป็นอัตราส่วนลดที่มีค่าน้อยกว่า (i1)
NV (Negative value) คือ NPV (ที่มีค่าเป็นลบ) เป็นอัตราส่วนลดที่มีค่ามากกว่า (i2)
PV และ NV จะไม่คิดเครื่องหมายบวกหรือลบในการคำนวณ
ระยะเวลาคืนทุน (Payback period)
ระยะเวลาคืนทุน คือ จำนวนปีในการดำเนินโครงการ ซึ่งทำให้ผลกำไร (กำไรสุทธิหลังหักภาษี + ดอกเบี้ย + ค่าเสื่อมราคา) ที่ได้รับในแต่ละปีรวมกันแล้วเท่ากับจำนวนเงินลงทุนเริ่มแรก
ระยะเวลาคืนทุนนี้จะช่วยในการวิเคราะห์และบริหารความเสี่ยงภายในช่วงเวลาดังกล่าว ทั้งนี้เพื่อก่อให้เกิดสภาพคล่องในการดำเนินโครงการ เมื่อระยะเวลาคืนทุนมีค่าน้อยจะแสดงให้เห็นถึงโอกาสเสี่ยงต่อการขาดทุนลดน้อยลง และสามารถนำเงินไปลงทุนในโครงการอื่น
การวิเคราะห์ความเบี่ยงเบน (Variance analysis)
การวิเคราะห์ความเบี่ยงเบนเป็นการวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าที่วางแผนไว้กับค่าที่ได้จริงจากการดำเนินงาน
เช่น
ความเบี่ยงเบนของราคาขาย
= (ราคาขายที่แท้จริง – ราคาขายตามแผน) x ปริมาณการขาย
ความเบี่ยงเบนของค่าแรงทางตรง
= (เวลามาตรฐาน x ปริมาณการผลิต) – เงินเดือนที่จ่ายจริง
การนำไปใช้เพื่อประเมินความสามารถของผู้จัดการแต่ละหน่วยงาน,
ธุรกิจ หรือบริษัท ซึ่งจะช่วยบ่งชี้ปัญหาของการดำเนินการ ทำให้เกิดการปรับปรุงและควบคุมกระบวนการที่ก่อให้เกิดความเบี่ยงเบน
การพิจารณาทางการเงินอาจต้องพิจารณามูลค่าของเงินที่แตกต่างกันตามเวลา
บางครั้งอาจพิจารณามูลค่าเงินปัจจุบัน (Present value), มูลค่าเงินอนาคต
(Future value) หรือมูลค่าเงินรายปี
(Annual value) มูลค่าเงินจะแตกต่างกันตามเวลาจึงเรียกว่า
มูลค่าเงินตามกาลเวลา (Time Value of Money) ซึ่งสามารถคำนวณได้ตามสูตรดังตารางที่ 8
การพิจารณามูลค่าเงินตามกาลเวลาจะช่วยให้การตัดสินใจในการลงทุนหรือการตัดสินใจทางการเงินมีความผิดพลาดน้อยลง
การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human resources management)
การบริหารทรัพยากรมนุษย์เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการพัฒนาองค์กร
องค์ความรู้หรือความสามารถของพนักงานจะเป็นกลไกขับเคลื่อนให้องค์กรก้าวไปหาความสำเร็จ
หากองค์การสามารถนำบุคลกรที่มีคุณภาพเข้ามาทำงานและรักษาหรือสร้างความมั่นใจให้กับพนักงานเพื่อนำวิสัยทัศน์,
แนวคิด, ความรู้, หรือความสามารถเพื่อแปลงเปลี่ยนเป็นผลงานหรือผลกำไร
หน้าที่หลักของฝ่ายทรัพยากรมนุษย์
1. การชี้แจงวิสัยทัศน์,
นโยบายหรือเป้าหมายขององค์กร
2. การวางแผนและควบคุมกำลังคน เพื่อให้สอดคล้องกับการรับสมัครพนักงานเพิ่ม,
การคัดสรรบุคลากร, การว่าจ้างงาน, การฝึกอบรม, การจูงใจ
และการรักษากำลังคนให้เหมาะสม
3. การรับสมัครพนักงาน
ต้องทำการวิเคราะห์และกำหนดลักษณะงานให้ชัดเจน (Job description: JD) เพื่อสามารถกลั่นกรองพนักงานที่มีคุณสมบัติเหมาะสมก่อนการนำเข้าสู่กระบวนการคัดสรรต่อไป
การรับสมัครพนักงานอาจเลือกใช้สื่อสิ่งพิมพ์, หนังสือพิมพ์, อินเตอร์เน็ต,
หรือหน่วยงานสรรหาพนักงานภายนอก
4. การสรรหาบุคลากรให้เหมาสมกับตำแหน่ง (Put a right man into a right job) ซึ่งอาจพิจารณาจากวุฒิการศึกษา,
การฝึกอบรม, ประสบการณ์
หรือทักษะความสามารถเพิ่มเติม
4.1 การกำหนดลักษณะงาน (Job description: JD) เป็นการแสดงขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบของพนักงานให้ชัดเจน
4.2 กระบวนการสรรหา ปรับปรุงแบบฟอร์มการสมัครงาน (Application form) ที่ง่ายต่อการพิจารณาคุณสมบัติเบื้องต้นของพนักงาน
เมื่อได้พนักงานที่มีคุณสมบัติเหมาะสมอาจกำหนดให้มีการสอบข้อเขียนเพื่อวัดความรู้พื้นฐาน,
ความฉลาดทางปัญญา (IQ), ความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) หรือทัศนคติ
ก่อนเข้าสู่กระบวนการสอบสัมภาษณ์ที่ต้องการคัดเลือกพนักงานที่มีบุคลิกภาพหรือแนวคิดที่เหมาะสมกับวัฒนธรรมองค์กร
ดังนั้นแบบฟอร์มการสมัครงาน, ข้อเขียน หรือคำถามสำหรับสอบสัมภาษณ์อาจต้องศึกษาและกำหนดด้วยผู้ชำนาญเฉพาะทาง
4.3 กำหนดแผนอัตรากำลัง
5. ฝึกอบรม
5.1 กำหนดแผนการฝึกอบรมให้สอดคล้องกับความต้องการของแต่ละหน่วยงาน
เพื่อสนับสนุนการพัฒนาระบบการทำงาน แผนการฝึกอบรมควรกำหนดเป็นรายปี
5.2 กำหนดแผนการประเมินผลก่อนและหลังการอบรม
6. เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน เพิ่มขีดความสามารถหรือศักยภาพให้กับพนักงาน
6.1 อบรมพนักงานเป็นประจำเพื่อสร้างเสริมเพิ่มเติมความรู้ความสามารถให้มากขึ้น
6.2 กำหนดมอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบ
และให้อิสระในการพัฒนางาน
6.3 กำหนดเกณฑ์การประเมินผลงานแล้วแจ้งให้พนักงานรับทราบ
6.4 กำหนดระบบรางวัลและแรงจูงใจเพื่อเสริมสร้างขวัญกำลังใจ
และการยอมรับจากเพื่อนร่วมงาน
6.5 ติดตามการทำงานและความก้าวหน้าของงานอย่างต่อเนื่อง
ซึ่งอาจจัดกิจกรรมนำเสนอผลงานของพนักงานเป็นประจำทุกปี
การประเมินกำลังคนให้เหมาะสมกับกระบวนการ
โดยการควบคุมกำลังคนไม่ให้มีจำนวนมากหรือน้อยเกินไป
ซึ่งการควบคุมกำลังคนนั้นอาจกำหนดจากกำลังคนต่อปริมาณการผลิต หรือยอดขาย เช่น
วิศวกรออกแบบหนึ่งคนคิดต่อยอดขายได้เท่ากับ 2 ล้านบาทต่อเดือน, พนักงานการผลิตหนึ่งคนสามารถผลิตสินค้าได้ 100 ยูนิตต่อวัน เป็นต้น
จากรูปที่ 44
พบว่าความสัมพันธ์ของกราฟระหว่างกำลังและปริมาณการผลิตหรือยอดขาย
เมื่อปริมาณการผลิตหรือยอดขายเพิ่มขึ้นจำเป็นต้องเพิ่มจำนวนพนักงานให้มากขึ้น
หากพบว่าพนักงานมีความชำนาญ จะมีผลให้ความสามารถในการผลิตหรือยอดขายต่อพนักงานหนึ่งคนลดน้อยลง
แต่หากพนักงานขาดความรู้ความสามารถจะทำให้ต้นทุนแรงงานเพิ่มสูงขึ้นเกินความจำเป็นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
1. การประเมินผลงาน
1.1 ระบบการประเมินผล
ควรกำหนดแบบแผนการประเมินผลที่ไม่ก่อให้เกิดความลำเอียงหรือมีอคติ
หัวข้อการประเมินผลจะต้องสามารถตรวจสอบวัดผลได้
และควรกำหนดออกแบบโดยผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในลักษณะงานของแต่ละฝ่ายเป็นอย่างดี
1.2 ระบบแรงจูงใจ อาจกำหนดเป็นของรางวัลหรือเงิน
ซึ่งควรสร้างแรงจูงใจแบบกลุ่มหรือรายบุคคลตามความเหมาะสมของงาน
หรืออาจจูงใจด้วยผลการประเมินที่ยอดเยี่ยมต่อเนื่องกันสามปีสามารถปรับเลื่อนเงินเดือนหรือตำแหน่งได้
2. รักษาบุคคลากร
2.1 กำหนดแผนการปรับเพิ่มเงินเดือน
หรือระบบฐานเงินเดือน ควรประเมินตามขีดความรู้ความสามารถ, ลักษณะงาน, ทัศนคติ หรือการมีส่วนร่วมในการพัฒนาองค์กร
ซึ่งระบบเงินเดือนอาจกำหนดเป็นอัตราคงที่ (Flat
rate payment), ตามปริมาณงาน (Work-piece rate payment) หรือจ่ายตามผลกำไร
2.2 กำหนดแผนการปรับเลื่อนตำแหน่ง
เป็นการสร้างแรงจูงใจในเติบโตในสายงานซึ่งช่วยให้การทำงานได้อย่างเต็มกำลังความสามารถ
2.3 การออกแบบงานและกำหนดโครงสร้างองค์กร
เพื่อให้การไหลเวียนของงานราบรื่น และมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันทั่วทั้งองค์กร
เป็นการพัฒนาคุณภาพองค์กรและคุณภาพชีวิตของพนักงานในองค์กร
2.4 กำหนดแผนกิจกรรมแรงงานสัมพันธ์
2.5
สร้างความเป็นธรรมในการประเมินผลงานและการปรับเลื่อนขั้นหรือเงินเดือน
2.6
การบริหารจัดการสวัสดิการที่ดีให้กับพนักงาน
เพื่อสร้างความพึงพอใจสูงสุด เช่น รถรับส่งพนักงาน, ชุดทำงาน, อาหารกลางวัน,
รถประจำตำแหน่ง, เบี้ยบำเหน็จ เป็นต้น
การรักษาบุคคลากรเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญที่จะสนับสนุนการพัฒนาระบบงาน
ความต่อเนื่องและประสิทธิผลของการทำงานเกิดจากประสบการณ์
ดังนั้นองค์กรต้องตรวจสอบความพึงพอใจของพนักงาน และเปรียบเทียบกลยุทธ์การรักษาบุคลากรกับองค์กรคู่แข่งอย่างต่อเนื่อง
3. การจัดการสิ่งแวดล้อมการทำงานให้เอื้ออำนวยต่อการทำงาน
3.1 การปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร ด้วยการสร้างจิตสำนึกความรับผิดชอบในการทำงาน,
การตั้งเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของการทำงาน และการปรับปรุงคุณภาพงานอย่างต่อเนื่อง
3.2 การมีส่วนร่วมในการปรับปรุง
ด้วยการจัดระบบการอบรม, การประเมินผล
และการจูงใจที่ส่งเสริมการปรับปรุงทั่วทั้งองค์กร
3.3 การควบคุมและบริหารด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยที่ดีให้กับพนักงาน
4. การเจรจาต่อรอง
4.1 การเจรจาภายในองค์กร
กรณีมีข้อเรียกร้องจากตัวแทนลูกจ้างต้องสามารถประสานข้อตกลงที่ก่อให้เกิดความพึงพอใจทั้งนายจ้างและลูกจ้าง
เพื่อรักษาสถานภาพขององค์กรที่เข้มแข็ง
4.2
การเจรจากับหน่วยงานภายนอกองค์กร
เช่น รัฐบาล, ชุมชน, สำนักงานประกันสังคม เป็นต้น
เพื่อกำหนดข้อตกลงที่สมานฉันท์สำหรับทุกฝ่าย
5. ที่ปรึกษาของพนักงาน
5.1
ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย
เช่น กฎหมายแรงงาน, กฎหมายสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ที่ต้องให้คำแนะนำที่ดีและถูกต้องกับผู้จัดการหรือพนักงาน
5.2
ที่ปรึกษาปัญหาทั่วไป
เช่น การเช่าซื้อบ้าน, การกู้ยืมเงินธนาคาร, การรักษาพยาบาล เป็นต้น
เพื่อช่วยปรับลดปัญหาของพนักงานและสามารถเพิ่มสมาธิให้กับการทำงานได้มากขึ้น
6. การเก็บรวบรวมข้อมูลสารสนเทศขององค์กร
การเก็บข้อมูลด้านบุคลากร,
จำนวนพนักงานต่อฝ่าย, ช่วงอายุ, ประสบการณ์, ความรู้การอบรม และอื่นๆ
เพื่อใช้เป็นข้อมูลสำหรับการตัดสินใจด้านทรัพยากรมนุษย์ในอนาคต
การวิเคราะห์กำลังคนเพื่อรักษาสัดส่วนพนักงานให้เหมาะสมกับช่วงวัยของการพัฒนาองค์กร
การเก็บข้อมูลพนักงานแต่ละระดับชั้นจึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อช่วยปรับปรุงโครงสร้างองค์กรให้มีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น
ซึ่งสามารถเก็บข้อมูลพนักงานดังตารางที่ 9
การบริหารดูแลควบคุมสัดส่วนพนักงานชาย-หญิงให้เหมาะสมกับลักษณะ
จะส่งเสริมให้การพัฒนาองค์กรได้ดีขึ้น และช่วยให้กระบวนการคัดสรรพนักงานหรือการปรับเลื่อนขั้นเป็นระบบมากยิ่งขึ้น
การวิเคราะห์อัตราการลาออก
(Turnover rate) เพื่อปรับปรุงระบบการบริหารงานและการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ก่อให้เกิดผลลัพธ์เชิงบวก
การวิเคราะห์การทำงานล่วงเวลา
(Overtime analysis) เพื่อสร้างสมดุลระหว่างความพึงพอใจหรือขวัญกำลังใจของพนักงานกับต้นทุนการผลิต
ซึ่งจะเอื้ออำนวยให้สามารถรักษาและสร้างความซื่อสัตย์ต่อองค์กรของพนักงานได้นานยิ่งขึ้น
การวิเคราะห์การทำงานล่วงเวลายังช่วยให้สามารถควบคุมปริมาณพนักงานชั่วคราวให้เหมาะสมกับความต้องการขององค์กร
การวิเคราะห์การขาดลามาสาย
(Absent analysis)
เป็นการเรียนรู้ปัญหาของพนักงานว่ามีปัญหาด้านสุขภาพ, อุบัติเหตุ หรือปัญหาส่วนตัวมากน้อยอย่างไร
เพื่อให้การควบคุมมีประสิทธิผลดียิ่งขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น